TARADTHONG.COM
ธันวาคม 11, 2024, 12:42:52 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อคิดสำหรับการวางแผนเข้าเรียนมหาวิทยาลัย  (อ่าน 6168 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: มิถุนายน 10, 2011, 09:00:30 AM »

ข้อคิดสำหรับการวางแผนเข้าเรียนมหาวิทยาลัย



การเรียนในระดับมัธยมปลาย จะว่าไปแล้วก็นักหนาสาหัสไม่น้อย ด้วยเป็นช่วงจังหวะของการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญในชีวิต หนึ่งในข้อคิดสำคัญก็คือ การเตรียมตัวเพื่อเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งในหลายกรณีก็นำมาซึ่งความเครียดและอ่อนล้า หมดเรี่ยวแรง และหลายทำใจไม่ได้เที่ยวเตร่ออกทะเลเละเทะก็มีให้เห็นบ่อยๆ โดยเรื่องทำนองนี้ควรเรียนรู้และนำมาเป็นตัวอย่าง

ตัวอย่างคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตการเรียนมีให้เห็นบ่อยเช่นเดียวกัน และนับประโยชน์สำหรับผู้ที่นำไปใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม กระนั้นต้องยอมรับก่อนว่า หนทางมิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หากแต่รกรุกรังและยากเย็นแสนเข็ญมากกว่า ยกเว้นบางกรณี อาทิ การเตรียมตัวล่วงหน้ายาวนาน ผ่านการสะสมความรู้ชนิดรู้ลึก รู้จริง มีตรรกะคิดที่เป็นระบบ ไม่นึกหรือคิดเอาเองทำนองนั้น

อันที่จริงแล้วการเรียนในระบบโรงเรียนปกติควรตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่ ทั้งการเตรียมตัวก่อนเรียนและหลังเรียน โดยเฉพาะอย่างการทำแบบฝึกหัดเพื่อทดสอบความเข้าใจหรือเป็นการสรุปเนื้อหาที่เรียน และในการเรียนสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยก็คือ การฝึกหัดจดโน้ตย่อสำหรับความเข้าใจของตัวเองอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เพื่อให้สามารถกลับมาทบทวนได้อีกในภายหลัง โดยที่ไม่ต้องกลับไปอ่านหนังสือหรือตำราทั้งเล่มใหม่ให้เปลืองเวลาโดยไม่จำเป็น
นอกจากนี้แล้ว หากไม่เข้าใจในเนื้อหาของบทเรียนที่เรียนไปแล้ว ก็ควรซักถามของความรู้เพิ่มเติมจากคุณครูผู้สอน ซึ่งจะช่วยให้มีความเข้าใจและจดจำ พร้อมทั้งสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง การเรียนหากมีบุคลิกขี้อายหรือขาดความกล้าในการซักถามนับเป็นอุปสรรคในการพัฒนาตนเองมากกว่าเรื่องอื่น และบางคนอาจนิสัยกว่าว่าจะถูกติเตียนหรือดูถูกก็มักลงเลยเช่นเดียวกัน ซึ่งอันที่จริงแล้ว ความไม่รู้ไม่ใช่เรื่องว่าตัวผู้เรียนโง่หรือไม่ฉลาดเหมือนเช่นคนอื่น หากแต่เป็นเพียงเพราะว่าความสามารถในการรับรู้หรือความถนัดในบางสาขาวิชาไม่เท่ากันมากกว่า และความไม่รู้นั้นสามารถพัฒนาและต่อยอดได้ เพียงแต่ว่า จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมหรือ อธิบายเคล็ดลับในการทำความเข้าใจได้ ซึ่งนับเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของการเรียนที่สำคัญอย่างยิ่ง

อย่างที่กล่าวข้างต้น ปัญหาและอุปสรรคของเด็กไทยที่ผ่านมา มิใช่ว่าโง่หรือไม่ฉลาด หากแต่เป็นเรื่องของการกล้าแสดงออกมากกว่าเรื่องอื่นใด โดยเรื่องดังกล่าวมิใช่เรื่องแปลก เพราะวัฒนธรรมของสังคมไทยมักไม่เอื้อให้เกิดการซักถามหรือการแสดงออก แต่ปัจจุบันกระบวนการเรียนได้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ที่เน้นการซักถาม การพูดคุย การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ด้วยตระหนักดีว่า การเรียนในระบบดังกล่าวจะสามารถช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางสติปัญญา การคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ได้ดีกว่าการเน้นการนั่งฟังบรรยายหรือนั่งฟังการสอนอย่างเดียว และผู้เรียนก็มีหน้าที่หลักคือจดบันทึก ซึ่งนับเป็นเรื่องล้าหลังในปัจจุบัน

อันที่จริงแล้วข้อเท็จจริงที่ได้รับการยอมรับที่มีต่อเด็กสมัยปัจจุบันก็คือ เด็กสมัยใหม่มีความกล้าคิด กล้าแสดงออก รวมถึงความมั่นใจในการโต้ตอบทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนมากขึ้น ซึ่งนับเป็นเรื่องดีที่เหมาะสมกับระบบการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้เกิดการเรียนที่มีเด็กเป็นศูนย์กลางในกระบวนการเรียนรู้ และผู้สอนมีหน้าที่คอยให้คำแนะและชี้แนะในเนื้อหาสาระที่สำคัญ กระบวนการเรียนในลักษณะเช่นนี้จึงเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่สามารถจะช่วยพัฒนาในการเสริมเติมแต่งให้ผู้เรียนมีพัฒนาการก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและเหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

นอกจากนี้แล้ว การเข้าร่วมกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนก็เป็นอีกหนึ่งในกระบวนการพัฒนาขีดความสามารถของตนเองที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าร่วมกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนอื่นๆ รวมถึงสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว มักช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดความคิดผ่านตัวอย่างที่หลากหลาย อาทิ ความสำเร็จของคนที่เรียนเก่ง ความสำเร็จของผู้ที่เรียนไม่เก่งแต่ขยัน หรือช่วยให้เกิดการค้นพบความต้องการในสาขาวิชาที่ตนเองอยากเรียนที่แท้จริง ซึ่งอาจเป็นด้านตรงกันข้ามกับที่เคยคิดไว้ก็เป็นได้ เช่น บางคนอยากเรียนแพทย์ กลับต้องเปลี่ยนใจอยากเรียนสายวิศวกรรมศาสตร์ หรือไม่ก็นิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ หรือไม่บางคนยากเรียนด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งอยู่ในสายวิทยาสตร์ก็อาจเปลี่ยนใจอยากเรียนด้านภาษาต่างประเทศ เป็นต้น

การเตรียมความพร้อมสำหรับเข้ามหาวิทยาลัยจึงควรเปิดโลกทัศน์ แสวงหาประสบการณ์ในสถานที่ต่างๆ เพื่อเรียนรู้และได้ข้อสรุปที่ตรงกับความต้องการหรือความสามารถของตนเอง และการได้พบความหลากหลายย่อมช่วยสร้างพลังทั้งทางกายและจิตใจ พร้อมกับเครือข่ายที่สามารถช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนทั้งประสบการณ์และแนะแนวทางที่สำคัญ

อย่างไรก็ตาม ในระบบการจัดการศึกษาปัจจุบันมักมีเรื่องราวร้อยแปดให้ต้องติดตามและคบคิด จึงไม่แปลกที่นักเรียนจำนวนไม่น้อยต้องสับสนกับการเตรียมตัวสมัครแข่งขันเพื่อเรียนต่อ หากแต่โดยข้อเท็จจริงแล้วระบบการรับนักศึกษามิใช่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เพราะมีคนจำนวนมากเกี่ยวข้องและโดยส่วนใหญ่ก็คือเด็กนักเรียน ดังนั้น ผู้ที่เตรียมตัวสอบมีหน้าที่สำคัญหลักเพียงอย่างเดียวก็คือ ความมุ่งมั่นในการเรียนและการเตรียมตัวสอบ ทั้งนี้ภายใต้กติกาหรือกฏเกณฑ์ที่มีประกาศล่วงหน้าไว้แล้ว

นอกจากนี้ ในระบบการสอบแข่งขันที่มีความหลากหลายในปัจจุบัน ผู้เรียนสามารถที่จะเลือกสอบได้หลายแห่งหลายมหาวิทยาลัย หลายหลักสูตร และเป็นเสมือนการทดสอบที่สามารถปรับปรุงและพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา โดยสามารถประเมินได้ว่าความรู้ความสามารถในการสอบแข่งขันเป็นเช่นไร และท้ายสุดย่อมสามารถเป็นทางเลือกได้ว่าตนเองจะเลือกเรียนสาขาวิชาใดที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของตนเองมากที่สุด การสอบแข่งขันเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยในปัจจุบันจึงมิได้จำกัดทางเลือกเหมือนเช่นในอดีตอีกต่อไป

ที่มา "การศึกษาวันนี้"
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!