TARADTHONG.COM
เมษายน 20, 2024, 12:11:07 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นักวิเคราะห์ธนาคารทหารไทย (TMB) วิเคราะห์การลงทุนในทองคำว่า ให้ผลตอบแทนดีกว่าหุ้น  (อ่าน 5790 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 07:33:46 PM »

11 มิถุนายน 2553 เวลา 12:38 น.
นักวิเคราะห์จากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจธนาคารทหารไทย (TMB) วิเคราะห์การลงทุนในทองคำว่า ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่าการลงทุนในตลาดหุ้นไทย หากถือเกิน 2 ปีขึ้นไป

โดย...ธนาคารทหารไทย

นักวิเคราะห์จากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจธนาคารทหารไทย (TMB) วิเคราะห์การลงทุนในทองคำว่า ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่าการลงทุนในตลาดหุ้นไทย หากถือเกิน 2 ปีขึ้นไป

ในระยะสั้น : ทองคำเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ทางเลือก (Safe-Haven Asset Class) ที่นักลงทุนเลือกถือในสภาวะเศรษฐกิจขาลงและมีความเสี่ยงสูง

ในระยะยาว : ราคาทองคำปรับตัวตามแนวโน้มพื้นฐานของเศรษฐกิจโลก

ทั้งนี้ หากลงทุนในทองคำเป็นระยะเวลา 2 ปี จะได้อัตราตอบแทนเฉลี่ยสูงอยู่ที่ 11% ต่อปี ในขณะที่การลงทุนในตลาดทุนจะอยู่ที่ 6% ต่อปี นั่นแสดงถึงว่าการลงทุนในทองคำมักได้ผลตอบแทนค่อนข้างสม่ำเสมอ และมีเสถียรภาพมากกว่าผลตอบแทนจากตลาดทุนที่มักผันผวนขึ้นลงได้ตามภาวะเศรษฐกิจโดยหากเลือกลงทุนในทองคำระยะยาวแล้วจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยดีกว่าตลาดทุน และยังมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าด้วย



หากลองนำดัชนีตลาดทุนและราคาทองคำทั้งในตลาดโลกและในประเทศไทยมาเปรียบเทียบกันแล้ว จะพบว่าหากเราเริ่มลงทุนซื้อทองคำเก็บไว้ตั้งแต่ต้นปี 2543 แล้วถือไว้จนถึงต้นปี 2553 จะทำให้ได้กำไรต่อปีประมาณ 12-15% ต่อปี แต่ถ้าถือหลักทรัพย์ในตลาดทุนจะได้ผลตอบแทนรวมปันผลเพียง 3-9% ต่อปี

ช่วงปี 2543-2553 การลงทุนในระยะยาวในทองคำให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในตลาดทุน อย่าลืมว่าการลงทุนในโลกแห่งความจริงนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ได้ถือทองหรือหลักทรัพย์ไว้เฉยๆ เป็นเวลานานกว่า 10 ปี แต่ว่าจะมีการซื้อขายสับเปลี่ยนตลอดเวลา ดังนั้นถ้าคำนวณเป็นรอบการลงทุนจะพบการลงทุนระยะสั้น เช่น ซื้อวันนี้แล้วขายในอีก 3 เดือนหน้า อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยช่วงปี 2543-2553 จากการลงทุนในตลาดทุนจะอยู่ที่ประมาณ 23% ต่อปี ขณะที่ทองคำจะอยู่ที่ 15% ต่อปี

แต่ถ้าเพิ่มระยะเวลาลงทุนเป็น 2 ปี อัตราผลตอบแทนในตลาดทุนจะอยู่ที่ประมาณ 6% ต่อปี และทองคำอยู่ที่ 11% ต่อปี นั่นแสดงถึงว่าการลงทุนในทองคำมักได้ผลตอบแทนค่อนข้างสม่ำเสมอ และมีเสถียรภาพมากกว่าผลตอบแทนจากตลาดทุนที่มักผันผวนขึ้นลงได้ตามภาวะเศรษฐกิจ

ตลาดทุนมีความผันผวนมากกว่าราคาทองคำอย่างชัดเจน ถ้าพิจารณาความผันผวนของราคาทองคำและดัชนีตลาดทุนตั้งแต่ปี 2543-2553 จะพบว่าทองคำมีความผันผวนเฉลี่ย 1.5 ขณะที่ตลาดทุนมีความผันผวนเฉลี่ย 2.6 อย่างไรก็ดีมีเพียงบางช่วงเท่านั้นที่ราคาทองคำผันผวนกว่าหรือเท่ากับดัชนีตลาดทุน

จะเห็นได้ว่าการลงทุนในทองคำระยะยาวแล้วจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยดีกว่าตลาดทุน อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าด้วย โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา การลงทุนในทองคำระยะเวลา 2 ปี ผู้ถือแทบจะไม่ขาดทุนเลย แต่สำหรับนักลงทุนระยะสั้นการลงทุนในตลาดทุนก็ยังคงมีโอกาสได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยที่สูงกว่า

อย่างไรก็ดี คงมีหลายคนเคยได้ยินว่าในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทองคำมัก|มีราคาเพิ่มสูงขึ้น จะเห็นได้ชัดเจนว่าในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2551-2552ราคาทองคำไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ว่ามีการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงในช่วงท้ายปี 2551 และต้นปี 2552 ที่วิกฤตลุกลามไปทั่ว ดังนั้นความเชื่อที่ว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงวิกฤตจึงไม่ถูกต้องนัก

หรือถ้าหากมองเป็นอัตราผลตอบแทนรายปี จะพบว่าช่วงต้นทศวรรษที่ 2543 และช่วงปี 2551-2552 อัตราผลตอบแทนทั้งในตลาดทุนและในทองคำปรับลดลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในตลาดทุนที่มีการปรับลดลงมากจนผลตอบแทนจาก|การลงทุนติดลบ ขณะที่ราคาทองคำเองก็ปรับตัวลดลงจนส่งผลให้ผลตอบแทนติดลบเช่นกัน แต่ก็ยังไม่รุนแรงเท่ากับในตลาดทุน

ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ทางเลือกในสภาวะเสี่ยง (Safe-Haven Asset) หรือไม่ ลองมาพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อราคาทองคำกัน ขอแบ่งกรอบการมองออกเป็นระยะสั้นและระยะยาว (2 ปีขึ้นไป)

ในระยะยาวราคาทองคำจะเคลื่อนไหวขึ้นลงไปตามอุปสงค์และปริมาณของทองคำในตลาดโลก ซึ่งหากพิจารณาในช่วงปี 2547-2551 จะพบว่า

การใช้ทองคำกว่า 68% ของความ|ต้องการทองคำทั่วโลกนำไปใช้เพื่อผลิตสินค้าอัญมณี และ 14% นำไปใช้ในอุตสาหกรรม ซึ่งรวมแล้วกว่า 82% ที่เป็นการใช้ไปเพื่อการบริโภคและการผลิต หรือกล่าวคือใช้ทองคำในฐานะที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ขณะที่ส่วนที่เหลืออีก 19% นำไปใช้เพื่อการลงทุน

การใช้ทองคำในการทำอัญมณีและสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นสินค้าที่มักเติบโตไปในทิศทางเดียวกับระดับรายได้หรือการขยายตัวของเศรษฐกิจ ดังนั้น หากเศรษฐกิจขยายตัวก็จะส่งผลให้ความต้องการทองคำเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีผลให้ราคาทองคำเพิ่มขึ้นได้

การนำทองคำไปใช้เพื่อการลงทุน ในภาวะปกตินักลงทุนย่อมเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนมากกว่า ในตลาดโลกที่การลงทุนมักอยู่ในรูปของเงินเหรียญสหรัฐ ถ้าหากค่าเงินเหรียญสหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าลง นักลงทุนยอมลดการถือเงินเหรียญสหรัฐแล้วหันไปถือสินทรัพย์อื่นอย่างเช่นทองคำได้

ปริมาณของทองคำกว่า 60% ของปริมาณทองคำมาจากการผลิตจากเหมือง 28% มาจากทองคำเก่าที่นำมาผลิตใหม่และ 12% มาจากการซื้อขายทองคำของธนาคารกลางทั่วโลก ด้วยเหตุที่ผลผลิต จากเหมืองมีสัดส่วนค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับอุปทานทองคำทั้งโลก ดังนั้นการปรับตัวเพิ่มหรือลดของการผลิตจากเหมืองย่อมมีผลต่อราคาทองในตลาดโลกในทางตรงข้าม การเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุน หลักของการผลิตสินค้าต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ทองคำก็มีผลต่อการผลิตและการขนส่งทองคำ ซึ่งทำให้ราคาทองคำปรับตัวในทิศทางเดียวกับต้นทุนได้เช่นกัน

ในระยะสั้นศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ TMB พบว่าทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุนที่นักลงทุนถือไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงยามเศรษฐกิจหดตัว แต่เนื่องจากปัจจัยด้านอื่นที่มีอิทธิพลต่อราคาทองคำซึ่งรวมถึงผลในระยะยาวของความต้องการทองคำที่จะเพิ่มขึ้นตามระดับรายได้ในฐานะที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ จึงทำให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงได้ในยามเศรษฐกิจหดตัว

จากความเข้าใจเรื่องความต้องการและปริมาณของทองคำ ทำให้รู้ว่าทองคำเป็นได้ทั้งสินค้าโภคภัณฑ์และสินทรัพย์เพื่อการลงทุน ดังนั้น หากมองทองคำในแง่เป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุนโดยตัดผลของรายได้ที่มีต่อทองคำในฐานะสินค้าโภคภัณฑ์ออกไปแล้ว จะพบว่าการเปลี่ยนแปลงรายได้หรือการขยาย/หดตัวของเศรษฐกิจจะส่งผลในทางตรงข้ามกับราคาทองคำซึ่งแสดงถึงความต้องการถือทองคำที่มากขึ้นในช่วงเศรษฐกิจหดตัว โดยหากเศรษฐกิจหดตัว 1% จะมีผลให้ราคาทองคำเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.7% ขณะที่ค่าเงินเหรียญสหรัฐและราคาน้ำมันหากเปลี่ยนไป 1% จะมีผลต่อราคาทองคำ ลบ 0.86 และ 0.06 ตามลำดับ

การเคลื่อนไหวของราคาทองคำที่เบี่ยงเบนออกจากราคาพื้นฐาน เกิดจากความต้องการทองคำในฐานะที่เป็นสินทรัพย์เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Safe-Haven Asset) จะเห็นได้ชัดว่าการเคลื่อนไหวของราคาทองคำที่เบี่ยงเบนออกจากราคาพื้นฐานจะสวนทางกับการขยายตัวของเศรษฐกิจซึ่งแสดงถึงความต้องการซื้อและขายทองคำที่สวนทางกับรายได้ แปลว่าใน|ช่วงรายได้ลดลง (เศรษฐกิจหดตัว คนจะเริ่มมีการซื้อทองคำเก็บไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยง แต่เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น ศรษฐกิจขยายตัว) จะเริ่มมีการขายทองคำเพื่อไปถือสินทรัพย์อื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าแทน

ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อทิศทางเงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าและเศรษฐกิจโลกหดตัว

ราคาทองคำมีความสัมพันธ์เล็กน้อยในทิศทางเดียวกันกับราคาน้ำมันในตลาดโลก

ราคาทองคำและดัชนีตลาดหุ้น|เริ่มมีความผันผวนใกล้เคียงกันมากขึ้นในช่วง 5 ปีหลัง


http://www.posttoday.com/หุ้น-ทอง/ทองต่อเงิน/ภาวะราคาทองคำ/33592/แนะลงทุนทองคำเกิน2ปีกำไรดีกว่าตลาดหุ้นไทย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!