TARADTHONG.COM
เมษายน 24, 2024, 11:52:49 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 6 ข้อคิดดีๆจากนิทานอีสป ที่คุณอาจจะลืมไปแล้ว  (อ่าน 5641 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2011, 07:18:28 AM »

6 ข้อคิดดีๆจากนิทานอีสป ที่คุณอาจจะลืมไปแล้ว



1 ไม้นวมดีกว่าไม้แข็ง

จากเรื่อง ลมกับพระอาทิตย์ ลมกับพระอ่าทิตย์ได้ถกเถียงกันว่าใครจะมีอำนาจเหนือกว่ากัน ในที่สุดได้ตกลงกันว่าถ้าใครสามารถทำให้คนเดินทางถอดเสื้อคลุมออกจากร่างได้จะเป็นผู้ชนะ ลมขอทดลองก่อนโดยการพัดด้วยความเร็วอ่อนๆ จนค่อยๆหนักขึ้นทุกทีๆ แต่คนเดินทางกลับยิ่งกระชับเสื้อคลุมของตนไว้แน่น ส่วนพระอาทิตย์นั้นใช้วิธีฉายแสงอ่อนๆขับไล่ความหนาวเย็น เมื่อแสงเริ่มทวีความร้อนแรงมากขึ้นๆคนเดินทางจึงถอดเสื้อคลุมของตนออก

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : แม้จะต่างมีอำนาจ แต่ผู้ที่รู้จักวิธีการชักชวนโน้มน้าวจิตใจผู้อื่น ย่อมประสบความสำเร็จมากกว่าการบังคับข่มขู่

แทนที่เราจะวีนแตก โยนระเบิดใส่เพื่อน ทำไมเราไม่ใจเย็นๆ ค่อยๆพูด ตรงๆ อย่างใจเย็น หรือคุยกัน บอกให้เพื่อนช่วยคุยกันหน่อย ไม่มีใครชอบถูกสั่งหรือบังคับให้ทำหรอก เพราะถ้าเป็นเรา เราคงไม่อยากได้ยินสิ่งที่ไม่ดีเหมือนกัน

 


2 อย่าหาเหตุผลจากคนพาล

จากเรื่อง หมาป่ากับลูกแกะ หมาป่าตัวหนึ่ง กำลังกินน้ำอยู่ที่ตอนเหนือของแม่น้ำในระยะที่ไม่ไกลนัก มีลูกแกะตัวหนึ่งกำลังกินน้ำอยู่ถัดออกไป เมื่อหมาป่าเห็น ดังนั้น จึงเดินมาพูดกับลูกแกะว่า " อะไรกันนี่ เจ้าลูกแกะเกเร เจ้ากล้าดีอย่างไร จึงทำให้น้ำขุ่นเป็นโคลนจนข้ากินไม่ได้ " ลูกแกะตอบว่า " ฉันเสียใจ แต่ฉันคิดว่า ฉันไม่สามารถทำให้น้ำนั้นขุ่นจนท่านกินไม่ได้ เพราะฉันอยู่ปลายน้ำ จะไปทำให้น้ำขุ่นจนถึงที่ที่ท่านยืนอยู่ได้อย่างไร " หมาป่าตั้งใจจะหาเรื่องกับลูกแกะให้ได้จึงพูดว่า " บางทีมันก็อาจจะเป็นได้ แต่เมื่อหกเดือนก่อน เจ้าคนพาล เจ้าได้ด่าข้าลับหลัง " " มันจะเป็นไปได้อย่างไร " ลูกแกะตอบ "ในเมื่อตอนนั้นฉันยังไม่เกิด" หมาป่าตอบว่า " อะไรกัน เจ้าช่างไม่มีความละอาย ครอบครัวของ เจ้าเกลียดครอบครัวของข้า ถ้าไม่ใช่เจ้าเป็นคนด่า ก็คงเป็นพ่อของเจ้า " เมื่อพูดจบก็ตรงเข้าขย้ำลูกแกะกินเป็นอาหาร

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ผู้ที่ไม่มีความกรุณา จะไม่ยอมรับฟังเหตุผล เนื่องจากมีความโหดร้าย และอยุติธรรมในใจเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ที่จะไปต่อปากต่อ คำด้วย ผู้ที่กดขี่ข่มเหงมักจะหาทางที่จะทำลายเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจนได้

ช่วงเวลาที่คนโกรธ มักจะเป็นเวลาที่สมองส่วนเหตุผลหยุดทำงาน เพราะบางครั้งอาการพลุ่งพล่านที่เห็นนั้นอาจไม่ได้ต้องการคำแก้ตัวใดๆ เป็นแค่การอยากระบาย และถ้าคนๆ นั้นเป็นคนที่ไม่เปิดใจกว้าง สู้เก็บพลังในการอธิบายเอาไว้ อย่าไปอธิบายให้เสียเวลา ฉากหลบได้ก็ควรทำ


3 พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี

จากเรื่อง สุนัขกับเงา สุนัขตัวหนึ่งลักเนื้อจากตลาดคาบวิ่งข้ามสะพานมา ขณะอยู่บนสะพานมันเหลือบเห็นเงาของตัวเองในน้ำ แต่เข้าใจว่าเป็นสุนัขอีกตัวหนึ่ง ซึ่งคาบเนื้อชิ้นใหญ่กว่า มันอ้าปากหมายจะงับแย่งชิ้นเนื้อจากสุนัขที่มองเห็นในน้ำ เนื้อในปากของมันจึงตกน้ำจมหายไปสุนัขโง่ตัวนี้ต้องสูญเสียทั้งเนื้อของตนและเนื้อที่ตนคิด

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ผู้มีความโลภและโง่เขลา นอกจากจะพลาดหวังในสิ่งที่ตนต้องการ ยังอาจสูญเสียสิ่งที่ตนมีอยู่แล้วอีกด้วย

ทำไมเราจะต้องแสวงหาคนที่ดีกว่า เมื่อเรามีความสุขดีอยู่กับแฟนแล้ว ถ้าสายตาคุณไม่เคยหยุดนิ่ง สอดส่องหาคนที่ดีกว่าตลอดเวลา คุณคงจะต้องเสียเวลามองหาแฟนคนใหม่ตลอดไป เราไม่มีทางรู้เลยว่ากิ๊กคนใหม่นั้นดีกว่าแฟนเราจริงหรือสร้างภาพ ถ้าปล่อยให้คนดีหลุดมือไป เราอาจต้องเสียใจ ในเรื่องความไม่รู้จักพอของเราในภายหลัง


4 ทุกอย่างต้องเกื้อกูลกัน

จากเรื่อง ท้องกับอวัยวะอื่นๆ วันหนึ่งบรรดาอวัยวะต่างๆของร่างกายอันได้แก่ มือ ขา ปาก และฟันเป็นต้น เห็นว่าพวกตนทำงานกันด้วยความเหน็ดเหนื่อย แต่ท้องนั้นอยู่เฉยๆ ก็ได้รับอาหารโดยไม่ต้องออกแรงอะไรเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น อวัยวะทั้งหลายจึงพากันประท้วง โดยขาไม่ยอมเดินไปหาอาหาร มือไม่ยอมหยิบอาหาร ปากไม่ยอมอ้าและฟันไม่ยอมเคี้ยวอาหารด้วยเหตุนี้ในเวลาไม่นานมัก ท้องจึงรู้สึกหิวโหย แต่เมื่อไม่มีอาหารจึงไม่อาจย่อยและส่งไปเลี้ยงอวัยวะอื่นๆได้ มือ ขา ปากและฟัน ต่างก็รู้สึกอ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง และเริ่มเข้าใจว่าแท้ที่จริงท้องนั้นก็ทำหน้าที่ของตนเช่นกัน ไม่ได้อยู่เฉยๆ อย่างที่พวกตนคิดแต่แรก หลังจากที่อวัยวะทุกส่วนของร่างกายร่วมแรงร่วมใจกันทำงานอีกครั้งร่างกายก็กลับแข็งแรงสมบูรณ์เหมือน

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ทุกคนต้องทำงานไปตามหน้าที่ของตนเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ซึ่งต่างก็มีบทบาทและความสำคัญเช่นเดียวกัน

ไม่มีใครเคยบอกว่า one man show คือการทำงานที่ดีที่ได้ผลดีที่สุด การอยู่ร่วมกับคนอื่นด้วยความเอื้ออาทรเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่มนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งพึงต้องมี คุณไม่รู้หรอกว่าคุณต้องการความช่วยเหลือจากใคร เมื่อใด จำไว้ว่าคุณไม่ใช่ผู้วิเศษมาจากไหน งานบางอย่างต้องการพลังสร้างสรรค์ ถ้าพวกเขาไม่ร่วมมือกับคุณบ้างจริงๆ คุณอาจทำงานได้อยากกว่านี้

 

5 อย่าประมาท

จากเรื่อง มดกับตั๊กแตน มดเป็นเพื่อนกับตั๊กแตน พวกเขาพบกันแล้วร้องรำทำเพลงกันทุกวัน วันหนึ่งในฤดูร้อน มดพูดกับตั๊กแตนว่า "ฤดูฝนจะมาถึงแล้ว เรามาตระเตรียมที่อยู่และอาหารกันเถอะ" ตั๊กแตนตอบว่า " เรายังมีเวลาอีกเยอะ เราร้องเพลงและเต้นรำกันเถอะ" แต่มดบอกว่า "เราไม่มีเวลาทำอย่างนั้นหรอก" ระหว่างฤดูร้อน มดทำงานทั้งวัน สร้างรังและกักตุนอาหาร แต่ตั๊กแตนเอาแต่ร้องเพลงเที่ยวเล่น เช้าวันหนึ่งฤดูฝนก็เริ่มขึ้น ฝนตกหนักแทบทุกวัน เจ้าตั๊กแตนไม่มีที่อยู่และอาหารกิน มันตัดสินใจไปหามด ขออาหารจากมด แต่มดบอกเสียใจ ฉันไม่มีอะไรให้คนเกียจคร้าน เจ้าตั๊กแตนจึงเดินกลับด้วยความเศร้า

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : จงเตรียมพร้อมและตั้งมั่นอยู่ ในความไม่ประมาท สำหรับเหตุการณ์ในอนาคต

ไม่มีใครรู้ว่าอนาคตเราต้องเจอกับอะไรบ้าง จู่ๆ อาจไม่สบายจนทำงานไม่ได้ อาจจะต้องออกจากงาน ถ้าคุณไม่ระวังค่าใช้จ่าย ไม่เก็บออมไว้เลย จะมีชีวิตที่มั่นคงได้อย่างไร


6 รู้ความต้องการของตนเอง

จากเรื่อง ไก่กับพลอย พ่อไก่หนุ่มตัวหนึ่งพร้อมกับฝูงแม่ไก่กำลังคุ้ยดินหากินอยู่ใกล้ๆกับทุ่งนา ขณะที่มันกำลังคุ้ยดินอยู่นั้นได้พบเอาพลอยเม็ดหนึ่ง ประกายพลอยส่องแสงจับกับรังสีของพระอาทิตย์ระยิบระยับงดงาม ไก่มองดูเจ้าเม็ดพลอยนั้นด้วยความประหลาดใจ มันเอียงคอ พร้อมกับเอ่ยขึ้นว่า " เจ้านี่ช่างงดงามเหลือเกิน และแน่นอนถ้าหากว่าช่างทำเพชรพลอยเขามาพบเจ้าละก็... เขาจะต้องชอบเจ้าแน่ๆ เชียว แต่สำหรับข้า เจ้าไม่มีค่าสำหรับข้าเลยแม้แต่น้อย ความจริงดูเหมือนว่า ข้าวเพียงเมล็ดเดียวนั้นยังจะมีค่ามากกว่าเจ้าพวกเพชร พลอยทั้งหมดในโลกเสียด้วยซ้ำ "

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : คนที่รู้ความต้องการของตนจะมีความสุข คนฉลาดชอบสิ่งที่จำเป็นมากกว่าเครื่องประดับอันระยิบระยับซึ่งไม่มีค่าอันใด นอกจาก ก่อให้เกิดความเย่อหยิ่งและความฟุ้งเฟ้อ

บางครั้ง สิ่งของมีค่า มีราคา สำหรับคนอื่น อาจไม่มีค่ามีราคาสำหรับเรา ถ้าสิ่งนั้นมันไม่ตรงความต้องการ ไม่มีประโยชน์สำหรับเรา ทำไมไม่ลองสำรวจตัวเอง ให้รู้ความต้องการของตนเองว่า เราต้องการอะไร สิ่งใดมีค่าสำหรับเรากันแน่ จะได้ไม่ฟุ้งเฟ้อ ตามเขาไป

ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง ที่มา : Foward Mail
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!