TARADTHONG.COM
เมษายน 19, 2024, 08:09:34 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โพลเผย 5 จังหวัด ประชาชนอยู่เป็นสุขที่สุด สุพรรณบุรีแชมป์  (อ่าน 4259 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
webmaster
Administrator
Full Member
*****

คะแนนความนิยม: 21
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 143



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: มีนาคม 21, 2011, 01:40:59 PM »

เผยจังหวัดที่ประชาชน อยู่แล้วเป็นสุขมากที่สุด (ไทยโพสต์)

          สำรวจจังหวัดน่าอยู่ สุพรรณบุรี อุตรดิตถ์ พังงา สุโขทัย เพชรบูรณ์ ติดอันดับ ไม่น่าเชื่อภูเก็ตที่โหล่ ขณะที่นราธิวาสอยู่แล้วรู้สึกกลัวอาชญากรรม น่าวิตกคนไทยสมัยนี้เห็นการคอรัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดา

          นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่องจัดอันดับความรู้สึกของประชาชนต่อจังหวัด “อยู่แล้วเป็นสุข” กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่พักอาศัยอยู่ใน 77 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 42,538 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2554
 
 ผลสำรวจพบ 10 จังหวัดที่ประชาชนรู้สึกว่า อยู่แล้วเป็นสุขมากที่สุด คะแนนเต็ม 10 คะแนน ได้แก่

          อันดับที่ 1 ได้แก่  จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีคะแนนความรู้สึกอยู่แล้วเป็นสุขเฉลี่ยอยู่ที่ 7.83 คะแนน

          อันดับที่ 2  ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ 7.66 คะแนน

          อันดับที่ 3  ได้แก่ จังหวัดพังงา ได้ 7.56

          อันดับที่ 4 ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย ได้ 7.50

          อันดับที่ 5 ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ 7.44

          อันดับที่ 6 ได้แก่ จังหวัดสตูล

          อันดับที่ 7 ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์

          อันดับที่ 8 ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก

          อันดับที่ 9 ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว

          อันดับที่ 10 ได้แก่ จังหวัดพะเยา

       
 สำหรับ 5 จังหวัดสุดท้ายที่ประชาชนรู้สึก “อยู่แล้วเป็นสุข” ได้แก่

          อันดับที่ 73 ได้แก่ จังหวัดสมุทรสงคราม ได้ 6.45 คะแนน

          อันดับที่ 74  ได้แก่ จังหวัด กระบี่ ได้ 6.41 คะแนน

          อันดับที่ 75 ได้แก่ จังหวัดสระบุรี ได้ 6.40 คะแนน

          อันดับที่ 76 ได้แก่ จังหวัดสงขลา ได้ 6.32 คะแนน

          อันดับที่ 77 ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต ได้ 5.64 คะแนน
     
          เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกหวาดกลัวต่ออาชญากรรม พบว่าประชาชนใน จังหวัดนราธิวาส รู้สึกหวาดกลัวต่ออาชญากรรมมากที่สุด เฉลี่ยอยู่ที่ 6.92 รองลงมาอันดับที่สอง ได้แก่ ระยอง ได้ 6.40 อันดับที่สาม ได้แก่ สมุทรปราการ ได้ 6.38 อันดับที่สี่ ได้แก่ ปัตตานี ได้ 6.24 อันดับที่ห้า ได้แก่ นนทบุรี ได้ 6.19 อันดับที่หก ได้แก่ นครพนม ได้ 6.13 อันดับที่เจ็ด ได้แก่ สิงห์บุรี ได้ 6.07 อันดับที่แปด ได้แก่ อุดรธานี ได้ 6.04 อันดับที่เก้า ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และจังหวัด อ่างทอง ได้ 5.92 เท่ากัน

          นอกจากนี้ ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาร้อยละ 52.7 คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดาในการทำธุรกิจ ร้อยละ 12.3 ระบุไม่แน่ใจ และมีเพียงร้อยละ 35.0 ที่ไม่คิดเช่นนั้น เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการทุจริตคอรัปชั่นในการทำธุรกิจจำแนกตามเพศ พบว่าเพศชายและเพศหญิงคิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นในการทำธุรกิจไม่แตกต่างกัน โดยเพศชายร้อยละ 54.0 เพศหญิงร้อยละ 51.7 ตามลำดับ
       
           เมื่อจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปคิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดาในการทำธุรกิจ โดยร้อยละ 56.7 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 56.3 อายุ 40-49 ปี และร้อยละ 56.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 47.0 อายุ 20-29 ปี ในขณะที่ร้อยละ 38.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
       
         จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมีเพียงร้อยละ 37.4 คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดาในการทำธุรกิจ ร้อยละ 15.0 ระบุไม่แน่ใจ ร้อยละ 47.7 ไม่คิดเช่นนั้น ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและปริญญาตรีเกิน ครึ่ง หรือ ร้อยละ 54.1 ต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 51.2 ระดับปริญญาตรี คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดาในการทำธุรกิจ
       
          จำแนกตามอาชีพ พบว่าผู้ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว และกลุ่มข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจเกินครึ่ง หรือร้อยละ 55.9 และร้อยละ 50.8 คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดาในการทำธุรกิจ อย่างไรก็ตาม นักเรียนนักศึกษาร้อยละ 42.2 ไม่คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดา

          จำแนกตามภูมิภาค พบว่าผู้ที่พักอาศัยในภาคกลางร้อยละ 60.2 คิดว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดาในการทำธุรกิจ รองลงมา กรุงเทพมหานครร้อยละ 55.5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 54.7 ภาคเหนือร้อยละ 46.1 และภาคใต้ร้อยละ 41.8 ตามลำดับ

          ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชนกล่าวว่า หลายจังหวัดของประเทศที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง มีคนรวยพักอาศัยอยู่จำนวนมาก แต่ประชาชนธรรมดาทั่วไปโดยรวมกลับมีความรู้สึก “เป็นสุข” น้อยกว่าจังหวัดอื่นๆ ของประเทศ จึงเป็นข้อมูลที่นักพัฒนาและผู้บริหารประเทศน่าจะนำไปประกอบการตัดสินใจเชิง นโยบายเพื่อหาแนวทางเพิ่มดัชนีความสุขของประชาชนระดับพื้นที่ในจังหวัดต่างๆ ของประเทศ นอกจากนี้ ผลสำรวจครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่าทัศนคติอันตรายต่อการทุจริตคอรัปชั่นกำลัง ไปอยู่ในกลุ่มเด็กเยาวชนนักเรียนนักศึกษาจำนวนมาก และเป็นปัญหาที่รัฐบาล กลไกหน่วยงานต่างๆ ของรัฐและภาคประชาสังคมต้องหาแนวทางช่วยกันทำให้ประเทศไทยก้าวหน้าไปสู่การ พัฒนาที่ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืน

          "จึงเสนอให้พิจารณาใช้ 4 มาตรการควบคู่กันในการทำให้คนในจังหวัดอยู่เย็นเป็นสุขคือ มาตรการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชน มาตรการเพิ่มความโปร่งใสใช้งบประมาณพัฒนาด้วยการนำรายการใช้จ่ายเปิดเผยต่อ สาธารณชนในจังหวัดผ่านเว็บไซต์ วิทยุชุมชน ป้ายโฆษณาและเอกสารแจกจ่ายในหมู่บ้านชุมชนต่างๆ มาตรการการเพิ่มความเข้มงวดในการใช้กฎหมายควบคุมพฤติกรรมไม่ดีของคน และมาตรการไม่เลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ การลงทุนประกอบธุรกิจ และปัญหาต่างๆ ของสังคม" ดร.นพดลกล่าว

         จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 48.4 เป็นชาย ร้อยละ 51.6 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.1 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.6 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 40-49 ปี และร้อยละ 30.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 69.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 26.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 28.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.2 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 10.5 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 6.2 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 4.9 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 30.0 ระบุรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 28.4 ระบุรายได้ 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 13.1 ระบุ 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 7.5 ระบุรายได้ 15,001-20,000 บาท และร้อยละ 21.0 ระบุรายได้มากกว่า 20,000 บาท


บันทึกการเข้า


   โรงแรมอโยธยา-ทองคำ-แห่ง-สยาม


หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!