TARADTHONG.COM
พฤศจิกายน 11, 2024, 02:25:21 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นักวิชาการต้านรัฐขึ้น VAT 1% ย้ำยังไม่ถึงเวลา  (อ่าน 4997 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2010, 11:17:53 PM »

นักวิชาการต้านรัฐขึ้น VAT 1% ย้ำยังไม่ถึงเวลา
นักวิชาการออกโรงคัดค้านรัฐบาล กรณีขึ้น VAT อีก 1% ย้ำยังไม่ถึงเวลา ควรปรับปรุงโครงสร้างก่อน

         หลังจากที่รัฐบาลเตรียมประกาศขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีก 1% จากเดิมที่เคยเก็บค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ก็จะขึ้นเป็น 8% ทันที ทำให้มีเสียงท้วงติงออกมาว่าเป็นช่วงเวลาที่ยังไม่เหมาะสม

         โดย รศ.ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการคลัง คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตบริหารศาสตร์ ในฐานะ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่จะขึ้นค่าภาษีอีก 1% เนื่องจากคิดว่ารัฐบาลน่าจะไปปรับปรุงภาษีส่วนอื่นมากกว่า เช่น ปรับภาษีบำรุงท้องที่มาเป็นภาษีที่ดิน เป็นต้น และควรจะปรับระบบโครงสร้างภาษีมากกว่า เนื่องจากเป็นภาษีที่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรง

         ขณะที่ รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ก็วิเคราะห์ว่า จริง ๆ การปรับโครงสร้าง VATเพิ่มอีก 1% นั้น เป็นการพูดคุยกันมานาน ตั้งแต่สมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ช่วงนั้นประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจ จึงไม่สามารถดำเนินการได้ แต่ปัจจุบันนี้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศก็เพิ่งจะฟื้นตัว ดังนั้นการปรับขึ้นค่า VAT ควรจะรอเวลาอีกระยะหนึ่ง เช่น จีดีพีของไทยโตขึ้น 5% เป็นอย่างน้อย และคงที่เป็นระยะเวลา 2 ปี แล้วค่อยปรับขึ้น เป็นต้น ไม่ใช่นำเอาการเก็บภาษีมาโปะการทำประชานิยมของตนเอง

         ด้าน นายตุลย์ ประเสริฐศิลป์ นักวิชาการอิสระ จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ตนเคยเสนอเรื่องการนำภาษีก้าวหน้า มาใช้กับภาษีมรดกและภาษีที่ดิน เพราะอัตราภาษีก้าวหน้านั้นจะช่วยลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ที่แตกต่างกันในอัตราส่วน คนรวย 20% คนจนอีก 80% ดังนั้นหากมีการจัดเก็บภาษีก้าวหน้า เช่น คนรวยมีที่ดินมากกว่า 10,000 ไร่ หากทิ้งที่ดินให้รกร้างว่างเปล่า ก็จะถูกเก็บภาษีแพง และยกเว้นการเก็บภาษีกับคนจน เป็นต้น โดยควรดำเนินการเรื่องนี้ในทันที

         นอกจากนี้ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ออกมาเปิดเผยถึงเรื่องนี้เช่นกันว่า ขณะนี้ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมในการปรับขึ้นภาษี เพราะเศรษฐกิจไทยค่อนข้างเปราะบาง ควรรอให้แน่ใจก่อนว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวจริง

         ส่วน ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีความเห็นว่า ต้องถามว่ารัฐบาลดำเนินการดังกล่าวเพื่อวัตถุประสงค์ใด เพราะหากเป็นการเก็บภาษีเพื่อนำไปทำประชานิยม เป็นการไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ควรดูเศรษฐกิจของประเทศด้วย เพราะการขึ้นภาษีดังกล่าวจะกระทบต่อราคาสินค้า และความเชื่อมั่นในการบริโภค การลงทุน จึงควรให้ GDP ของไทยอยู่ที่ 5% เป็นเวลา 2 ปี จะเหมาะสมกว่า

         อย่างไรก็ตาม นายสันติ วิลาศศักดานนท์ ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตัวแทนผู้ประกอบการ กล่าวว่า การขึ้นภาษีดังกล่าว ไม่ได้กระทบต่อผู้ประกอบการเท่าไหร่นัก แต่คนที่กระทบมากที่สุดคือ ผู้บริโภค ดังนั้นรัฐบาลจึงควรทำอย่างอื่นก่อน เช่น โครงสร้างภาษีจูงใจนักลงทุน ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยถือว่าสูงกว่าประเทศอื่น เพราะอยู่ที่ 35% ประเทศเพื่อนบ้าน 25% และ ฮ่องกง 10%

         ทางด้าน นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า ควรจะมีการทำประชาพิจารณ์จากทุกภาคส่วน เป็นอันดับแรก
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!