TARADTHONG.COM
เมษายน 20, 2024, 07:36:26 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฝันร้ายสัญญาณอันตรายพาร์คินสัน  (อ่าน 3722 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: ธันวาคม 25, 2010, 08:07:07 AM »

ฝันร้ายสัญญาณอันตรายพาร์คินสัน


เดลิเมล์ - นักวิจัยระบุฝันร้ายอาจเป็นสัญญาณแรกของโรคพาร์คินสัน โดยผู้ที่ละเมอตะโกน ร้องไห้ ปล่อยหมัดหรือเหวี่ยงแข้งมีแนวโน้มมากกว่าคนทั่วไปที่จะเป็นโรคนี้ภายใน 5 ปี
       
       ผู้เชี่ยวชาญพบว่าผู้ที่มีอาการนอนหลับแปรปรวนในช่วงหลับฝัน ซึ่งรวมถึงการฝันร้ายและการกระตุก มีแนวโน้มมากขึ้นที่จะเป็นโรคพาร์คินสันและโรคสมองเสื่อมรูปแบบอื่นๆ
       
       REM (Rapid eye movement) คือช่วงที่คนเรานอนหลับฝัน
       
       คนที่นอนหลับปกติมักนอนนิ่งๆ ในช่วงนี้เนื่องจากสมองหยุดการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเหมาะสม
       
       แต่ผู้ที่มีความผิดปกติในช่วงนอนหลับฝัน มักมีปฏิกิริยาในทางตรงกันข้าม คือฝันถึงเหตุการณ์ร้ายๆ และตอบโต้ด้วยความรุนแรง
       
       นักวิจัยในบาร์เซโลนา สเปน พบว่า 1 ใน 5 ของผู้ที่มีความผิดปกติที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มป่วยเป็นโรคพาร์คินสัน และโรคสมองเสื่อมแบบอื่นๆ ในภายหลัง
       
       การศึกษาที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารแลนเซ็ต นิวโรโลจี้ บ่งชี้ว่าความผิดปกติในการนอนหลับอาจเป็นหนึ่งในสัญญาณเบื้องต้นของโรคเกี่ยวกับสมอง ซึ่งอาจช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการต่างๆ ได้แต่เนิ่นๆ และให้การบำบัดรักษาอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นแก่ผู้ป่วย
       
       ทีมนักวิจัยจากแผนกประสาทวิทยาของฮอสปิตอล คลินิกในบาร์เซโลนา ที่นำโดยดร.อเล็กซ์ อแรนโว ศึกษาจากผู้ป่วย 43 คน อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการนอนหลับแปรปรวนในช่วงหลับฝัน
       
       นักวิจัยพบว่า 30% ของผู้ป่วยเหล่านี้มีความผิดปกติด้านประสาทวิทยาในช่วง 2 ปีครึ่งหลังถูกวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติในการนอนหลับ โดยส่วนใหญ่เป็นโรคพาร์คินสัน
       
       ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ไม่มีสารเคมี ‘โดพามีน’ เพียงพอ เนื่องจากเซลล์ประสาทบางส่วนในสมองตาย
       
       เมื่อไม่มีโดพามีน การเคลื่อนไหวของสมองจะช้าลง ผู้ป่วยจะเริ่มสับสนและสูญเสียความทรงจำ
       
       การศึกษาล่าสุดสนับสนุนงานวิจัยจากสหรัฐฯ ที่เผยแพร่ออกมาเมื่อต้นปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเตะหรือการตีอย่างแรงระหว่างหลับ อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคพาร์คินสัน
       
       นักวิจัยในมาโย คลินิก มินนิโซตา สำทับว่าสัญญาณดังกล่าวอาจบ่งชี้ถึงความเสี่ยงเพิ่มขึ้นก่อนที่จะมีการวินิจฉัยจริงถึง 50 ปี
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!