TARADTHONG.COM
เมษายน 19, 2024, 11:45:24 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญหาหนี้สาธารณะกลุ่ม PIIGS อาจจะนำไปสู่วิกฤติการเงินครั้งใหม่  (อ่าน 4949 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
naroter
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 02:33:16 PM »

ปัญหาหนี้สาธารณะกลุ่ม PIIGS อาจจะนำไปสู่วิกฤติการเงินครั้งใหม่
วันพุธที่ 09 มิถุนายน 2010 เวลา 09:56 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ คอลัมนิสต์ผู้ทรงคุณวุฒิ - บันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี

ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้อ่านคงจะได้ทราบข่าวเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศกลุ่ม PIIGS (โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซ และสเปน) กันบ้างแล้ว ทว่าสถานการณ์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว และมีโอกาสสูงมากที่จะนำไปสู่วิกฤติการเงินครั้งใหญ่อีกครั้ง แม้ว่ารัฐบาลของประเทศเหล่านั้น รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารกลางแห่งยุโรป (ECB) จะได้มีมาตรการต่างๆ เพื่อบรรเทาปัญหาแล้วก็ตาม


เนื่องจากผมเขียนเรื่องนี้มาหลายครั้ง จึงขอสรุปที่มาของปัญหาอย่างสั้นๆ  นั่นคือ การขาดวินัยทางการคลังอย่างต่อเนื่องของประเทศกลุ่ม PIIGS ทำให้หนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูง ประกอบกับวิกฤติการเงินที่ผ่านมาในสหรัฐฯ ทำให้หนี้สาธารณะพุ่งขึ้นไปอีกจนถึงระดับที่รัฐบาลอาจจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ และเนื่องจากประเทศเหล่านี้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดพร้อมกันไปด้วย อีกทั้งหนี้ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการกู้เงินต่างประเทศ เมื่อขาดความมั่นใจจากนักลงทุนและตลาดการเงิน ทำให้ภาครัฐไม่สามารถต่อวงเงินกู้ได้ และอาจจะส่งผลให้ต้องขอพักชำระหนี้ต่างประเทศ ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์ดังนี้จริงก็จะนำไปสู่ปัญหาต่อเนื่อง คือเกิดภาวะหนี้เสียของสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้รัฐบาล และวิกฤติการเงินอีกครั้งในที่สุดโอกาสที่จะเกิดวิกฤติการเงิน มาจากการที่รัฐบาลและสถาบันการเงินของประเทศ PIIGS กู้เงินจากประเทศในสหภาพยุโรปมากถึง 3.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (เป็นการกู้จากอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนีถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และเป็นหนี้ของธนาคารพาณิชย์ต่างๆสูงถึง 2.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ การที่ธนาคารในยุโรปมีส่วนของทุนต่ำหรือภาระหนี้สูง ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ปัญหาขยายตัวจนกลายเป็นวิกฤติ การศึกษาขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) พบว่าธนาคารขนาดใหญ่ของยุโรปมีอัตราส่วนภาระหนี้สิน (Leverage Ratio) อยู่ระหว่าง 21 - 49 เท่า ซึ่งสูงกว่าธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ที่มีอัตราส่วนนี้อยู่ระหว่าง 12 - 17 เท่า ดังนั้น ถ้ามีการผิดนัดชำระหนี้และมีการเจรจาขอลดหนี้ของประเทศใดๆเกิดขึ้น ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ปัญหาหนี้สาธารณะจะนำไปสู่ปัญหาหนี้เสียของสถาบันการเงิน จนกระทั่งอาจจะทำให้มีการล้มละลายของธนาคารพาณิชย์ในยุโรปหลายแห่ง ซึ่งโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นี้มากน้อยเพียงใด ขึ้นกับว่ากลุ่ม PIIGS จะสามารถชำระหนี้หรือไม่ โดยประเทศที่มีโอกาสที่จะไม่สามารถชำระหนี้ได้มากที่สุดคือ กรีซ


 ปัจจุบัน กรีซมีหนี้สาธารณะประมาณร้อยละ 113 ของขนาดเศรษฐกิจ (GDP) และ IMF คาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 121 ในปี 2557 ทว่าวารสาร The Economist คาดว่าจะเพิ่มไปสูงถึงร้อยละ 150 แม้ว่ากรีซจะพยายามใช้มาตรการลดการขาดดุลการคลัง เช่น เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 21 เป็นร้อยละ 23, เพิ่มภาษีสรรพสามิตของน้ำมันและอื่น ๆ อีกร้อยละ 10, ลดเงินเดือนและโบนัสของข้าราชการ, ลดข้อจำกัดในการปลดคนงานของเอกชน และเปิดเสรีหลายสาขาธุรกิจ ทว่ามาตรการดังกล่าวก็ส่งผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะ 2 มาตรการหลังส่งผลให้มีการประท้วงต่อต้านอย่างรุนแรงทั่วประเทศ นอกจากนี้รัฐบาลกรีซยังไม่มีทางเลือกที่จะใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนด้วยการลดค่าเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือใช้นโยบายการเงินสร้างเงินเฟ้อเพื่อลดมูลค่าหนี้รัฐที่แท้จริง เพราะผูกติดกับการใช้เงินยูโรและต้องใช้นโยบายการเงินเดียวกับกลุ่มประเทศยูโร (EURO Zone)    รัฐบาลกรีซจึงมีทางเลือกในการแก้ไขปัญหาแค่ 2 แนวทาง คือ การปรับลดหนี้สาธารณะ หรือ ประกาศพักชำระหนี้และขอเจรจาลดหนี้ ซึ่งผมคิดว่าทางเลือกที่ 2 จะเจ็บปวดน้อยกว่าแนวทางแรก เพราะถ้าใช้แนวทางแรก รัฐบาลจะต้องตัดการใช้จ่ายและเพิ่มภาษีอย่างมาก ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจหดตัวติดต่อกันหลายปี โดยล่าสุดOECD ประเมินว่า เศรษฐกิจกรีซจะหดตัวต่อจากปีที่แล้ว โดยจะหดตัวประมาณร้อยละ 4.5 ในปีนี้ และอีกประมาณร้อยละ 3 ในปี 2554 อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าจะหดตัวต่อไปอีก และถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจะพ้นจากการถดถอยแต่ก็มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวต่อไปอีกหลังจากนั้น ส่วนการแก้ไขปัญหาในทางเลือกที่ 2 ด้วยการประกาศพักชำระหนี้นั้น ผมคาดว่าอาจจะทำให้เศรษฐกิจกรีซหดตัว 1-2 ปี แต่มีโอกาสที่จะฟื้นตัวหลังจากนั้น เพราะภาระหนี้สาธารณะจะลดลง ซึ่งเป็นกรณีคล้ายกับที่เคยเกิดกับอาร์เจนตินาในปี 2545 ที่มีปัญหาหนี้สาธารณะสูงจนต้องประกาศพักชำระหนี้และขอลดหนี้ ทว่าอาร์เจนตินาก็สามารถฟื้นตัวได้ในเวลาไม่นานนักหลังจากนั้น ผมจึงคิดว่า การพักชำระหนี้เป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับกรีซ


แม้ว่าสหภาพยุโรปและ IMF จะมีมาตรการช่วยเหลือออกมาหลายครั้ง โดยล่าสุดรัฐบาลของหลายประเทศในสหภาพยุโรป รวมทั้ง IMF ประกาศว่าจะให้เงินกู้แก่ประเทศที่มีปัญหามูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ ECB ก็ประกาศว่าจะเข้าซื้อตราสารหนี้ของรัฐบาลของประเทศที่มีปัญหา แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ตลาดการเงินและนักลงทุนได้ ในทางตรงกันข้าม เริ่มมีสัญญาณของการขาดความเชื่อมั่นต่อฐานะการเงินของธนาคารของยุโรป ซึ่งดูได้จากอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานคือ LIBOR 3 เดือนที่กู้โดยธนาคารยุโรปพุ่งขึ้นจากร้อยละ 0.3 เป็นกว่าร้อยละ 0.5 และนักวิเคราะห์ประเมินว่าอาจจะสูงถึงร้อยละ 1.5 ในอีกไม่นาน นอกจากนี้ การขาดความเชื่อมั่นได้ขยายไปถึงธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารด้วยตัวอย่างได้แก่ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัท Allegiant Travel Co. ของยุโรป ได้ออกหุ้นกู้มูลค่า 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ต้องยกเลิกเพราะขายไม่ได้ ขณะเดียวกันนักลงทุนและสถาบันการเงินต่างก็นำเงินของตนไปฝากกับ ECB เพราะไม่มั่นใจที่จะปล่อยสินเชื่อในภาวะที่มีความเสี่ยงสูง ทำให้ระดับเงินฝากของ ECB ขยายตัวสูงถึง 305,000 ล้านยูโร ณ วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุด (รองจากช่วงสูงสุดของวิกฤติการเงินปี 2551/52) และท้ายสุด ดัชนีราคาหุ้นของธนาคารพาณิชย์ของยุโรปก็ร่วงลงอย่างหนัก เหตุการณ์ทั้งหมดบ่งชี้ว่าระบบการเงินยุโรปกำลังเข้าสู่ภาวะสินเชื่อตึงตัว (Credit Crunch)


จากทั้งหมดที่ผมกล่าวมา ผู้อ่านคงพอจะเห็นภาพว่า มีแนวโน้มที่จะเกิดสถานการณ์สินเชื่อตึงตัวขึ้นอีกในยุโรป และมีโอกาสมากที่ปัญหาจะขยายตัวจนนำไปสู่วิกฤติการเงินอีกครั้งหนึ่ง ล่าสุด กูรูด้านตลาดโภคภัณฑ์ของโลกคือ จิม โรเจอร์ ได้ให้สัมภาษณ์วารสาร The Economic Time ว่า โลกจะเผชิญวิกฤติการเงินในปี 2554 และยังไม่เห็นจุดสิ้นสุดในอีก 1-2 ปีข้างหน้า สำหรับผม ด่านทดสอบแรกที่สำคัญคือ กรีซจะประกาศพักชำระหนี้หรือไม่ และถ้าประกาศจริง ปฏิกิริยาจากตลาดการเงินโลกจะบอกเราได้ว่า จะเกิดวิกฤติการเงินและการถดถอยของเศรษฐกิจโลกอีกครั้งหรือไม่ ซึ่งผมให้ความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นมากกว่า 50 %

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,538   10-12  มิถุนายน พ.ศ. 2553

http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=32715:-piigs-&catid=189:2009-09-02-02-47-37&Itemid=542
 
 ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 08:58:10 น.  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


ธ.กลางยุโรปคงดอกเบี้ย1% ติดต่อกันเป็นเดือนที่10

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 1% ไว้ต่อไปเป็นเดือนที่ 10 ตามที่นักวิเคราะห์คาด การณ์ไว้ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 แล้ว โดยประธานอีซีบีแถลงว่า เศรษฐกิจของประเทศกลุ่มยูโรโซนเริ่มขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อ แต่อาจมีการปรับขึ้นของราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ จึงยังคงดอกเบี้ยไว้ที่1%ต่อไป


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1276221511&grpid=04&catid=00
 
 
 
 

 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!