TARADTHONG.COM
พฤษภาคม 06, 2024, 12:10:33 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นักวิทย์เผยโลกเข้าขั้นวิกฤต น้ำแข็งละลายมากสุดในรอบ 30 ปี  (อ่าน 4188 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: เมษายน 21, 2011, 06:05:09 PM »

นักวิทย์เผยโลกเข้าขั้นวิกฤต น้ำแข็งละลายมากสุดในรอบ 30 ปี

กลายเป็นวิกฤตที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลกไปแล้วในขณะนี้ สำหรับปัญหาโลกร้อน ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั่วโลก ซึ่งแม้ว่าวิกฤตดังกล่าวจะเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกัน และหาทางแก้ไขกันมานานกว่า 20 ปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ประหยัดพลังงาน หรือฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมก็ตาม แต่ก็ดูเหมือนว่ามันก็ยังไม่อาจหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ และยิ่งนานวัน ปัญหาโลกร้อนก็ยิ่งหนักขึ้น จนส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ บนโลกชัดเจนขึ้นทุกวัน

           ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์จากหลายประเทศทั่วโลก ต่างออกมาเปิดเผยว่า ขณะนี้ปัญหาโลกร้อนเข้าขั้นวิกฤตแล้ว หลังจากมีการวิจัยพบว่า ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายเร็วขึ้น จนทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตหลายชนิดทั่วโลก เผยประชากรเพนกวินมีจำนวนลดลงกว่า 50% ขณะที่ปลาทะเลกว่า 40 ชนิดเสี่ยงสูญพันธุ์ภายในอีก 2-3 ปีนี้

            ซึ่งนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในเมืองแอ๊บเบอริสไทธ์, เอ็กเซทเทอร์ และสต๊อกโฮล์ม ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของธารน้ำแข็ง ตลอดช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา โดยศึกษาจากการเปลี่ยนแปลงของธารน้ำแข็งใหญ่กว่า 270 แห่งในชิลีและอาร์เจนตินา ตั้งแต่ยุคน้ำแข็งย่อย (ค.ศ.1650) เรื่อยมา และผลของการวิจัย พบว่า ธารน้ำแข็งบนโลกละลายเร็วขึ้น 10-100 เท่า ตลอดระยะ 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจากการละลายน้ำแข็งดังกล่าวได้ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ และเพิ่มสูงขึ้นเร็วที่สุดในรอบ 350 ปีเลยทีเดียว

          โดยศาสตราจารย์นีล กลาสเซอร์ จากมหาวิทยาลัยแอ๊บเบอริสไทธ์ หัวหน้าทีมวิจัยครั้งนี้ ได้เปิดเผยว่า ที่ผ่านมานั้น นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาการเปลี่ยนแปลงของธารน้ำแข็ง ย้อนกลับไปได้เพียง 30 ปีเท่านั้น ด้วยการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม แต่สำหรับงานวิจัยชิ้นใหม่นี้ ทีมวิจัยได้ใช้วิธีใหม่ เพื่อให้สามารถศึกษาการเปลี่ยนแปลงของธารน้ำแข็ง และระดับน้ำทะเลย้อนกลับไปได้นานกว่านั้น ซึ่งก็ทำให้สามารถคำนวณปริมาตรธารน้ำแข็ง และการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลได้ชัดเจนขึ้น เช่น ธารน้ำแข็งซาน ราฟาเอล ในพาทาโกเนีย ละลายหายไปกว่า 8 กิโลเมตร เมื่อเทียบกับยุคน้ำแข็งย่อยที่โลกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งสูงสุด

            ขณะเดียวกัน ทางด้านนักวิทยาศาสตร์จากนาซ่า ก็ได้เปิดเผยผลการศึกษาที่ไม่ได้ต่างกันนัก โดยระบุว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นได้ทำให้แผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมกรีนแลนด์ และแถบขั้วโลกละลายหายไปอย่างรวดเร็ว และจากการศึกษาการละลายของแผ่นน้ำแข็งเฉพาะปี 2006 ปีเดียว พบว่าแผ่นน้ำแข็งใหญ่ 2 แผ่น ได้ละลายกลายเป็นน้ำถึง 475,000 ล้านตันเลยทีเดียว ซึ่งหากอุณหภูมิโลกยังสูงเช่นนี้ต่อไป แผ่นน้ำแข็งก็จะละลายมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นถึง 6 นิ้วภายใน 40 ปีข้างหน้าก็เป็นได้

            ส่วนทางด้านทีมวิจัยจากศูนย์วิจัยเยอรมัน ร่วมกับคณะกรรมการวิทยาศาสตร์นานาชาติอาร์คติก ได้เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาพื้นที่น้ำแข็งขั้วโลกจะละลายหายไปประมาณ 1-2 เมตรต่อปี แต่ตอนนี้ดูเหมือนจะเป็นไปได้ว่าน้ำแข็งอาจจะละลายสูงถึง 10-30 เมตรต่อปีในบางพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลต่อระบบนิเวศ และการดำรงชีวิตของสัตว์หลายชนิด เช่น ปลา นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตลอดจนนกทะเลกว่า 500 ล้านตัว

            ทางด้านทีมวิจัยจากสำนักงานการจัดการ ด้านมหาสมุทรและบรรยากาศนานาชาติ แคลิฟอร์เนีย ได้เปิดเผยว่า วิกฤตสภาพอากาศ ได้ส่งผลกระทบมหาศาลกับแหล่งอาหาร และถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณขั้วโลก เช่น เพนกวิน หมีขั้วโลก โดยรายงานระบุว่า ปัจจุบันนี้เพนกวินต้องอดตายเป็นจำนวนมาก เพราะกุ้งคริลล์ที่พวกมันกินเป็นอาหารนั้นมีจำนวนลดลงกว่า 80% ทำให้พวกมันต้องแย่งชิงกุ้งคริลล์กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น และเมื่ออาหารลดลงและหายากขึ้นทุกวันแล้ว พวกมันก็ต้องอดตายในที่สุด และในปัจจุบันนี้ มีรายงานว่า ประชากรเพนกวินในบริเวณแอนตาร์คติก เพนนินซูล่า และทะเลสก๊อตเทีย ที่ขั้วโลกใต้ มีจำนวนลดลงไปกว่า 50% แล้ว เมื่อเทียบกับ 30 ปีก่อน

            ส่วนสัตว์อีกชนิดที่ได้รับผลกระทบไม่น้อยไปกว่ากัน นั่นก็คือ หมีขั้วโลก โดยก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาเรื่องราวของหมีขั้วโลก ในอลาสก้า และแคนาดาซึ่งมีอยู่กว่า 25,000 ตัว พบว่า ภาวะน้ำแข็งละลาย ทำให้หมีขั้วโลกต้องว่ายน้ำในระยะทางที่ไกลขึ้นเพื่อออกล่าแมวน้ำ โดยพวกมันต้องว่ายน้ำเป็นเวลากว่า 10 วัน เป็นระยะทางกว่า 680 กิโลเมตร เพื่อออกหาอาหารและกลับเข้าฝั่ง ซึ่งเมื่อว่ายน้ำกลับเข้าฝั่ง ก็พบว่าฝั่งที่พวกมันจากมามีระยะทางไกลขึ้นมาก เพราะน้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำหมด สุดท้าย หมีขั้วโลกหลายตัวก็ต้องอดตายและจมน้ำตายไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ หรือหากรอดชีวิต พวกมันก็ต้องประสบปัญหาในการล่าแมวน้ำเพื่อดำรงชีวิต จนทำให้พวกมันมีร่างกายผ่ายผอมลงจนน่าตกใจ และมีภูมิต้านทานร่างกายน้อยลง อีกทั้งยังทำให้สมรรถภาพในการสืบพันธุ์ของมันด้อยลงอีกด้วย โดยนักวิทยาศาสตร์คาดว่า หากพวกมันยังคงอดอยาก และเผชิญกับปัญหานี้ต่อไป พวกมันก็จะลดจำนวนลงเรื่อย ๆ และสูญพันธุ์ไปในที่สุด
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!