TARADTHONG.COM

สมาชิก VIP => General Discussion => ข้อความที่เริ่มโดย: loveyou ที่ มิถุนายน 13, 2011, 04:01:37 PM



หัวข้อ: ว่าด้วยเรื่องของความคัน
เริ่มหัวข้อโดย: loveyou ที่ มิถุนายน 13, 2011, 04:01:37 PM
ว่าด้วยเรื่องของความคัน

(http://www.taradthong.com/picture_library/13_6_54_1.jpg)

หลายคนนึกว่าเรื่องคันตามเนื้อตัวร่างกายนั้นเป็นเรื่องเล็กๆ แต่วันนี้จะบอกท่านว่าเรื่องของการคันนี้ไม่ใช่เรื่องแสบๆ คันๆ เท่านั้น

เรารู้สึกคันตามผิวกายเกือบตลอดเวลา มากบ้างน้อยบ้างตามเรื่อง แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วอาการคันคืออาการเจ็บนั่นเอง เพราะความรู้สึกคันเกิดขึ้นจากปลายประสาทผิวหนังถูกกระตุ้นหรือเกิดความ ระคายเคือง ประสาทที่รับความรู้สึกคันก็คือประสาทที่รับความรู้สึกเจ็บ ถ้ามีสิ่งกระตุ้นให้เกิดความระคายเคื่องต่อปลายประสาท แต่รู้สึกเจ็บเพียงเล้กน้อยตามผิวหนัง ก็จะกลายเป็นความรู้สึกคัน เช่น มดหรือแมลงไต่ตามผิวหนัง เป็นต้น อาการคันจึงเท่ากับอาการเจ็บในปริมาณที่น้อยนั่นเอง

สาเหตุการเกิดอาการคัน มีดังนี้

1.การเปลี่ยนแปลงชั้นผิวหนัง คันจากการสัมผัส สารระคาย หรือสารภูมิแพ้ สารใยแก้ว หนามและขนของแมลง พืชบางชนิดก็ทำให้คันได้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม อากาศร้อน ลมแรง อากาศหนาว อากาศแห้งก็เป็นปัจจัยทำให้ผิวหนังแห้ง และเกิดอาการคันตามมา

2.คัน จากโรคผิวหนัง โรคผิวหนังส่วนใหญ่จะมีอาการคันร่วมด้วย แต่ความรุนแรงจะขึ้นกับสภาพจิตและความไวของแต่ละบุคคล ผื่นคันเฉพาะที่พบบ่อย คือ ผื่นแพ้สัมผัส ผื่นแพ้ผิวหนัง กลาก ผื่นคันทั่วตัว เช่น ลมพิษ โรคหิด และ ผื่นคันไม่ทราบสาเหตุเฉพาะที่ เช่น ผื่นบริเวณอวัยวะเพศ และรอบทวารหนัก

3.โรคแฝงในอวัยวะอื่นอาจพบรอย ผื่นเกาทั่วตัวไม่พบลักษณะจำเพาะเจาะจงของโรคผิวหนัง อาการคันเป็นอาการที่นำมาพบแพทย์ เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคตับ โรคไต โรคโลหิตและมะเร็งต่าง ๆ ภาวะหมดประจำเดือน และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

4.คันจากความผิดปกติของระบบปลายประสาท เช่น ปลายประสาทอักเสบจากโรคงูสวัด และเริมใน

5.สาเหตุอื่น ๆ อาการคันอาจเกิดจากสารสื่อในสมองปรวนแปร และอาจเกิดจากปัญหาทางจิตใจ

เมื่อเกิดอาการคันหรือการเจ็บน้อยแล้ว คนเราจึงต้องเกาเพื่อให้ส่วนที่คันนั้นเจ็บ เมื่อเปลี่ยนความรู้สึกเป็นเจ็บแล้ว คนก็พอใจที่หายคัน แม้จะต้องทนเจ็บแทน

ธรรมชาติของมนุษย์นี่ก็ประหลาดดีครับ ทนคันไม่ได้ แต่ว่าทนเจ็บได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : วิทยาศาสตร์รอบตัว(จาก สสวท.)