TARADTHONG.COM
เมษายน 19, 2024, 01:04:06 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ราชนครินทร์ เผยเด็กไทย เสี่ยงป่วยทางจิต  (อ่าน 4489 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
songkhla
Administrator
Jr. Member
*****

คะแนนความนิยม: 26
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 60



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: มิถุนายน 12, 2010, 04:49:53 PM »

ราชนครินทร์เผยเด็กไทยเสี่ยงป่วยทางจิต (ไอเอ็นเอ็น)

          ผอ.ราชนครินทร์ เผยเด็กไทยเผชิญความเสี่ยงป่วยทางจิต มากขึ้น และตรวจพบอยาก ส่วนแนวโน้มเด็กออทิสติกก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย

          น.พ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เด็กและวัยรุ่นทั่วโลกประมาณ 1 ใน 5 มีปัญหาด้านสุขภาพจิต โดยในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ประมาณ 13 - 15 % จากสาเหตุที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สารเสพติด ซึ่งถือเป็นปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนึ่ง สำหรับประเทศไทย เด็กและวัยรุ่นมีปัญหาทางด้านจิตใจราว 10 % เช่นกัน ทั้งนี้ในการตรวจสภาพจิตใจ จะให้ทำแบบประเมินสุขภาพจิต ซึ่งเป็นแบบทดสอบทางจิตวิทยา ร่วมกับการตรวจร่างกายส่วนอื่น ก่อนนำข้อมูลทั้งหมด มาประมวลผลและวินิจฉัย ว่า เด็กมีปัญหาด้านสุขภาพจิตหรือไม่

          ด้าน น.พ.ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ กล่าวว่า ในวัยเด็กปัญหาสุขภาพจิตที่น่าห่วงอย่างยิ่ง นอกเหนือจากโรคออทิสติก ที่มีผู้ป่วยรายใหม่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ปีละไม่น้อยกว่า 200 -300 คน คือ ปัญหาสมาธิสั้น และอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ หรือโรคแอลดี ( Learning Disabilities) ที่จะเกิดขึ้นควบคู่กัน ปัจจุบันพบประมาณ 10 คน จาก 100 คน และอาจะมีแนวโน้มสูงขึ้น และยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด การช่วยเหลือทำได้ด้วยการตรวจหาให้เจอเร็วที่สุด หรือตั้งแต่ยังมีอาการน้อย โดยหากลูกมีอาการสมาธิสั้น จดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ไม่ต่อเนื่อง ซุกซนเกินกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างเห็นได้ชัด และหุนหันพลันแล่น ใจร้อนคอยไม่เป็น พ่อแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษา ซึ่งจะต้องใช้ยา หรือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือ ทั้งสองวิธีควบคู่กัน หากไม่ทำการรักษาจะส่งผลให้มีพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!