TARADTHONG.COM
เมษายน 20, 2024, 10:07:37 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปฏิวัติระบบคิด  (อ่าน 5275 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ABC
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 14
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 42


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: มิถุนายน 18, 2010, 05:18:24 PM »


ปฏิวัติระบบ'คิด' (ไทยโพสต์)

        แม้ไม่ใช่หัวข้อใหม่ในสังคม แต่ด้วยเหตุการณ์ความรุนแรงที่เพิ่งเกิดขึ้น เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าประเทศไทยจำเป็นต้องเริ่มต้น 'การจัดการศึกษาอย่างสร้างสรรค์'  หรือ Creative Education  เพราะการมุ่งสร้างเด็กให้เรียนเก่งอย่างเดียวไม่เพียงพอในสังคมยุคปัจจุบัน ซึ่งเด็กควรมีความคิดสร้างสรรค์ ถือเป็นเป็นเริ่มต้นพัฒนาทักษะ 'การคิด'  ที่สามารถหาคำตอบได้มากกว่าหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเด็กหรือคนทั่วไปมีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้น หากมีความคิดสร้างสรรค์ก็จะสามารถหาทางออกให้กับชีวิตได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องพบกับทางตัน

        อ.รัศมี ธันยธร ผู้อำนวยการศูนย์ความคิดสร้างสรรค์ แนะว่า ลักษณะและรูปแบบของการคิดอย่างสร้างสรรค์เริ่มต้นจากสิ่งเหล่านี้

        การมอง 95 เปอร์เซ็นต์  กล่าวคือมนุษย์โดยปกติจะมีสัดส่วนของข้อดีอยู่ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ ข้อเสีย 5 เปอร์เซ็นต์ แต่เรามีตัดสินคนจากการมองข้อเสียมากกว่าข้อดี ส่วนหนึ่งมาจากระบบการศึกษาของไทยที่ให้เด็กทำข้อสอบแบบปรนัย มีข้อที่ถูกเพียงคำตอบเดียว ซึ่งเป็นการฝึกให้เด็กมองแต่ความผิดพลาด ดังนั้น หากต้องการคิดอย่างสร้างสรรค์ต้องเริ่มฝึกมองส่วนดีที่มีอยู่ร้อยละ 95 หรือที่นิยมเรียกว่า Think Plus

        คำตอบที่ถูกมีมากกว่าหนึ่ง ในกรณีนี้สามารถชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนได้ 2 ประเด็นคือ เรื่องของ 'ความใจกว้าง'  แน่นอนว่าคนที่คิดไม่เหมือนเราไม่จำเป็นต้องคิดผิด ดังนั้น เมื่อ 2 คนที่คิดต่างมาคุยกัน หากเข้าใจไม่ตรงกันก็ไม่จำเป็นต้องหาให้ได้ว่าใครผิด ประเด็นต่อมาคือ 'ความหลากหลายของการสร้างสรรค์คำตอบ'  อาทิ หากครูต้องการตั้งคำถามนักเรียนอย่างสร้างสรรค์ และต้องการกระตุ้นให้นักเรียนคิดสร้างสรรค์ แทนที่จะถามว่า 4+4=? อาจจะเปลี่ยนคำถามว่าอะไรบวกกันได้ 8 บ้าง ซึ่งจะมีคำตอบมากกว่าหนึ่ง และทำให้เด็กคิดและจินตนาการด้านตัวเลขมากขึ้น

        "การจะก้าวออกนอกกรอบไปสู่ความสร้างสรรค์ได้นั้น จำเป็นต้องใช้ความกล้าหาญทางจริยธรรม (Moral Courage) เพราะระบบการศึกษาไทยนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้กล่อมเกลาระเบียบวินัยและวิธีคิดให้อยู่ในกรอบที่กำหนดไว้ ทำให้น้อยคนที่จะกล้าคิดแตกต่าง ส่วนหนึ่งเพราะกลัว่าตัวเองจะคิดผิด กลัวคนอื่นวิจารณ์" อ.รัศมี  กล่าว.
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!