TARADTHONG.COM

วิเคาระห์กราฟแนวโน้มราคาทองรายวัน => วิเคาระห์กราฟแนวโน้มราคาทองรายวัน => ข้อความที่เริ่มโดย: น่ารักสุดๆ ที่ กรกฎาคม 05, 2010, 09:31:30 PM



หัวข้อ: คำถามก่อนตัดสินใจ "สร้างหนี้" ให้ครอบครัว
เริ่มหัวข้อโดย: น่ารักสุดๆ ที่ กรกฎาคม 05, 2010, 09:31:30 PM
คำถามก่อนตัดสินใจ "สร้างหนี้" ให้ครอบครัว
อาจไม่ใช่ความรู้สึกในแง่บวกสักเท่าใด เมื่อเอ่ยคำว่า "หนี้ – เป็นหนี้ - มีหนี้" เนื่องจากปัจจุบัน ครอบครัวไทยจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญกับ "หนี้" เหล่านี้ด้วยความทุกข์ทน วนหาทางออกไม่เจอ และมีก้อนหนี้ที่พอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งในแวดวงหนังสือยังเกิดไอเดียชวนให้หนีหนี้กัน ก็มี

          ปัญหาก้อนโตขนาดนี้ (และมีแนวโน้มว่าจะโตต่อไปหากยังไม่เร่งสร้างความตระ หนักให้เกิดในหมู่ผู้เป็นลูกหนี้) ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดขึ้นจากการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการบริหาร จัดการหนี้อย่างถูกวิธี วันนี้ ทีมงาน Life & Family จึงขอเจาะเทคนิคดี ๆ เกี่ยวกับการบริหารหนี้ของครอบครัวอย่างชาญฉลาดจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน   "คุณกุสุมาลย์ โลว์ศลารักษ์"   ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานบริหารความเสี่ยง กรุงศรีออโต้ มาแลกเปลี่ยนกับท่านผู้อ่านค่ะ

          “หลักในการตัดสินใจว่าจะมีหนี้เมื่อไรดีนั้น มี 3 ข้อก็คือ พิจารณาว่าครอบครัวเรามีความจำเป็นหรือไม่ เป็นหนี้ที่มีประโยชน์หรือไม่ และมีความสามารถที่จะจ่ายคืนได้หรือไม่" คุณกุสุมาลย์กล่าว

          "การมีหนี้เมื่อจำเป็น คือ เป็นหนี้เพื่อซื้อหรือเพื่อใด้ในสิ่งที่จำเป็น แต่ไม่ใช่เป็นหนี้เพื่อได้ในสิ่งที่ต้องการหรือแค่อยากได้ เช่น อยากเปลี่ยนมือถือให้เป็นรุ่นใหม่กว่าทั้งที่เครื่องปัจจุบันก็ยังใช้ได้"

          "ส่วนการพิจารณาว่าหนี้นั้นมีประโยชน์หรือไม่ ก็ขอยกตัวอย่างสถานการณ์ให้เปรียบเทียบกันค่ะ เช่น การเป็นหนี้ผ่อนรถเพื่อใช้ใช้ในกิจการงาน หรือการกู้เงินเพื่อมาลงทุน นั้นมีเหตุที่สมควร แต่ถ้าเป็นหนี้ผ่อนรถเพราะต้องการมีรถไว้ใช้รับส่งแฟน ก็อาจไม่เป็นประโยชน์เท่าใดนัก"

          ประการสุดท้ายในเรื่องของ ความสามารถในการจ่ายชำระคืนหนี้ในอนาคต คุณกุสุมาลย์กล่าวว่า มีปัจจัยให้คำนึงถึง ทั้งสิ้น 5 ข้อได้แก่

     1. รายได้ปัจจุบัน

     2. รายได้ในอนาคต

     3. ค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน

     4. ค่าใช้จ่ายในอนาคต

     5. เงินออม


          "หลักการง่าย ๆ คือ ผู้ที่มีรายได้ในอนาคตเท่าเดิมหรืออาจจะลดลง และมีค่าใช้จ่ายในอนาคตเพิ่มขึ้น  ไม่ควรก่อภาระหนี้เพิ่ม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การที่จะมีบุตรในอนาคตอันใกล้ รายได้ของครอบครัว  อาจลดลงเนื่องจากภรรยาอาจต้องหยุดงานเพื่อมาดูแลบุตร ในขณะที่ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นเนื่องจากการคลอด ค่าน้ำนมบุตร ฯลฯ ค่ะ"