TARADTHONG.COM
เมษายน 20, 2024, 01:56:44 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องของสินสมรส  (อ่าน 34340 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ABC
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 14
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 42


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2010, 09:55:30 AM »


          ตามกฎหมาย เมื่อชายหญิงตกลงปลงใจเป็นสามีภรรยากัน และผ่านการจดทะเบียนสมรสแล้ว ความผูกพันนี้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา 2 ลักษณะ คือ ความสัมพันธ์ส่วนตัว คือ อยู่กินกันแบบสามีภรรยา ต้องอุปการะเลี้ยงดูกัน  และ ความสัมพันธ์ทางด้านทรัพย์สิน ซึ่งแยกเป็น “สินสมรส” และ “สินส่วนตัว” …
          สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สิน ข้าวของส่วนตัวต่างๆ ที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ก่อนเดิม ก่อนแต่งงาน
          สินสมรส คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้มาหลังแต่งงาน และสามีภรรยาเป็นเจ้าของร่วมกัน
          ตามกฎหมายได้แจกแจงไว้อย่างละเอียดว่า สินส่วนตัว มี 4  ประเภท  คือ
          1. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส เช่น บ้าน ที่ดิน เงินทอง 
          2. ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือได้มาโดยเสน่หา
          3. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย เครื่องมือประกอบอาชีพ
          4. ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น จะถือเป็นสินส่วนตัวของผู้หญิง
          นอกจากนี้ ถ้าทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น เปลี่ยนสภาพไป เช่น นำไปขายและได้เงินมา นำไปแลกหรือซื้อของอื่น ให้ถือว่าเงินหรือของที่ได้มานั้น เป็นสินส่วนตัวด้วย
สินสมรส แบ่งเป็น 3 ประเภท 
          1. ทรัพย์ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส เช่น เงินเดือน โบนัส 
          2. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยพินัยกรรม โดยระบุว่าให้เป็นสินสมรส
          3. ทรัพย์สินที่เป็นกำไรสุทธิ หรือดอกผลของสินส่วนตัว
          สิทธิการจัดการทรัพย์สิน กฎหมายถือให้ผู้เป็นเจ้าของมีอำนาจจัดการทรัพย์สินส่วนตัวได้โดยลำพัง สำหรับสินสมรส ถือเป็นทรัพย์สินร่วมกันคนละครึ่ง จึงให้สองฝ่ายจัดการร่วมกัน
          สามีภรรยาสามารถแยกกันจัดการสินสมรสได้ 4 กรณี  คือ
          1. เมื่อคู่สมรสตกลงแยกกันจัดการสินสมรสโดยการทำสัญญาก่อนสมรสไว้ก่อน
          2. เมื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกเป็นคนไร้ความสามารถ อีกฝ่ายมีสิทธิร้องขอให้ศาลแยกสินสมรสได้
          3. เมื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย จะมีผลให้สินสมรสแยกกันตามกฎหมาย
          4. เมื่อมีการร้องขอต่อศาลให้แยกสินสมรสเพราะสาเหตุ เช่น อีกฝ่ายทำความเสียหายแก่สินสมรส ไม่อุปการะ เลี้ยงดู เป็นหนี้สินมากมาย หรือขัดขวางการจัดการสินสมรสโดยไม่มีเหตุอันควรและเมื่อมีการแยกสินสมรส ออกจากกันแล้ว สินสมรสส่วนที่แยกออกมาจะถือเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย รวมถึงทรัพย์สิน เช่น มรดก ดอกผลที่ได้มาหลังการแยกสินสมรสด้วย
การจัดการเรื่องหนี้สินของสามีภรรยาควรทำอย่างไร
          เมื่อสามีภรรยาไปเป็นหนี้บุคคลภายนอก หากหนี้นั้นมีมาก่อนสมรสถือเป็นหนี้ส่วนตัว ให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบใช้ต่อเจ้าหนี้เป็นการส่วนตัวโดยใช้สินส่วนตัวมาก่อน ถ้าไม่พอจึงใช้จากสินสมรสที่เป็นส่วนของตนได้คือ ครึ่งหนึ่งของสินสมรส ในกรณีที่เกิดหนี้ระหว่างสมรสหนี้นั้นอาจเป็นหนี้ส่วนตัวค้างคามาหรือเป็นหนี้ร่วม สามีภรรยาต้องร่วมกันชดใช้เจ้าหนี้โดยใช้เงินทั้งจากสินสมรสและสินส่วนตัวได้ หนี้ที่เกิดระหว่างสมรส และถือเป็นหนี้ร่วมได้แก่ หนี้ค่าอุปการะเลี้ยงดู รักษาพยาบาลคนในครอบครัว และให้การศึกษาบุตร หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส หนี้ที่เกิดจารการงานที่สามีภรรยาทำร่วมกันและหนี้ที่สามีหรือภรรยาก่อให้เกิดเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายยินยอมและรับรู้ด้วย 4 กรณีนี้สามีภรรยาต้องรับผิดชอบร่วมกัน
คู่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส 
          การจัดการทรัพย์สินมีข้อแตกต่าง คือ ในแง่กฎหมายเพราะกฎหมายจะถือว่าคู่ที่อยู่กินกัน โดยไม่จดทะเบียนสมรสไม่เป็นคู่สมรสต่อกัน
          บุตรที่เกิดมาเป็นของฝ่ายหญิงฝ่ายเดียว และการอยู่ด้วยกันไม่มีผลให้เกิดสินส่วนตัวและสินสมรส แต่ในแง่ปฏิบัติ เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อป้องกันความแตกแยกในครอบครัว กฎหมายจึงถือให้ทรัพย์สินที่ฝ่ายชาย และหญิงลงทุนร่วมแรงทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างที่อยู่กินด้วยกันเป็นทรัพย์สินรวม ชายและหญิงเป็นเจ้าของร่วมกันและมีสิทธิ์ในทรัพย์สินคนละครึ่ง การลงทุนร่วมแรงโดยหลักหมายถึงการที่ชายและหญิงร่วมกันทำการค้า หรือดำเนินกิจการโดยเฉพาะเจาะจงแล้วได้ทรัพย์สินมา และในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่บ้านช่วยดูแลบ้าน และครอบครัวโดยอีกฝ่ายเป็นผู้ทำการค้าก็ถือว่าร่วมแรงทำมาหากินเช่นกัน ในทางกลับกัน ถ้าทรัพย์สินต่างคนต่างทำมาหาได้แยกกัน หรือเป็นมรดกที่ได้รับมาจะถือเป็นสิทธิของฝ่ายนั้นผู้เดียว อีกฝ่ายไม่มีส่วนแบ่งรวมทั้งไม่สามารถฟ้องขอแบ่งทรัพย์ได้
การทำพินัยกรรม
          ถ้าทำพินัยกรรมสินส่วนตัวสามารถยกให้ใครก็ได้ตามความพอใจ แต่กับสินสมรส เนื่องจากสามีและภรรยามีสิทธิเป็นเจ้าของสินสมรสร่วมกันคนละครึ่ง จึงไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินกว่าส่วนของตัวเองให้แก่บุคคลอื่น ถ้าทำไปพินัยกรรมนั้นจะสมบูรณ์เฉพาะส่วนของตัวเองเท่านั้น
บันทึกการเข้า
air
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3



ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2010, 10:27:58 AM »

จดเป็นสินก่อนสมรสให้หมดเวลามีปัญหาก็ยังมีเงิน แต่ถ้าแฟนรวยก็ทำงง
บันทึกการเข้า
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2010, 06:34:30 PM »

เพิ่งรู้นะเนี่ย Grin Grin
บันทึกการเข้า
ayutthayahotel
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2010, 06:40:22 PM »

เพิ่งเคยเข้ามาครั้งแรกครับ Cool Cool
บันทึกการเข้า
loveyou
Administrator
Full Member
*****

คะแนนความนิยม: 29
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 234



ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 08, 2010, 10:59:13 AM »

ควรรู้อย่างยิ่งค่ะ
บันทึกการเข้า

รักนะ...จุ๊บ จุ๊บ
webmaster
Administrator
Full Member
*****

คะแนนความนิยม: 21
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 143



ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2012, 05:47:31 PM »

เยี่ยมเลยครับ
บันทึกการเข้า


   โรงแรมอโยธยา-ทองคำ-แห่ง-สยาม


kuroky13
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2013, 07:50:11 PM »

ขอบใจสำหรับความรู้คับ
บันทึกการเข้า
Katharine
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: เมษายน 09, 2018, 12:29:58 PM »

มีประโยชน์มากค่ะ สำหรับคู่สมรสควรศึกษาไว้เป็นอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า
Vermontf
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: เมษายน 17, 2018, 11:01:20 AM »

เรื่องกฎหมายเข้าใจง่าย
บันทึกการเข้า
Bonifacio
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2019, 02:48:05 PM »

กฎหมายสมัยคนรู้น้อยครับมาบอกแบบนี้ได้ความรู้ดีมาก
บันทึกการเข้า

Leonasrda
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: เมษายน 25, 2019, 10:15:57 AM »

เข้าใจและว่าอยู่แล้วมันเปลี่ยนกฎหมายเรื่องนี้บ่อย
บันทึกการเข้า
stunning88
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2019, 01:02:11 PM »

เป็นอีกเรื่องใกล้ตัวที่ควรศึกษาไว้
 ขอบคุณค่ะ
อาหารเสริม
croset
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!