TARADTHONG.COM
เมษายน 20, 2024, 12:24:42 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฤกษ์งาม...ยามดี ในพิธีมงคล  (อ่าน 3935 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: ธันวาคม 28, 2010, 10:26:42 PM »

ฤกษ์งาม...ยามดี ในพิธีมงคล

ฤกษ์งาม...ยามดี ในพิธีมงคล (IDO)
Wedding Tradition เรื่องโดย Supatha

              วิวัฒนาการของคนผ่านกาลเวลา เกิดการบอกเล่า สังเกต จดจำ บันทึกเป็นสถิติ เปรียบเทียบเหตุการณ์นับร้อยนับพันปี จนเกิดเป็นศาสตร์เพื่อดูว่าฤดูกาลใดควรทำสิ่งใด วันใดเวลาใดทำการแล้วได้ผลดี วันใดทำแล้วเกิดผลเสีย รวมไปถึงการหาฤกษ์ยามว่าเวลาใดควรเริ่มกระทำการ อันจะนำไปสู่การดำเนินชีวิตเพื่อความเป็นศิริมงคล
             
              การหาฤกษ์งาม-ยามดี มีอิทธิพลในชีวิตประจำวันของคนไทยมาช้านาน ตามความเชื่อที่สืบทอดกันมา โดยเฉพาะเวลาประกอบพิธีต่าง ๆ เชื่อกันว่าฤกษ์ดีจะช่วยให้อยู่ดีกินดี และในทางสังคมวิทยา การหาวันเวลาที่เหมาะสมจะสามารถนัดหมายญาติมิตรให้มาพร้อมเพรียง เพื่อประกอบกิจการงานที่ต้องการความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจนั้นให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ้านสร้างเรือนหอ ขึ้นบ้านใหม่ รวมถึงวาระขั้นตอนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วย

              ในการหาฤกษ์แต่งงานแบบไทยและแบบจีนนั้น จะต้องดูทั้งวัน เดือน ปี ที่สมพงศ์กันระหว่างเจ้าบ่าวสาว ตามประเพณีไทยโบราณ มักจะให้แต่งงานในเดือนคู่ ได้แก่ เดือนยี่ เดือนสี่ เดือนหก เดือนแปด เดือนสิบสอง ถ้าจะแต่งเดือนคี่ จะแต่งได้ในเดือนเก้า ในการแต่งงานต้องมีดวงฤกษ์ประกอบกันหลายดวง ทั้งนี้เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของคู่บ่าวสาว และให้รักใคร่ปรองดองกันอยู่ร่วมกันจนแก่เฒ่า




              ฤกษ์สู่ขอ ถือเป็นฤกษ์ที่ตรงกับวันดี มากกว่าจะระบุเป็นช่วงเวลาที่แน่นอนในวันนี้ ถ้าหากฝ่ายหญิงต้องการปฏิเสธการสู่ขอของฝ่ายขาย ฝ่ายหญิงอาจนำเรื่องดวงชะตามาเป็นข้ออ้างว่าดวงไม่สมพงศ์กัน เพื่อเป็นการรักษาน้ำใจของฝ่ายชาย

              ฤกษ์ยกขันหมาก จะเป็นฤกษ์ที่อยู่ในช่วงเช้าไปจนถึงก่อนเที่ยง ในการยกขันหมาก ผู้เข้าร่วมขบวนจะมาตั้งแถวพร้อมกันก่อนเวลาฤกษ์เล็กน้อย ตามด้วยการร้องโห่จากต้นเสียงนำขบวนขันหมาก เมื่อถึงเวลาฤกษ์ยามที่กำหนด ให้ถือการเริ่มพิธีที่การเคลื่อนขบวนสู่บ้านเจ้าสาว หรือสถานที่ประกอบพิธี

              ฤกษ์หมั้น ฤกษ์สวมแหวนหมั้นจะเกิดขึ้นหลังจากพิธียกขันหมากมาเรียบร้อย เมื่อบ่าวสาวมานั่งประจำที่ตรงหน้าสักขีพยานอย่างพร้อมเพรียง ก็จะรอฤกษ์ยามตามที่กำหนด ฤกษ์นี้จะนับตั้งแต่การที่เจ้าบ่าวเริ่มสวมแหวนหมั้นบนนิ้วเจ้าสาว

              ฤกษ์สวมมงคล และฤกษ์หลั่งน้ำพระพุธมนต์ปราสาทพร เป็นฤกษ์ในพิธีไทยที่แก่นของฤกษ์จะอยู่ที่พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และประสาทพร หรือรดน้ำสังข์ ฤกษ์นี้ถือเป็นฤกษ์เดียวกันกับฤกษ์สวมมงคลแฝด ดังนั้นจะถือเอาเวลาฤกษ์ที่การสวมมงคลแฝดให้กับคู่บ่าวสาว

              ฤกษ์เรียงหมอน และฤกษ์ปูเตียง เป็นฤกษ์เดียวกันกับฤกษ์ส่งตัว จะมีทั้งในพิธีไทยและพิธีจีน การเริ่มพิธีตามฤกษ์ถือเอาเวลาที่สามีภรรยาที่เจ้าภาพเชิญมาทำพิธีปูที่นอน เริ่มให้พรแก่คู่บ่าวสาวขณะทำพิธีปูที่นอน เพื่อให้คู่บ่าวสาวได้ครองคู่ในบ้านเดียวกัน บนเตียงเดียวกัน ไปจนแก่เฒ่าเหมือนกันกับคู่ของตน

              ฤกษ์จดทะเบียน เพื่อความมั่นใจในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน บ่าวสาวบางคู่ที่จดทะเบียนสมรสคนละวันกับวันแต่งงาน อาจหาฤกษ์ยามในการจดทะเบียนสมรสด้วย ฤกษ์นี้จะนับตั้งแต่ช่วงเวลาที่บ่าวสาวจรดปากกาลงนาม หรือถ้าไม่สะดวกเพราะมีบ่าวสาวรอจดอีกหลายคู่ก่อนหน้า ก็ให้ถือการมาถึงที่ว่าการอำเภอสำนักงานเขต เป็นช่วงเวลาที่ฤกษ์ได้กำหนดเอาไว้ก็ได้

              ฤกษ์ตัดชุดเจ้าสาว เป็นฤกษ์สำหรับพิธีแต่งงานแบบจีน ฤกษ์ตัดชุดแต่งงานนี้สิ่งที่สำคัญคือ หากเป็นกรณีที่เจ้าสาวเช่าชุดจากเวดดิ้งสตูดิโอ โดยไม่ได้ตัดชุดแต่งงานใหม่ ก็สามารถใช้เศษผ้ามาลงกรรไกรตัดเพื่อทำการมงคลแทนได้

              ฤกษ์แต่งผมเจ้าสาว ตามตำราการหาฤกษ์ยามแบบจีน หมายถึงฤกษ์สระผม รวมไปถึงการหมังหมิ่ง หรือกำจัดขนบนใบหน้าด้วยเส้นด้าย แต่ในทางปฏิบัติเจ้าสาวอาจจะไม่สะดวกที่จะสระผมหรือหมั่งหมิ่งในช่วงเวลาตามฤกษ์ที่กำหนดได้ ก็สามารถเลือกปฏิบัติในกิจกรรมที่สื่อไปถึงการเสริมสวยพอเป็นพิธีก่อนก็ได้ เช่น หวีผม ผัดแป้ง ล้างหน้าเป็นต้น

              ฤกษ์รับเจ้าสาวเข้าบ้านเจ้าบ่าว เป็นฤกษ์เฉพาะพิธีจีน ถือเป็นฤกษ์ที่ฝ่ายชายเข้ามาถึงในบ้านฝ่ายหญิง เพื่อรับตัวเจ้าสาวออกไป ถือเป็นฤกษ์สำคัญหมายถึงการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของทั้งคู่

              ฤกษ์ส่งตัว และไหว้เทพยดาฟ้าดิน เป็นฤกษ์ในพิธีจีนเช่นกัน ซึ่งฤกษ์นี้จะไม่มีโดยตรงแต่จะถือเอาเวลาที่เจ้าบ่าวไปรับเจ้าสาวมาถึงบ้านมาประกอบพิธี หากเจ้าบ่าวและเจ้าสาวมีการล่วงเกินกันมาก่อน พิธีการไหว้เทวดาฟ้าดินจะให้พ่อแม่ของเจ้าบ่าวมาทำแทน แต่ถ้าบ่าวสาวไม่เคยมีการล่วงเกินกันมาก่อนเลย บ่าวสาวจะเป็นผู้ทำพิธีด้วยตัวเอง

              ส่วนใหญ่ผู้ที่มีความชำนาญในการดูฤกษ์ยาม จะใช้เวลาในการหาฤกษ์ดีอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ หรืออาจจะมากกว่านี้ ในกรณีที่คู่สมรสมีดวงชะตา ที่หาฤกษ์สมรสได้ยาก ในการหาฤกษ์คู่บ่าวสาว ต้องเตรียมข้อมูลให้กับผู้หาฤกษ์ยาม ดังนี้

              1. ชื่อและนามสกุลโดยละเอียดของคู่บ่าวสาว พร้อมวัน เดือน ปี เวลาเกิด และจังหวัดที่เกิด หากเป็นการดูฤกษ์ยามในศาสตร์ของจีน ผู้เชี่ยวชาญจะขอวันเดือนปีเกิดคุณพ่อคุณแม่ของทั้งสองฝ่ายร่วมด้วย เพื่อความแม่นยำในการหาฤกษ์ยาม

              2. ช่วงเวลาที่คู่บ่าวสาวต้องการจะแต่งงาน ว่าประมาณเดือนไหน ปีอะไร รวมทั้งสถานที่ใช้ในการจัดงาน

              3. หลังจากแต่งงานแล้วเจ้าบ่าวจะไปอยู่บ้านเจ้าสาว หรือเจ้าสาวไปอยู่บ้านเจ้าบ่าว หรือมีเรือนหอใหม่ และจากนั้นจะต้องไปร่วมทำกิจการอาชีพร่วมกันหรือไม่อย่างไร เพื่อที่จะได้หาฤกษ์ที่เหมาะกับการดำเนินธุรกิจไปในคราวเดียวกัน

              4. ในบางครั้งอาจจะต้องให้ข้อมูลในเรื่องของความต้องการในอนาคตด้วย ว่าแต่งแล้วต้องการมีบุตรกี่คน แบบไหน ชายหรือหญิง

              อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้ลงตัวในการเตรียมความพร้อม ควรเผื่อเวลาเตรียมงานแต่งงานอย่างน้อย 6 เดือน ดังนั้นเมื่อไปหาผู้เชี่ยวชาญในการดูฤกษ์ยามไม่ว่าจะเป็น พระ โหร หรือซินแส เพื่อปรึกษาเรื่องฤกษ์แต่งงาน ควรแจ้งเลยว่าขอให้มีเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ในการวางแผนเตรียมงานแต่งงานให้สวยครบถ้วนสมใจ และงบประมาณไม่บานปลาย เพราะเวลายิ่งน้อย การเลือกองค์ประกอบต่าง ๆ ของงานแต่ง จะทำได้ไม่รอบคอบเท่าที่ควร มีโอกาสตกหล่น แถมงบประมาณจะบานปลายย่อมมีมากขึ้น
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!