TARADTHONG.COM
พฤษภาคม 03, 2024, 08:19:59 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เกาะติดข้อพิพาท กรณีเขาพระวิหาร  (อ่าน 3964 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2010, 08:33:41 PM »

เกาะติดข้อพิพาท กรณีเขาพระวิหาร
กลายเป็นปัญหาที่เรื้อรังกันมาหลายปีแล้ว สำหรับข้อพิพาทกรณีปราสาทเขาพระวิหาร ที่ไทยและกัมพูชาต่างมีจุดยืนที่ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง และไม่มีทีท่าว่าจะตกลงกันได้ ยิ่งล่าสุด เมื่อกัมพูชาได้ดำเนินการขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารให้เป็นมรดกโลกอย่างจริงจังอีกครั้ง โดยอ้างว่าเป็นโบราณสถานที่อยู่ในเขตประเทศตน งานนี้ก็เลยทำให้ข้อพิพาทนี้กลายเป็นประเด็นใหญ่โตขึ้นมาอย่างไม่มีข้อสงสัย และดูท่าว่าเรื่องนี้คงไม่จบกันได้ง่าย ๆ เมื่อไทยและกัมพูชาต่างอ้างอิงแผนที่คนละฉบับกันอยู่ และต่างฝ่ายต่างก็ยืนยันในจุดยืนของตัวเองชัดเจน

          เริ่มจากฝ่ายกัมพูชา ที่พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้คณะกรรมการมรดกโลกลงมติรับรองให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งกระบวนการดังกล่าวก็มาถึงขั้นตอนการนำเสนอการจัดการพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหารให้คณะกรรมการมรดกโลกได้พิจารณากันแล้ว ในการประชุมเมื่อวันที่ 22-30 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่ประเทศสเปน ซึ่งหากการนำเสนอครั้งนี้ได้รับการลงมติรับรองจากคณะกรรมการมรดกโลก ก็จะทำให้ปราสาทเขาพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยสมบูรณ์

          ส่วนอีกฝ่าย คือ รัฐบาลไทย ก็ยังยืนยันจุดยืนเดิมว่าจะคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิกบันทึกความเข้าใจการสำรวจ และการปักปันเขตแดนทางบกปี 2543 หรือ เอ็มโอยู แล้วไปยอมรับการแบ่งพื้นที่ตามแผนที่ที่กัมพูชาได้ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ได้ยืนยันอย่างหนักแน่นว่ารัฐบาลไทยจะยึดหลักสันปันน้ำในการแบ่งพื้นที่บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร และไม่ยอมรับการใช้พื้นที่ของกัมพูชาอย่างเด็ดขาด เพราะถือเป็นการรุกล้ำอธิปไตยของไทย ขณะเดียวกัน ก็ยังมีหลายหน่วยงานของไทยแสดงจุดยืนว่า รัฐบาลไม่ใช่เพียงคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเท่านั้น ต้องเรียกร้องยกเลิกบันทึกความเข้าใจการสำรวจและการปักปันเขตแดนทางบกปี 2543 แล้วขับไล่ทหารและชาวกัมพูชาออกจากพื้นที่ดังกล่าวให้หมด เพื่อรักษาผลประโยชน์และอธิปไตยของประเทศไว้

          จากข้อขัดแย้งดังกล่าว ทำให้ทั้งไทยและกัมพูชาต่างเตรียมแถลงจุดยืนที่หนักแน่น ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่ประเทศบราซิล ซึ่งการประชุมนี้ถูกเลื่อนจากวันที่ 28 กรกฎาคมเป็นคืนวันที่ 29 กรกฎาคมนี้ (ตามเวลาประเทศไทย) โดยในการประชุมลงมติกรณีพิพาทดังกล่าวจะใช้คะแนนเสียง 2 ใน 3 ของคณะกรรมการจาก 21 ชาติ ซึ่งทางผู้แทนไทยก็ได้หารือกันเกี่ยวกับท่าที แนวโน้มของคะแนนเสียงในที่ประชุม พร้อมทั้งได้มีการโน้มน้าวใจจากคณะกรรมการประเทศอื่นเพื่อสนับสนุนฝ่ายไทย

          ขณะที่การหยั่งเสียงล่าสุดยังพบว่า คณะกรรมการส่วนใหญ่ยังคงสนับสนุนฝ่ายกัมพูชาเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลไทยก็ได้เตรียมรับมือไว้แล้ว โดยอาจจะใช้วิธีวอล์คเอาท์จากที่ประชุมเพื่อแสดงจุดยืนว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของกัมพูชา และอาจจะถอนตัวออกจากภาคีมรดกโลกก็ได้ ซึ่งทางรัฐบาลไทยจะให้อำนาจแก่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผู้แทนไทยในการร่วมประชุมครั้งนี้ ในการตัดสินใจอย่างเต็มที่ เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของชาติ โดยในขณะนี้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ ก็ได้ยอมรับว่าหนักใจกับการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้อย่างมาก แต่ก็จะทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างดีที่สุด

          ขณะที่ฝ่ายกัมพูชา นายฮอร์ นัมฮง  รัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชา ก็ได้มีการออกมาโจมตีความเคลื่อนไหวของฝ่ายไทย ที่พยายามคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยนายฮอร์ได้ กล่าวว่า รัฐบาลกัมพูชาทราบดีว่าทางการไทยเตรียมประท้วง และจะไม่ยอมรับการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแน่นอน แต่ทางกัมพูชาไม่ได้รู้สึกหนักใจกับท่าทีของรัฐบาลไทยเลย เพราะคิดว่าความพยายามของฝ่ายไทยนั้นเป็นความพยายามของพวกคนตกยุค ที่มัวแต่จมอยู่กับอดีต และชอบขุดคุ้ยเรื่องราวในอดีตขึ้นมาเป็นประเด็นอยู่ไม่จบไม่สิ้น ซึ่งมันจะเป็นความพยายามที่สูญเปล่าอย่างแน่นอน เพราะไม่ว่าทางไทยจะพยายามมากแค่ไหน ก็ไม่มีทางจะเปลี่ยนแปลงความจริงที่ว่าปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชาได้

          ด้านนายเจีย ดารา รองผู้บัญชาการกองทัพบกกัมพูชาในจังหวัดพระวิหารออกมาเปิดเผยว่า เขาได้แจ้งกับบรรดานักการทูตของนานาชาติในกรุงพนมเปญไปแล้ว เกี่ยวกับพฤติกรรมของ ทางการไทยที่พยายามใช้พระสงฆ์และชาวบ้าน เป็นเครื่องมือในการรุกล้ำพรมแดนของกัมพูชา บริเวณพื้นที่โดยรอบปราสาทเขาพระวิหารตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งคนไทยควรยุติพฤติกรรมดังกล่าวได้แล้ว แต่ถ้ายังไม่หยุดทางกัมพูชาก็จะต้อนรับคนไทยที่รุกล้ำดินแดนของกัมพูชาด้วยกระสุนปืน

          อย่างไรก็ดี นางไอรินา โบโกวา ผู้อำนวยการใหญ่แห่งยูเนสโก ได้เปิดเผยเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวว่า หัวใจสำคัญของภารกิจองค์กรยูเนสโก คือการคุ้มครองและส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติด้วยความสันติ ความเคารพ และปราศจากอคติ อยากให้มรดกโลกเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ การร่วมมือและปรองดองกัน


 สรุปการดำเนินการเกี่ยวกับเขาพระวิหารของไทยตั้งแต่ปี 2543 - 2553


         พ.ศ. 2543 - ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ดำรงตำแหน่ง รมต.ต่างประเทศ ในขณะนั้นได้ลงนามเอ็มโอยู สำรวจ – จัดทำหลักเขตแดนระหว่างไทย –กัมพูชา เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2543

         พ.ศ.2544 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร แถลงการณ์ร่วมกับ ฮุนเซน เตรียมพัฒนาปราสาทพระวิหาร และสุรเกียรติ เสถียรไทย ดำรงตำแหน่ง รมต.ต่างประเทศ ในขณะนั้น ได้ลงนามรับรองแถลงการณ์ดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2544 และเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2547 รัฐบาลทักษิณ จัดประชุมร่วมกับกัมพูชาเพื่อพัฒนาปราสาทพระวิหาร ที่กรุงเทพฯ โดยได้ข้อสรุปว่า ไทยและกัมพูชามีโครงการที่จะร่วมอนุรักษ์เขาพระวิหารร่วมกับองค์กรยูเนสโก

         พ.ศ.2549 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ร่วมเจรจาปักเขตแดน ระหว่าง ไทย-ลาว-กัมพูชา ที่บริเวณสามเหลี่ยมมรกต และไทยยินดีที่กัมพูชาขอจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก

         พ.ศ.2550 รมต.ต่างประเทศของกัมพูชาเดินทางมาไทยเพื่อหารือการขอจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ไม่ได้ขอยุติ เนื่องจากมีการทักท้วงจากสภากลาโหมว่า กัมพูชาสร้างหลักฐานหวังฮุบเขาพระวิหาร

         พ.ศ.2551 นายสมัคร สุนทรเวช ยืนยันไม่คัดค้ากัมพูชาขอจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก พร้อมยอมเลื่อนจุดหลักเขตแดนอีก 3-4 กิโลเมตร, ต่อมานายนพดล ปัทมะ รมต.ต่างประเทศ ได้นำแผนที่รอบปราสาทเขาพระวิหารฉบับใหม่ที่ทางกัมพูชาเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ แต่ก็ถูกกองกำลังบูรพาก็ออกมาแย้งว่า แผนที่ดังกล่าวทำให้ไทยเสี่ยงเสียดินแดน ขณะที่นายนพดลก็ยืนยันว่า ไม่เสียแน่นอนเพราะในแผนที่ระบุเป็นพื้นที่ของกัมพูชา

         18 มิ.ย. 2551 รัฐบาลสมัคร เห็นชอบแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาตามที่นายนพดลเสนอมา แต่ถูกศาลปกครองตัดสินว่า แถลงการณ์ดังกล่าวเป็นโมฆะ เนื่องจากต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน  เพราะมีผลต่อความมั่นคงและมีผลต่ออาณาเขตของประเทศ

         วันที่ 25 ส.ค. 2551 นายเตช บุนนาค เป็น รมต.ต่างประเทศ แทน นายนพดล ปัทมะ ที่ลาออกก่อนหน้านี้ ได้ทำหนังสือออกแถลงการณ์ว่า สนธิสัญญาร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาไม่มีผลต่อการลงนาม และให้สิ้นสุดข้อสัญญา ขณะที่ทางการกัมพูชาก็ตอบกลับมาว่า ไม่ยอมรับแถลงการณ์การสิ้นผลแผนดังกล่าว เพราะได้นำปราสาทเขาพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว

         พ.ศ.2553 รัฐบาลอภิสิทธิ์คัดค้านแผนบริหารของกัมพูชา พร้อมส่งนายสุวิทย์ คุณกิตติ เดินทางไปคัดค้านแผนบริหารการจัดการรอบปราสาทพระวิหาร
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!