TARADTHONG.COM
เมษายน 19, 2024, 05:39:43 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไทยแจงศาล แฉเขมรต้องการดินแดน ขึ้นทะเบียนมรดกโลก  (อ่าน 4924 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
loveyou
Administrator
Full Member
*****

คะแนนความนิยม: 29
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 234



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: มิถุนายน 01, 2011, 12:24:56 PM »

ไทยแจงศาล แฉเขมรต้องการดินแดน ขึ้นทะเบียนมรดกโลก


ไทยแจงศาลโลก 5 ข้อ ยันกัมพูชายอมรับเส้นเขตแดนรอบพื้นที่ปราสาทพระวิหารมากว่า 40 ปีแล้วโดยไม่ได้ทักท้วงใด ๆ แฉต้องการดินแดนเพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลกสมบูรณ์ ทีมทนายแจงศาลโลกไม่มีอำนาจตีความคำพิพากษา-เขตแดน ชี้ขัดกับแนวปฏิบัติ "มาร์ค" งง "แม้ว" กล่าวหาไทยรุกรานกัมพูชา เหน็บเพราะเคยเป็นที่ปรึกษาฮุน เซน สั่ง "สุวิทย์" ตั้งคณะทำงานเกาะสถานการณ์

          เมื่อวันอังคาร นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการชี้แจงต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ กรณีที่กัมพูชายื่นต่อศาลโลกให้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวบริเวณปราสาทพระวิหารว่า นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ในฐานะผู้แทนไทย ได้ชี้แจงใน 5 ข้อ ประกอบด้วย

          1. ไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาติ ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกปี 2505 อย่างครบถ้วน

          2. คำพิพากษาของศาลโลกเป็นเรื่องของอธิปไตยเหนือตัวปราสาท ไม่ใช่เส้นเขตแดน โดยตลอดเวลาที่ผ่านมากัมพูชายอมรับเส้นขอบเขตของพื้นที่ใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร ตามมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2505 เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวแล้ว อีกทั้งยังนิ่งเฉย ไม่ได้ทักท้วงใด ๆ มามากกว่า 40 ปีแล้ว

          3. ไทยต้องการอยู่ร่วมกับกัมพูชาอย่างสันติ และพัฒนาความสัมพันธ์บนพื้นฐานของความร่วมมือและความไว้เนื้อเชื่อใจกัน จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะสร้างความขัดแย้งกับกัมพูชา

          4. ไทยไม่ได้เป็นฝ่ายเริ่มให้เกิดการปะทะ ไม่ว่าจะเป็นเดือน ก.พ. 2554 ที่ปราสาทพระวิหาร และเดือน เม.ย. - พ.ค. ที่ปราสาทตาเมือนและตาควายด้วย แต่ไทยจำเป็นต้องใช้สิทธิในการป้องกันตนเอง เพื่อปกป้องอธิปไตยและพลเรือนไทยที่ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของกัมพูชา

          5. กัมพูชาต้องการดินแดนที่จะใช้เป็นพื้นที่กันชนในการจัดการปราสาทพระวิหารเพื่อให้กระบวนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยสมบูรณ์

          ทั้งนี้ ศาสตราจารย์อลัง เปลเลต์ ที่ปรึกษาทนายความไทยจากประเทศฝรั่งเศส ได้ขึ้นชี้แจงต่อศาลว่า คำขอตีความและคำขอมาตรการชั่วคราวนั้นอยู่นอกเขตอำนาจของศาลโลก และคำพิพากษาเมื่อปี 2505 ให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่บริเวณรอบตัวปราสาทถือเป็นความผูกพันครั้งเดียว ซึ่งไทยได้ปฏิบัติตามแล้ว รวมทั้งไทยไม่ได้โต้แย้งอำนาจอธิปไตยเหนือตัวปราสาทพระวิหาร ไม่มีความเห็นต่างในเรื่องนี้

          "ศาลโลกจึงไม่มีอำนาจตีความและออกมาตรการชั่วคราว ตลอดจนการตีความเหตุผลของคำพิพากษาจะทำได้เมื่อจำเป็นต่อคำตัดสินเท่านั้น การพยายามเปลี่ยนคำพิพากษาเป็นกำหนดเส้นเขตแดนจึงไม่ถูกต้อง การตีความต้องไม่แก้ไขสิ่งที่ศาลพิพากษาแล้ว" ที่ปรึกษาทนายความไทยระบุ

          ขณะที่ศาสตราจารย์เจมส์ ครอว์ฟอร์ด ที่ปรึกษาทนายความไทยจากประเทศอังกฤษ ชี้แจงว่า ศาลโลกไม่มีเขตอำนาจออกมาตรการชั่วคราวคดีนี้ เพราะมิใช่เขตอำนาจที่จะพิจารณาว่าคู่ความปฏิบัติตามคำตัดสินแล้วหรือไม่ แต่เป็นอำนาจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นเอสซี และคำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหารย่อมเกี่ยวข้องกับตัวปราสาทเท่านั้น ซึ่งศาลได้เคยปฏิเสธเมื่อปี 2505 ว่าคดีพิพากษาเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารไม่ใช่เขตแดน

          ด้านศาสตราจารย์โดนัลด์ เอ็ม แมคเรย์ ที่ปรึกษาทนายความไทยจากประเทศแคนาดา นำเสนอข้อวิเคราะห์ถึงเหตุผลที่ศาลไม่ควรมีคำสั่งออกมาตรการชั่วคราว 3 ประการ ได้แก่ ไทยและกัมพูชาไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับคำพิพากษาในคดีเดิม ซึ่งมาตรการชั่วคราวไม่มีความสมดุล เพราะสั่งให้ไทยดำเนินการเพียงฝ่ายเดียว และคำขอของกัมพูชาไม่เข้าเงื่อนไขเรื่องความจำเป็นเร่งด่วน โดยหลักฐานที่กัมพูชานำมาอ้างเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอยู่นอกบริเวณที่ศาลโลกพิพากษาในปี 2505 รวมทั้งการขอให้ศาลมีมาตรการชั่วคราวเท่ากับให้ศาลตัดสินในเบื้องต้นเกี่ยวกับความถูกต้องของแผนที่ ซึ่งขัดกับแนวปฏิบัติของศาลโลกด้วย

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการชี้แจงในวันที่ 31 พ.ค. ศาลโลกจะให้เวลาประเทศละ 1 ชั่วโมง โดยฝ่ายกัมพูชาจะเริ่มชี้แจงก่อนในช่วงเช้า ตามด้วยฝ่ายไทยในช่วงบ่าย ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งจะตรงกับ 22.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย ซึ่งถือว่าจบการชี้แจงทั้ง 2 ฝ่าย

          ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ได้คุยกับนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการ รมว.การกระทรวงการต่างประเทศ ยืนยันว่าทุกอย่างเป็นไปตามแนวทาง ซึ่งเราได้เตรียมการสู้คดีไว้

          เมื่อถามว่า นายซก อัน รองนายกฯ กัมพูชา ให้สัมภาษณ์ว่าไทยพ่ายแพ้ในการร่วมประชุมมรดกโลก นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ถ้าเป็นจริงกัมพูชาดิ้นรนทำไมในเรื่องการไปแก้ร่างข้อมติ ก็ธรรมดา ต้องรักษาหน้าของเขา และไม่ว่าจะเดินไปทางไหน เราก็มีแนวทางรองรับไว้ทุกทาง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ

          ส่วนกรณีที่กัมพูชาเปลี่ยนเกมหันมาใช้มวลชนกดดันนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า คงเป็นความพยายามที่จะใช้ทุกรูปแบบ เพราะในหลายเวทีเขาพยายามทำแล้วไม่สำเร็จ ก็ต้องเพิ่มรูปแบบของการสร้างความสนใจ เพราะแนวทางเท่าที่ตนทราบในศาลโลกเองก็ว่าประเทศไทยรังแก เขา พยายามจะเรียกร้องความเห็นใจจากประเทศต่าง ๆ ในประชาคมโลก ซึ่งเราก็ชี้ให้เห็นว่ามันไม่เป็นความจริง

          "ผมไม่อยากจะเชื่อว่าแทนที่จะพยายามปกป้องสิ่งที่เป็นความถูกต้อง และจุดยืนของคนไทย กลับไปพูดให้ต่างประเทศเข้าใจประเทศผิดเสียอีก หรืออาจเคยเป็นอดีตที่ปรึกษานายกฯ กัมพูชาก็เลยต้องพูดอย่างนั้น" นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ว่าไทยไปรุกรานเพื่อนบ้าน และว่าความจริงปัญหาที่ตึงเครียดในยุคนี้ เพราะรัฐบาลก่อนหน้านี้ไปยอมกัมพูชาในเรื่องมรดกโลก ทำให้เราต้องมาแก้ไข

          มีรายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า ในการประชุม ครม. นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หัวหน้าคณะผู้แทนการเจรจามรดกโลกฝั่งไทย รายงานผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกให้ ครม.รับทราบว่า ประเด็นกัมพูชาไม่เห็นด้วยกับข้อมติที่ยกร่างจากยูเนสโกเรื่องการเลื่อนระเบียบวาระการประชุม ทำให้ขบวนการเจรจาหยุดชะงักไป ยูเนสโกให้ไทย-กัมพูชาไปหารือร่างข้อตกลงกันก่อน จากนั้นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มอบหมายให้นายสุวิทย์ตั้งคณะทำงานติดต่อประสานงานกับยูเนสโกเพื่อเกาะติดสถานการณ์ โดยเฉพาะการจูงใจยูเนสโกให้คล้อยตาม

          "ที่สำคัญ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีที่ยูเนสโกเข้าข้างเรา แต่กัมพูชาไม่เห็นด้วย จึงลากให้ไปประชุมต่อ ดังนั้นเราจึงต้องรักษาความสัมพันธ์ไว้ ไม่อยากให้ยูเนสโกเข้าใจผิดอีก ส่วนข้อตกลงร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา บางข้อเรารับไม่ได้ บางข้อกัมพูชารับไม่ได้ และคำบางคำในบางข้ออาจทำให้เกิดความได้เปรียบ-เสียเปรียบ เราควรละเอียดในการเลือกใช้คำพูด จึงอยากให้นายสุวิทย์ตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบการใช้คำพูดให้มีความเหมาะสม" แหล่งข่าวอ้างคำพูดนายอภิสิทธิ์

          ด้านนายสุวิทย์กล่าวว่า การจะเลื่อนการพิจารณาแผนพัฒนาพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการทั้ง 21 ประเทศ แต่มีหลายประเทศให้ความช่วยเหลือด้านงบประมาณต่อกัมพูชา ซึ่งตนคิดว่าเขาคงเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น และตนมั่นใจว่าสามารถทำความเข้าใจกับคณะกรรมการมรดกโลกได้



[31 พฤษภาคม] เขมรป้ายสีไทย บัวแก้วโต้แย้งศาลไร้อำนาจ
 

          "ฮอร์ นัมฮง" แจงศาลโลก ไทยต้องเคารพอธิปไตยกัมพูชา ถอนทหารออกจากปราสาทพระวิหาร ป้ายสีใช้อาวุธรุกรานเยี่ยงฆาตกร เป็นภัยคุกคามใหญ่หลวง "บัวแก้ว" เผยโต้แย้งศาลโลกไม่มีอำนาจพิจารณา ยันไทยปฏิบัติตามคำพิพากษาปี 2505 ครบถ้วน
 

          สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันจันทร์ กัมพูชาได้ขอให้ศาลโลก ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สั่งให้ไทยถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร โดยรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา นายฮอร์ นัมฮง ได้กล่าวว่า กัมพูชาจะขอให้ศาลโลกออกมาตรการชั่วคราวเพื่อปกป้องสันติภาพและหลีกเลี่ยงการปะทะในพื้นที่ไม่ให้บานปลายออกไป
 

          "ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องถอนทหารออกไปจากบริเวณปราสาท" เขาแถลงต่อผู้พิพากษา 16 คนของศาลโลก และยืนยันว่าไทยจะต้อง "เคารพอธิปไตยและดินแดนของกัมพูชา"
 

          รัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชาผู้นี้ ยังกล่าวกับศาลโลกด้วยว่า "การใช้อาวุธรุกรานเยี่ยงฆาตกร" ของทหารไทยในบริเวณปราสาทพระวิหาร ถือเป็น "ภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวง" ต่อสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ด้านคณะผู้แทนของประเทศไทยปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ ต่อสื่อมวลชน ก่อนที่จะเข้าไปในห้องพิจารณาคดี
 

          ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการ รมว.การต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากกรุงเฮก หลังจากที่กัมพูชาให้การต่อศาลโลกเสร็จสิ้น ว่าฝ่ายไทยได้ประชุมเตรียมการย้ำถึงแนวทางการโต้แย้งคำร้องขอที่กัมพูชาให้การต่อศาลทันที โดยมี 2 แนวทาง คือ 1.การโต้แย้งขอบเขตอำนาจศาล โดยเสนอว่าศาลไม่มีอำนาจพิจารณาในประเด็นนี้ นั่นคือศาลจึงไม่สามารถออกมาตรการใดๆ ได้ และ 2.ประเทศไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกในปี พ.ศ.2505 ครบถ้วนแล้ว จึงไม่มีข้อสงสัยเรื่องใด ๆ อีกที่ศาลโลกจะตีความหรือมีคำสั่งใดๆ เพิ่มเติม
 

          ทั้งนี้ ฝ่ายไทยจะให้ข้อมูลทางวาจาต่อศาลโลกในเวลา 14.00-16.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น โดยนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก จะเป็นผู้แทนไทย และที่ปรึกษาชาวต่างชาติของไทย 3 คน ได้แก่ ชาวฝรั่งเศส, แคนาดา และออสเตรเลีย จะให้การต่อศาลตามลำดับ
 

          นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนเจรจามรดกโลกฝ่ายไทย กล่าวว่า เนื่องจากไทยไม่รับอำนาจของศาลโลกอยู่แล้ว ดังนั้น การดำเนินการโดยกัมพูชาที่ขอให้ศาลโลกตีความใหม่ เพื่อให้เกิดความคุ้มครองชั่วคราวตามข้อเสนอทั้ง 3 ข้อ โดยอ้างว่าอยู่ในพื้นที่ของกัมพูชานั้น โดยกระบวนการของศาลโลกที่ต้องตีความให้คุ้มครองชั่วคราวก็ไม่น่าจะมี เพราะถ้ามีก็จะเท่ากับว่าศาลโลกมีคำพิพากษาออกมาเป็นคำสั่ง ซึ่งไทยก็ไม่อาจยอมรับได้ เพราะถือว่าไทยไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลโลก
 

          "หากศาลโลกมีความเห็นใดออกมานั้น มันก็อาจจะมีหรือไม่มีผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณาแผนบริหารจัดการพื้นที่พระวิหารของคณะกรรมการมรดกโลก ที่เตรียมประชุมในวันที่ 19-29 มิ.ย.นี้เช่นกัน"
 

          นายสุวิทย์กล่าวว่า ส่วนผลการประชุมที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 25-26 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งทางองค์การยูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลก มีข้อเสนอให้ร่างข้อมติเลื่อนพิจารณาแผนบริหารพื้นที่ปราสาทพระวิหารออกไป แต่กัมพูชายังไม่ยอมรับนั้น ยอมรับว่าถ้าการประชุมทวิภาคีระหว่างไทยกับกัมพูชา ก่อนประชุมเวทีมรดกโลกในเดือนมิ.ย.นี้ไม่สำเร็จ เพราะกัมพูชาไม่รับข้อเสนอดังกล่าวนั้น วาระการพิจารณาแผนบริหารพื้นที่ปราสาทพระวิหารที่บรรจุไว้แล้วก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของที่ประชุม ซึ่งขึ้นกับคณะกรรมการทั้ง 21 ชาติว่าจะมีความเห็นอย่างไร โดยวิธีการตรงนี้ก็อาจจะใช้รูปแบบการให้คะแนนแบบเปิดเผยและแบบลับ
 

          นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แนวทางที่ผู้อำนวยการยูเนสโกชี้ไว้ จะมีน้ำหนักต่อการตัดสินใจของคณะกรรมการมรดกโลก แต่ทั้งหมดทั้งมวลอำนาจอยู่ที่คณะกรรมการมรดกโลก ดังนั้น ฝ่ายไทยจึงต้องเดินสายทำความเข้าใจกันต่อไป แต่ตนคิดว่าถ้าฝ่ายสำนักงานคณะกรรมการมรดกโลกมีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม คล้ายกับร่างข้อมติที่จะเป็นไปในทางที่ให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารฯ ก็เป็นแนวโน้มที่ดี

[30 พฤษภาคม] ชาวกัมพูชารวมตัวประท้วงไทย ที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์


 

 


          ชาวกัมพูชารวมตัวประท้วงไทยหน้าศาลโลกที่กรุงเฮก ขณะที่ไทยเตรียมเข้าชี้แจงศาลโลกปมเขาพระวิหารคืนนี้ (30 พฤษภาคม)

          เว็บไซต์ ฟิฟทีนมูฟ รายงานข่าวจาก สำนักข่าวซีอีเอ็น ว่า ชาวเขมรต่างแดน ออกเอกสารชักชวนกันผ่านทางอินเทอร์เน็ต เรียกร้องให้เขมรต่างแดนในทุกประเทศ ไปรวมตัวกันประท้วงไทย ที่หน้าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อกล่าวโทษไทยที่ได้รุกรานแผ่นดินกัมพูชา พร้อมทั้งยิงปืนใหญ่กว่า 400 ลูก เข้าใส่ปราสาทพระวิหาร ทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก

          โดยเอกสารเรียกร้องกล่าวต่อไปว่า ไทยได้ก่อการรุกรานแผ่นดินกัมพูชา โดยเฉพาะที่ ปราสาทตาควาย ปราสาทตาเมือน ใน จ.อุดรมีชัย วันที่ 22 เม.ย.-3 พ.ค. โดยไทยได้ยิงปืนใหญ่จำนวนมากมาบนแผ่นดินกัมพูชา และประชาชนชาวเขมรในพื้นที่นั้น ซึ่งยืนยันให้เห็นว่า พวกสยามมีความปรารถนาต้องการกลืนกินแผ่นดินของเขมร และรังแกราษฎรชาวเขมรผู้บริสุทธิ์อีกด้วย และเอกสารเรียกร้อง ระบุว่า นี่เป็นมูลเหตุที่ชาวเขมรทำการประท้วงหน้าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ กรุงเฮก ในวันที่ 28 - 30 พ.ค. เป็นเวลาที่ชาวเขมรที่อยู่ทั่วโลกมารวมตัวกันประท้วงต่อต้านศัตรูผู้รุกราน คือ สยาม

          เอกสารดังกล่าว เรียกร้องว่า

          1. เรียกร้องให้พวกสยามยุติการรุกรานแผ่นดินกัมพูชาในทันที

          2. เรียกร้องให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก กล่าวโทษประเทศไทย ที่ได้ละเมิดบูรณภาพดินแดนกัมพูชาและก่อสงครามรุกรานกัมพูชา และทำความเสียหายให้กับปราสาทพระวิหารของเขมร

          3. ยินดีและเร่งให้รัฐบาลกัมพูชา แก้ปัญหาพรมแดนโดยเข้าร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ

          ทั้งนี้ หลังจากการประกาศข้อเรียกร้องที่กำหนดให้มีขึ้น ในวันที่ 28 พ.ค. เวลา 12.30 - 12.50 น. ชาวเขมรต่างแดนระบุว่า จะเคลื่อนขบวนไปหน้าสถานทูตไทยประจำกรุงเฮก เพื่อเรียกร้องให้ยุติสงครามรุกรานกัมพูชาในทันทีก่อนสลายตัว

          ขณะที่ นายกอย เกือง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวว่า ชาวเขมรนอกประเทศ ที่รวมตัวกัน ณ กรุงเฮก เพื่อทำการประท้วงกล่าวโทษสยามที่รุกรานดินแดนกัมพูชานั้น ควรไปรวมตัวกันทำการประท้วงที่หน้าสถานทูตไทยประจำกรุงเฮก เพื่อแสดงให้เห็นอย่างเป็นทางการถึงความเจ็บปวดของชาวเขมร ต่อการรุกรานของสยามบนดินแดนกัมพูชา และกล่าวต่อว่า ชาวเขมร ควรเปิดโอกาสให้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก มีบรรยากาศที่สงบในการพิจารณาคดี

          นอกจากนี้ นายกอย เกือง กล่าวต่อว่า การที่ชาวเขมรจากประเทศต่าง ๆ มารวมตัวที่ กรุงเฮก เป็นการแสดงจากจิตใจรักดินแดนรักปราสาท เป็นมรดกของชาติและโลก โดยเฉพาะการร่วมกันป้องกันดินแดนไม่ให้สูญหาย และเรียกร้องให้สยามยุติการรุกรานกัมพูชา
          เว็บไซต์ ฟิฟทีนมูฟ รายงานข่าวจาก สำนักข่าวซีอีเอ็น ว่า และเอกสารเรียกร้อง ระบุว่า นี่เป็นมูลเหตุที่ชาวเขมรทำการประท้วงหน้าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ กรุงเฮก ในวันที่ 28 - 30 พ.ค. เป็นเวลาที่ชาวเขมรที่อยู่ทั่วโลกมารวมตัวกันประท้วงต่อต้านศัตรูผู้รุกราน คือ สยาม          เอกสารดังกล่าว เรียกร้องว่า              ทั้งนี้ หลังจากการประกาศข้อเรียกร้องที่กำหนดให้มีขึ้น ในวันที่ 28 พ.ค. เวลา 12.30 - 12.50 น. ชาวเขมรต่างแดนระบุว่า          ขณะที่ นายกอย เกือง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวว่า           นอกจากนี้ นายกอย เกือง กล่าวต่อว่า

          และสถานการณ์ล่าสุด เช้าวันนี้ สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น ได้รายงานว่า มีชาวกัมพูชาจำนวนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยในยุโรป ได้เดินทางมายังหน้าศาลโลกที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อกดดันศาล ในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับเหตุการณ์ปะทะ ระหว่างกัมพูชาและไทยแล้ว โดยส่วนใหญ่ ได้กล่าวโจมตีว่า ประเทศไทยเป็นฝ่ายรุกล้ำดินแดนกัมพูชา

          ขณะที่สื่อต่างชาติรายงานว่า ทางประเทศไทยเตรียมชี้แจงวาจาต่อศาลโลก เวลา 21.00 น.วันนี้ หลังกัมพูชาได้ร้องต่อศาลโลกให้มีมาตรการคุ้มครองชั่วคราว รวมทั้งตีความคำพิพากษาของศาลโลก ต่อกรณีเขาพระวิหาร

          สำหรับลำดับการในชี้แจงนั้น ทีมต่อสู้คดีของไทย จะให้นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าทีมต่อสู้คดี เข้าชี้แจงเป็นคนแรก จากนั้นจะเป็นทีมทนายของไทย 4 คน และจะใช้เวลาในการชี้แจงคนละ 30 นาที

          ในส่วนของแนวทางในการชี้แจงนั้น จะกล่าวถึงอำนาจของศาลโลก ในการพิจารณาคดี เพราะศาลโลกไม่มีอำนาจในการพิจารณาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเขตแดน และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้การคุ้มครอง ตามที่กัมพูชาร้องขอ เนื่องจากไทยไม่เคยรุกล้ำเข้าไปในตัวปราสาท หลังจากเมื่อปี พ.ศ.2505 ศาลโลกได้เคยพิพากษาให้ตัวปราสาทเป็นเขตแดนของกัมพูชา ซึ่งกรณีนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่พิพาท ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการปักปันเขตแดน ระหว่างทั้งสองประเทศ

          และหลังจากทั้งสองประเทศได้ชี้แจงแล้ว หลังจากนั้น ศาลโลกจะมีคำวินิจฉัยว่า จะทำการคุ้มครองตามที่กัมพูชาร้องขอหรือไม่ ส่วนการพิจารณารับคำร้องตีความคำพิพากษาศาลโลกนั้น ให้คู่ความทั้งสองประเทศยื่นเอกสารชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร ภายในเดือนกันยายนนี้






[29 พฤษภาคม] ปัญหาไทย-เขมร ยังไม่ยุติ! ชงถกใหม่ปีหน้า

          ปัญหาไทย-กัมพูชา ยังไม่ยุติ! เขมรซัดไทยโกหก ลั่นไม่เห็นด้วย เลือนถกแผนจัดการ เขาพระวิหาร ยูเนสโกชงถกใหม่ปีหน้า

           นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวภายหลังการเดินทางกลับจากการประชุมเจรจาปัญหามรดกโลก ระหว่างคณะผู้แทนไทยและกัมพูชา ที่ประเทศฝรั่งเศส โดยยอมรับว่า การประชุมทั้ง 3 วันที่ผ่านมา ยังไม่มีข้อยุติตามที่ไทยต้องการให้เลื่อนการพิจารณาจัดการแผนปราสาทเขาพระวิหาร ครั้งที่ 35 ที่ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 19 - 29 มิ.ย.นี้ แม้กระบวนการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่าย ที่ผ่านมา มีความพยายามกันอย่างมาก และทางผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโกเอง ก็อยากให้ยุติปัญหา และได้เสนอร่างข้อมติให้เลื่อนการพิจารณาเรื่องนี้ออกไป จนกว่าจะถึงการประชุมครั้งที่ 36 ในปีหน้า ซึ่งไทยขอรับเป็นเจ้าภาพจัดประชุม รวมทั้งกัมพูชาก็เสนอตัวเป็นเจ้าภาพ รวมทั้งรัสเซียด้วย

           นายสุวิทย์ กล่าวต่อว่า ขั้นตอนจากนี้จะต้องมีการประชุมเจรจากันอีกครั้ง ก่อนที่การประชุมครั้งที่ 35 จะเกิดขึ้น รวมถึงการพิจารณาเรื่องการปักปันเขตแดน เพื่อให้ปัญหาชายแดนมีข้อยุติ นอกจากนี้กัมพูชาเอง ก็ยังมี 2 - 3 ประเด็น ที่ต้องการให้แก้ไข ทำให้กระบวนการในการพิจารณายังไม่จบสิ้น

           ตรงกันข้ามกับ นายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ออกมาระบุว่า ยูเนสโก ไม่ได้เห็นด้วยกับการที่ไทยขอให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารออกไป จากวาระการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 ตามที่ทางการไทยกล่าวอ้างแต่อย่างใด ดังนั้น ข้อเรียกร้องของไทยจึงไม่เป็นผล เนื่องจากกัมพูชาไม่เห็นด้วย และสิ่งที่ไทยบอกว่ายูเนสโกเห็นด้วยนั้นก็ไม่ใช่เรื่องจริงแต่อย่างใด


[29 พฤษภาคม] กัมพูชา โต้ข่าว เลื่อนแผนจัดการเขาพระวิหาร

         กัมพูชา บอก ยูเนสโก ยังไม่มีการออกหนังสือใด ๆ เพื่อรองรับให้เลื่อนการพิจารณาแผนจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารออกไปและ ไม่ได้เห็นชอบกับข้อเสนอของไทย

         เว็บไซต์ ฟิฟทีมมูฟ เผยแพร่ข้อมูล ตามการรายงานของ เกาะสันติภาพ ช่วงเย็นวานนี้ (27) นายปาย ซีฟาน (Phay Siphan) โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา แถลงปฏิเสธการให้สัมภาษณ์ที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระบุว่า ผู้อำนวยการยูเนสโก เห็นด้วยกับไทย ที่จะให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารออกไป ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก เดือนมิถุนายน ที่จะถึง โดยยืนยันว่า นางอิรินา โบโกวา ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ไม่ได้เห็นชอบตามข้อเสนอของไทย และการประชุมที่ องค์การยูเนสโก ในกรุงปารีส เป็นเวลา 2 วัน ระหว่างวันที่ 26-27 พฤษภาคม นั้น ไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด

         นายปาย ซีฟาน กล่าวว่า การประชุมที่ องค์การยูเนสโก ระหว่างกัมพูชา-ไทย และองค์การยูเนสโก เรื่องแผนพัฒนาปราสาทพระวิหารนั้น ไม่ได้มีการประกาศข่าวอะไร และไม่มีการออกหนังสือแถลงการณ์อะไรทั้งสิ้น ตรงข้าม ผู้อำนวยการยูเนสโก แสดงความเสียใจและไม่สบายใจต่อท่าทีก้าวร้าวอย่างแข็งกร้าวของไทยอีกด้วย ส่วนที่กล่าวอ้างว่าองค์การยูเนสโก เห็นชอบตามข้อเสนอของไทยนั้น เป็นการแต่งขึ้นทั้งสิ้น

         นอกจากนี้ โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เน้นย้ำว่า การประชุมสิ้นสุดลง เมื่อเวลา 17.00 น. ของวันที่ 27 พ.ค. โดยไม่ได้ผลสรุปแต่อย่างใด ถ้าหากว่ามีเหตุผลอะไรที่เป็นประเด็นสำคัญอีก องค์การยูเนสโก คงออกเอกสารข่าว หรือ แถลงการณ์เป็นหลักฐานแล้ว

         ตามรายงานในสื่อไทยก่อนหน้า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวโดยกล่าวว่า ทราบเบื้องต้น แนวโน้มเป็นไปในทางที่ดี น่าจะมีความเป็นไปได้ว่า มีการตกลงในการที่จะเลื่อนการพิจารณาเรื่องดังกล่าวออกไป ส่วนรายละเอียด จะให้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ ได้รายงานอีกที เพราะเพิ่งประชุมเสร็จเมื่อคืนนี้ ซึ่งเบื้องต้น นายสุวิทย์ คุณกิตติ ผู้นำคณะจากประเทศไทย ได้ส่งข้อความว่า เป็นไปในทางที่ดี มีข่าวดี

         ทั้งนี้ ตามรายงานข่าว ที่ถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ ยูเนสโก ระบุ นางอิรินา โบโกวา ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ซึ่งได้อำนวยความสะดวกตลอดระยะเวลา 3 วันของการหารือทวิภาคี ระหว่างคณะผู้แทนจากประเทศกัมพูชา นำโดย นางซก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาและฝ่ายไทย นำโดย นายสุวิทธิ์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อหารือในประเด็นเกี่ยวกับ การอนุรักษ์ปราสาทพระวิหารที่เป็นมรดกโลกก่อนการประชุมสมัยสามัญของคณะ กรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 35 ที่ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 19-29 มิถุนายนนี้

         โดยบรรยากาศการประชุม เริ่มด้วยการเจรจาและความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อพยายามส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจร่วมกันของปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อปราสาทพระวิหาร และเพื่อให้บรรลุข้อตกลงในการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ หลังเกิดความเสียหายขึ้นและถึงแม้ว่า ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก จะแสดงความพึงพอใจที่ทั้ง 2 ฝ่าย มีการตอบรับในคำเชิญ เพื่อการอนุรักษ์ดังกล่าว และยืนยันว่า จะช่วยกันป้องกัน และรักษาปราสาท จากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต แต่ก็รู้สึกผิดหวังต่อความจริงที่ว่า ไม่มีข้อตกลงที่เป็นรูปธรรมใด ๆ เกิดขึ้น ระหว่างคู่ภาคีในขั้นตอนของความก้าวหน้า เพื่อการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่กำลังจะมาถึง

         โดยรายงานตอนสุดท้าย อ้างคำกล่าวของ นางโบโกวา ที่กล่าวว่า ตนพยายามดึงดูดให้ 2 ประเทศ ติดตามความพยายามเพื่อการบรรลุข้อตกลงร่วมกัน ก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกจะเริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน ในจิตวิญญาณของความร่วมมือ และการเจรจาที่สร้างสรรค์
บันทึกการเข้า

รักนะ...จุ๊บ จุ๊บ
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!