TARADTHONG.COM
เมษายน 20, 2024, 11:16:50 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เทศกาลกินเจ 2553 ถือศีลกินเจทั่วประเทศ  (อ่าน 3967 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: กันยายน 30, 2010, 08:13:09 PM »

เทศกาลกินเจ 2553 ถือศีลกินเจทั่วประเทศ

ประเพณีการกินเจ หรือ เทศกาลกินเจ จะกำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือเริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนทุก ๆ ปี รวม 9 วัน 9 คืน มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีน โดยผู้ที่กินเจอาจจะมีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกันไป แต่จุดประสงค์หลักสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ กินเพื่อสุขภาพ, กินด้วยจิตเมตตา และกินเพื่อเว้นกรรม

          สำหรับเมืองไทยความเชื่อเรื่องการกินเจ เป็นไปในแนวทางของการละเว้นการเอาชีวิตของสัตว์ เพื่อเป็นสักการะบูชาแก่ พระพุทธเจ้า และ มหาโพธิสัตว์กวนอิม ซึ่งทุก ๆ ปีในแต่ละจังหวัดจะมีการจัด "ประเพณีถือศีลกินเจ" อย่างยิ่งใหญ่ และเนื่องจากมีผู้คนหันมา "ถือศีล กินเจ" กันมากขึ้น ดังนั้น เราจึงรวบรวมสถานที่ที่จัดงาน "ประเพณีถือศีลกินเจ" มาบอกกัน...

ประเพณีถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต

          การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานภูเก็ต ขอเชิญร่วมงาน ประเพณีถือศีลกินผัก ผัก จังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 8 - 16 ตุลาคม 2553 โดยจะมีพิธีเปดโครงการงานประเพณีถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต ณ สะพานหิน วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม 2553 เวลา 09.00 น.

          เดิม ประเพณีกินผัก (เจี๊ยะฉาย) ที่ชาวบานและชาวจีนที่อยูในจังหวัดภูเก็ตเรียกกันวา "เจี๊ยะฉาย" นั้น เป็นลัทธิเตา ซึ่งนับถือบูชาเซียนเทวดาเทพเจา วีรบุรุษ เปนประเพณีที่คนจีนนับถือมาชานาน โดยเฉพาะคนจีนฮกเกี้ยน คำว่า "เจี๊ยะฉาย" (กินผัก) เปนภาษาทองถิ่น วันประกอบพิธีตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ (เกาโงยโฉยอีดถึงโฉยเกา) ตามปฏิทินจีนของทุก ๆ ป
ประเพณีเจี๊ยะฉ่าย ไดเริ่มขึ้นเปนครั้งแรกที่หมูบานไลทู (ในทู) ซึ่งเปนหมูบานกะทู ตำบลกะทู จังหวัดภูเก็ตในปัจจุบันคนจีนเหลานั้นไดอพยพเขามาทำเหมืองแรตั้งแต สมัยกรุงศรีอยุธยา (ในสมัยรัชสมัยสมเด็จพระนารายณมหาราช) มีการคาขายแรดีบุกกับปอรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส อังกฤษ เปนตน คนจีนเหลานั้นไดหลั่งไหลเขามามากที่สุดกอนป พ.ศ.2368 คือหลังจากเมืองภูเก็ตและเมืองถลางถูกพม่ารุกรานเมื่อป พ.ศ.2352 พลเมืองไดกระจัดกระจายไปอยูตามที่ต่าง ๆ ครั้นพระยาถลาง (เจิม) ไดรับแต่งตั้งใหเปนเจาเมืองถลางและไดตั้งเมืองภูเก็ตที่บานเก็ตโฮ ใหพระภูเก็ต (แกว) มาเปนเจาเมือง (ระหวาง พ.ศ.2368 - 2400) พื้นที่รอบ ๆ ในทู (กะทู) อุดมสมบูรณไปดวยแรดีบุก จึงทำใหคนจีนหลั่งไหล เขามาขุดแรดีบุกเปนจำนวนมาก

          สวนใหญจะเปนคนจีนที่อพยพมาจากเมืองถลางเดิมที่กระจัดกระจายอยูทั่วไป และที่อพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยน, ซัวเถา และเอหมึง ซึ่งอยูทางตอนใตของประเทศจีน โดยอาศัยเรือใบผานมาทางแหลมมาลายู เปนตน หมูบานในทูในสมัยนั้นยังเปนปาทึบ มีไขปา ตลอดจนภยันตรายตาง ๆ จากสัตวปามากมาย แตผูคนและชาวจีนในหมูบานในทูกลับเพิ่มจำนวนขึ้นอยางรวดเร็ว เนื่องจากมีแรดีบุกอุดมสมบูรณ จนเปนที่เลื่องลือไปทั่วโลก คนจีนที่อยูในทูสมัยนั้น มีความเชื่อและความศรัทธาในเรื่องเทพเจาประจำตระกูลหรือเทพเจาที่คุ มครองประจำหมูบาน เชน เทพยดาฟาดิน เซียนตาง ๆ รวมถึงบรรพบุรุษของตนเองมากอนแลว เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นจึงไดมีการอัญเชิญเทพเจาแตละพระองคที่ตนนับ ถือบูชากราบไหว ใหมาคุมครองปกปองรักษาตน หรือพวกพองที่ไดทำมาหากินในทองถิ่นที่ตนพำนักอาศัย ให้คนเหลานั้นอยูเย็นเปนสุขโดยทั่วกัน และความเชื่อนี้ยังคงยึดถือจนตราบเทาทุกวันนี้

          ตอมาไดมีคณะงิ้ว หรือเปะหยี่หี่ ที่ไดเดินทางมาจากประเทศจีนมาเปดแสดงที่บานในทู คณะงิ้วนี้สามารถแสดงอยูไดตลอดป เนื่องจากเศรษฐกิจของชาวในทูกรรมกรจีน รวมถึงรานคามีรายไดดีมากในขณะนั้น ตอมาปรากฏวามีตึกดิน 26 หลัง และโรงราน 112 หลัง จึงสามารถอุดหนุนงิ้วคณะนี้ไดตลอดป หลังจากคณะงิ้วไดเปดทำการแสดงอยู่ที่บานในทูระยะหนึ่งไดเกิดมีการเจ็บป วยเปนไข และจากการเจ็บปวยครั้งนี้ทำใหคณะงิ้วนึกขึ้นไดวาพวกตนไมไดประกอบ พิธีเจี๊ยะฉาย (กินผัก) ซึ่งเคยปฏิบัติกันมาทุกปที่เมืองจีน จึงไดปรึกษาหารือในหมูคณะและไดตกลงกันประกอบ พิธีเจี๊ยะฉ่ายขึ้นที่โรงงิ้ว เพื่อขอขมาลาโทษดวยสาเหตุตาง ๆ
ตอมาโรคภัยไขเจ็บก็หายไปหมดสิ้น ทั้งโรคภัยไขเจ็บที่เคยเบียดเบียนชาวในทูก็ลดลงดวยเช่นกัน เรื่องนี้สรางความประหลาดใจใหแกชาวในทูเปนอยางมาก จึงไดสอบถามจากคณะงิ้ว และไดคำตอบวาพวกเขาไดประกอบพิธีเจี๊ยะฉายแบบยอ ๆ เนื่องจากไมมีผูรูและผูชำนาญในการจัดประกอบพิธีเจี๊ยะฉาย คณะงิ้วยังไดแนะนำชาวจีนในทูต่อไปวา การเชิญเทพเจามาสักการบูชาเพื่อปกปองตนเอง ครอบครัวและทองถิ่นเพื่อใหอยูเย็นเปนสุข ตามที่ได้ปฏิบัติกันมาแลวเปนสิ่งที่ดี แตถาจะใหดียิ่งขึ้นก็ควรจะเจี๊ยะฉายถือศีลไปดวย

          การเจี๊ยะฉายไมจำเปนตองปฏิบัติใหครบทั้งเกาวัน จะเจี๊ยะฉายกี่วันก็ไดตามแตศรัทธาและเหมาะสมของแตละครอบครัว ชาวในทูและคนจีนสวนใหญมีความเชื่อและเลื่อมใส ไดปฏิบัติตามคำแนะนำของคณะงิ้วโดยไดประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย ในปตอมาประเพณีเจี๊ยะฉายของเมืองภูเก็ตไดเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ในทู (กะทู) นั่นเอง ตอมาจึงไดแพรหลายออกไปตามสถานที่ตาง ๆ หลังจากชาวจีนในทูได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉายไดประมาณ 2 - 3 ป โรคภัยไขเจ็บตาง ๆ ไดลดน้อยลงและหายไปในที่สุด ทำให้ชาวจีนที่มาอาศัยทำเหมืองแรอยูตามดงตามปา มีความเชื่อและศรัทธาเลื่อมใสมากยิ่งขึ้น

          กอนคณะงิ้วจะยายไปทำการแสดงที่อื่น คณะงิ้วไดมอบรูปพระกิ้มซิ้น (เทวรูป), เลาเอี๋ย (เตียนฮูหง่วนโสย), สามอองฮูอองเอี๋ย, สามไถจือ และไดใหคำแนะนำแกชาวจีนเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมโดยย่อ ๆ ในครั้งนั้นดวย ในชวงระยะที่ชาวจีนกำลังประกอบพิธีเจี๊ยะฉาย ที่ทานผูรูทานหนึ่ง ซึ่งไมปรากฏนามเคยอาศัยอยูที่มณฑลกังไส (กังไส คือ เจียงซี้ของประเทศจีนในปจจุบัน) ไดเดินทางมาประกอบอาชีพในทู ไดเห็นการประกอบพิธีเจี๊ยะฉายของชาวจีนไมถูกต้องตามแบบฉบับของฉายตึ้ง (ศาลเจาในมณฑลกังไส) จึงไดแจงใหชาวจีนในทูทราบวาตนยินดีรับอาสาเดินทางกลับไปมณฑลกังไสของ ประเทศจีน เพื่อไปเชี้ยเหี้ยวโหย (อัญเชิญธูปไฟ) และองคประกอบสำหรับพิธี แตไมสามารถเดินทางไปได เนื่องจากขาดทุนทรัพย ชาวจีนในทูจึงไดรวมมือรวมใจกันรวบรวมทุนทรัพยใหกับผูรูทานนี้

           สำหรับเปนคาใชจายในการเดินทางไปมณฑลกังไสอีก 2 - 3 ป ตอมาในระหวางที่ชาวจีนในทูประกอบพิธีเจี๊ยะฉายแบบยอ ๆ จนถึงวันขึ้น 7 ค่ำ (วันเกาโงยโฉยฉีด) ตามปฏิทินจีนเวลากลางคืน เรือใบจากประเทศจีน ไดเดินทางมาถึงหัวทาบางเหลียว (บางเหนียวในปจจุบัน) ทานผูรูไดเดินทางกลับมากับเรือใบลำนี้ดวยและไดสงคนมาแจงข่าวใหชาว จีนในทูทราบวา บัดนี้ตนไดเดินทางกลับจากประเทศจีนมาถึงหัวทาบางเหลียวพร อมเชี้ยเหี้ยวเอี้ยน (ผงธูป) มาดวยแลว ขอใหคณะกรรมการกับผูที่รวมประกอบพิธีเจี๊ยะฉาย ไปตอนรับที่หัวบางเหลียวในวันเกาโงยโฉยโปย คือวันรุ่งขึ้นเหี้ยวโหยหรือเหี้ยวเอี้ยนที่นำมาจากมณฑลกังไส ไดจุดปกไวในเหี้ยวหลอ (กระถางธูป) โดยจุดธูปใหติดตลอดระยะทางมิใหดับนอกจากนี้ยังไดนำแกง (บทสวดมนต, คัมภีร, ตำราตาง ๆ พรอมทั้งปายชื่อเตาโบเกง ปายติดหนาอามฉ้ายตึ้ง) ปจจุบันประเพณีเจี๊ยะฉายของชาวภูเก็ตไดปฏิบัติสืบทอดกันมาทุกป นับเวลาไดหลายรอยปแลวซึ่งถือว่าเปนประเพณีอันดีงามของชาวภูเก็ต
พิธีกรรมในช่วงงานประเพณีถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต

          พิธีบูชาพระ ในวันแรกของพิธีจะมีการบูชาพระดวยเครื่องเซนตาง ๆ ทั้งอาม (ศาลเจา) และตามบานของผู้กินผัก เมื่อกินผักไดครบ 3วัน ถือวาผูนั้นสะอาดบริสุทธิ์ หรือที่เรียกวา เชง

          พิธีโขกุน (พิธีเลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจา) เปนพิธีการเลี้ยงทหาร ซึ่งจะทำพิธีในวันที่ 3 วันที่ 6 และวันที่ 9 ของงานประเพณีหลังเที่ยง หรือประมาณ 15.00 น. พอเริ่มพิธีจะตองมีการเตรียมอาหารและเหลา สำหรับเซ่นสังเวยเลี้ยงทหารและมีหญาหรือพวกถั่ว เพื่อเปนอาหารของมา

          พิธีเหลี่ยมเกง เปนการสวดมนต โดยจะเริ่มทำการสวดมนตตั้งแตเมื่อพระกิ๊วฮองไตเตเขาประทับในอ๊าม หรือศาลเจา ทำพิธีสวดวันละ 2 ครั้ง เปนลักษณะการสวดมนตเชาและสวดมนตเย็น โดยเฉพาะกลางคืนหลังจากสวดมนตซึ่งใชบทสวด คือ ปกเตาเก็งก็จะมีการถากซอคือการอานรายชื่อของผูที่เขารวมกินผัก ซึ่งอานตอหนาแทนบูชาพระกิ๊วฮองฮุดโจว เปนลักษณะการกลาวรายงานผูถือศีลกินผัก

          พิธีปายชิดแช (พิธีบูชาดาว) จะทำในคืนวัน 5 ค่ำ เพื่อขอใหชวยคุมครองในพิธีนี้จะมีการนำฮู (กระดาษยันต์) แจกพิธีกรรมในช่วงงานประเพณีถือศีลกินผัก

          พิธีอิ้วเกง เปนการออกประพาสเพื่อโปรดสัตวหรือทำนองออกเยี่ยมราษฎรของพระมหากษัตริย โดยมีขบวนธง และปายชื่อแหนำหนา จากนั้นก็เปนเกี้ยวหามรูปพระ เรียกวา ไทเปี๋ย หรือ เสลี่ยงเล็ก โดยหามรูปพระบูชาตาง ๆ ออกนั่งเกี้ยวไป ซึ่งจัดตามชั้นและยศของพระ เชน จาก "ลิ่น" ขึ้นไปเปน "งวน" "โสย" สูงขึ้นไปอีกเปน "ไตเต" หรือสูงขึ้นไปอีกเปน "ฮุด" จากนั้นเปนขบวนของพระเกี้ยวใหญหรือตั่วเหรียญ หรือเสลี่ยงใหญ ซึ่งมักใชคน 8 คนหาม และมีฉัตรจีน หรือนิ่วสั่วกั้นไปดวย ซึ่งเปนที่ประทับกิ๊วฮองฮุดโจว ในขณะที่ขบวนแหผานไป ชาวบานจะตั้งโตะบูชาหนาบาน และจุดประทัดต้อนรับขบวนเมื่อผานมาถึง

          พิธีสงพระ ทำในวันสุดทายของการถือศีลกินผัก ตอนกลางคืนจะมีการสงองคหยกฮองซงเต (พระอิศวร) และองคกิ๊วฮองไตเต (ผูเปนใหญทั้งเกา/จักรพรรดิ์) ซึ่งมักสงกันที่หนาเสาโกเตง กอนเที่ยงคืนมีการสงพระกิ๊วหองฮุดโจ้วกลับสวรรค ณ บริเวณชายทะเลสะพานหิน เมื่อขบวนสงพระออกพนประตู ไฟทุกดวงในอามตองดับสนิทและปดประตูใหญ ในสามวันนี้ทุกอามตองทำพิธีบวงสรวงทหารของเจาซึ่งเปนบริวารของเจาแต ละองค ทหารของเจาแตละองคจะมีทหารบริวารมากมาย ทหารของเจานั้น เขาเชื่อกันวาแบงออกเปนกอง ๆ ตามทิศตาง ๆ ได 5 ทิศ ไดแก หล่ำเอี๋ยทิศใตใชธงสีแดง มีทหาร 88,000 คน ปกเอี๋ยทิศเหนือใชธงสีดำ มีทหาร 55,000 คน ตั่งเอี๋ยทิศตะวันออก ใชธงสีเขียว มีทหาร 99,000 คน ไซเอี๋ยทิศตะวันตกใชธงขาว มีทหาร 66,000 คน ตกเอี๋ยทิศกลาง (กองกลาง) หรือทัพหลวงใชธงสีเหลือง มีทหาร 33,000 คน

          พิธีโกยโหย (พิธีลุยไฟ) กองไฟถือเปนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในแงความศักดิ์สิทธิ์ก็เปนการแสดงถึงอิทธิฤทธิ์ที่บังคับไฟไมใหรอน หรืออาจถือวาเปนไฟทิพยใชชำระความสกปรกของรางกาย โดยลุยทั้งคนทรงเจาที่กำลังประทับทรงหรือประชาชนโดยทั่วไป

          พิธีโกยหาน (พิธีสะเดาะเคราะห) ทำหลังจากพิธีลุยไฟ ใหผูที่ตองการสะเดาะเคราะหตัดกระดาษเป็นรูปตัวเอง พรอมเหรียญ 25 สตางค และตนกุยฉาย 1 ตน นำมาที่ศาลเจา แลวใหมาทรง (ผู้ประทับทรง) ประทับตราดานหลังของเสื้อที่ใส เรียกวา ตะอิ่น

 
          ดาวน์โหลดกำหนดการงานประเพณีถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2553 คลิกเลย

          ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานภูเก็ต 191 ถนนถลาง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 8300 โทรศัพท์ 0 7621 2213

งานประเพณีถือศีลกินเจ จังหวัดกระบี่

          การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานกระบี่ ขอเชิญร่วมเป็นหนึ่งในเทศกาลแห่งการอิ่มบุญอิ่มใจ ปีละครั้งถือศีลกินเจตลอด 9 วัน 9 คืน ในวันที่ 8 – 16 ตุลาคม 2553 บริเวณศาลหลักเมืองจังหวัดกระบี่ (หน้าศาลากลางจังหวัดกระบี่) อีกทั้งชื่มชมแรงศรัทธาของประชาชนจากขบวนแห่พระกว่า 40 ศาลเจ้า ที่ร่วมทำพิธีเสริมดวงเมืองกระบี่ในวันที่ 11 ตุลาคม 2553 ตั้งแต่เวลา 12.00 – 17.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานกระบี่ โทรศัพท์ 0 7562 2163, โทรสาร 0 7562 2164

ประเพณีถือศีลกินผัก จังหวัดตรัง

          การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตรัง ขอเชิญร่วมงาน ประเพณีถือศีลกินผัก จังหวัดตรัง ในวันที่ 8 - 16 ตุลาคม 2553 บริเวณศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย ศาลเจ้าพ่อหมื่นรามตรัง และทุกศาลเจ้าในจังหวัดตรัง ทั้งนี้ ประเพณีกินเจจังหวัดตรัง เป็นการประกอบพิธีกรรมเพื่ออัญเชิญพระอิศวร เทพนพเก้า 9 องค์ และพุทธสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากลโลก มาประทับร่างทรงเพื่อโปรดสาธุชนคนบุญ ซึ่งจะจัดโต๊ะบูชาไว้ต้อนรับพร้อมการจุดประทัดเสียงดังกึกก้องบูชา

          สำหรับรับร่างคนทรงหรือม้าทรงนั้น ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ด้วยการทำร้ายตัวเอง เช่น การลุยไฟหรือทิ่มแทงตามร่างกายบ้าง เชื่อกันว่าเพื่อรับเคราะห์กรรมแทนมนุษย์นั่นเอง เป็นพิธีกรรมที่แต่งแต้มสีสันให้กับศรัทธาและตั้งอยู่บนพื้นฐานอันแน่วแน่ ที่มุ่งสร้างความบริสุทธิ์ให้เกิดขึ้นทั้งกายและใจ โดยรับประทานอาหารเจอันบ่งบอกถึงความไม่ต้องการเบียดเบียนสัตว์อื่นใดทั้งปวง เพื่อรักษาจิตให้ผ่องใส ก่อให้เกิดปัญญาธรรม ประชาชนจะนุ่งขาวห่มขาว สำหรับกิจกรรมของงานประกอบด้วยการแสดงพลุไฟ การแสดงมังกร มีการจำหน่ายอาหารเจธงฟ้าราคาถูก

          สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานตรัง 199/2 ถนนวิเศษกุล ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองฯ จังหวัดตรัง 92000 โทรศัพท์ 0 7521 5867, 0 7521 1058

เทศกาลกินเจระโนด

          เทศบาลตำบลระโนด ร่วมกัน ศาลเจ้าอันฮกเก็ง จัดงานเทศกาลกินเจ ประจำปี 2553 ระหว่างวันที่ 7-16 ตุลาคม 2553 ณ ศาลเจ้าอันฮกเก็ง อ.ระโนด จ.สงขลา เพื่ออนุรักษ์ประเพณีและร่วมบำเพ็ญตนให้บริสุทธิ์ละเว้นการฆ่าสัตว์

เทศกาลกินเจหาดใหญ่ ประจำปี 2553

          กินเจหาดใหญ่ ประจำปี 2553 ระหว่าง 7 - 16 ตุลาคม 2553 บริเวณสวนหย่อมศุภสารรังสรรค์ หน้ามูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ้ง ซึ่งภายในจะมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไว้อย่างมากมาย เช่น...

           ซุ้มจำหน่ายอาหารเจที่หลากหลาย รสชาติอร่อย สะอาด ถูกหลักอนามัย

           อัญเชิญพระและเจ้าจากศาลเจ้าต่าง ๆ ในอำเภอหาดใหญ่ และอำเภอใกล้เคียง มาประดิษฐานภายในบริเวณงาน เพื่อให้นักท่องเที่ยวและประชาชนที่มาร่วมงานได้กราบไหว้บูชาเพื่อความเป็น สิริมงคลในชีวิต นอกจากนี้ยังมีพิธีกรรมการเซ่นไหว้และอัญเชิญเทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของแต่ละศาลเจ้าทุกคืน

           โชว์มังกรทองพ่นไฟ และสิงโตเล่นจานดอกเหมย

           ขบวนแห่มังกรทอง และขบวนพระ ออกแห่รอบเมือง

           13 ตุลาคม 2553 พิธีเปิดพร้อมขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่ตระการตา ประกอบด้วย ขบวนมังกรทอง-สิงโต จากจังหวัดนครสวรรค์,ขบวนเทพเจ้า,ม้าทรงจากศาลเจ้าต่าง ๆในอำเภอหาดใหญ่ อาทิเช่น ศาลเจ้าเทพนาจาหาดใหญ่,ศาลเจ้าพระโพธิสัตว์กวนอิมาน,ศาลเจ้าไฉ่ซิ่งเอี๊ย, ศาลเจ้าหงอ เหี่ยมไต่ เต่(เทพสามตา ), ศาลเจ้าซาเจียงกุน, ศาลเจ้านาจาซาไท้จื้อ, ศาลเจ้าพ่อตาชี, ศาลปู่เจ้าเขา เขียวสงขลา, เทวสถานองค์จตุคามรามเทพ วัดคอหงส์, ประธานศาลเจ้าฮกเหงี่ยมเก็ง, ศาลเจ้าโป๊ยเซียน, โรงเจเต๋าบ๋อเก็ง, วิหารพระแม่อุมามหากาลี, ศาลทวดโต๊ะหมุน, ตำหนักพระโพธิสัตว์กวนอิมและพระพิฆเณศวร, ศาลเจ้าอันฮกเก็ง ระโนด, ศาลเจ้าพระแม่กวนอิมพันมือ นาทวี ฯลฯ ออกแห่รอบเมืองหาดใหญ่ และตลอดเส้นทางขบวนแห่ จะมีโต๊ะบูชาเจ้าหน้าโรงแรม/ร้านค้า/บ้านเรือนต่างๆ รวมทั้งการจุดพลุ ประทัด

           กิจกรรม "ทานบุญ" กินอย่างพอเพียงเลี้ยงคนทั้งเมือง จัดเป็นซุ้มอาหารเจที่หลากหลายนำมาบริการแจกจ่ายให้กับประชาชนและนักท่อง เที่ยวที่เข้ามาเที่ยวงาน โดยการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ชมรม สมาคม มูลนิธิ โรงแรม บริษัท ห้าง ร้าน องค์กรต่าง ๆ และประชาชนที่มีจิตศรัทธา

           กิจกรรมบนเวที เน้นการแสดงแบบจีน การประกวดหนูน้อยกินเจหาดใหญ่ การประกวดร้องเพลงจีนของเยาวชน การโชว์ร้องเพลงจีนจากชมรม สมาคม มูลนิธิหาดใหญ่ การเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเพณีการถือศีลกินเจ การบริโภคที่ถูกหลักปฎิบัติ และการรู้จักดูแลสุขภาพให้แข็งแรง

           16 ตุลาคม 2553 พิธีส่งพระคืนสุดท้ายของการกินเจ บริเวณหาดชลาทัศน์ อำเภอเมืองสงขลา เวลาประมาณ 24.00 น.
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!