TARADTHONG.COM
ธันวาคม 11, 2024, 01:39:21 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “แบลคมันเดย์” เพิ่งเริ่มต้นและยังต้องมาอีกหลายระลอก  (อ่าน 11206 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
songkhla
Administrator
Jr. Member
*****

คะแนนความนิยม: 26
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 60



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2011, 10:29:40 AM »

 “แบลคมันเดย์” เพิ่งเริ่มต้นและยังต้องมาอีกหลายระลอก

ปรากฏการณ์เมื่อวันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่ตลาดหุ้น ทองคำ น้ำมัน และค่าเงิน ทั่วโลกลดมูลค่าพร้อมๆกันและหลังจากนั้นเกิดการช้อนซื้อครั้งใหญ่ เป็นสัญญาณเริ่มต้นของวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังจะต้องมาถึงอย่างแน่นอนแล้ว จนเรียกกันว่าเป็น “วันจันทร์สีดำ”หรือ “แบล็คมันเดย์”
       
          และสิ่งที่เกิดขึ้นวันจันทร์ที่ผ่านมาเกิดจากปัจจัย 2 ประการคือ
       
          ประการแรก ธนาคารหลายแห่งทั้งในยุโรปและอเมริกา ทยอยถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ ทำให้เกิดความหวั่นวิตกว่า กรีซ อาจจะพักชำระหนี้หรือ “ชักดาบ” ลดหนี้อันมหาศาลของตัวเองและจะส่งผลเสียหายต่อธนาคารในยุโรป อันเป็นแหล่งเงินทุนของเฮดจ์ฟันด์ไปด้วย
       
          เมื่อธนาคารในยุโรปและสหรัฐอเมริกาถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ จึงเกิดการสั่นคลอนอย่างหนัก และทำให้ธนาคารพาณิชย์ซึ่งปล่อยกู้ให้กับ เฮดจ์ฟันด์ ซึ่งได้ไปเข้าไปปั่นราคาในตลาด หุ้น น้ำมัน ทองคำ และค่าเงินแต่ละประเทศ จำเป็นต้องเรียกเงินคืนอย่างเร่งด่วน เพื่อสำรองเงินสดเอาไว้ในมือทั้งเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่ถอนเงินออกจากธนาคาร และเตรียมความพร้อมสำหรับการที่ต้องเพิ่มทุนอย่างเร่งด่วน
       
          ประการที่สอง เฮดจ์ฟันด์เมื่อถูกธนาคาร “เริ่ม” ทวงหนี้ระลอกแรก นอกจากจะต้องเทขายสินทรัพย์ที่มีอยู่ในมือเพื่อคืนหนี้ธนาคารแล้ว ยังถือโอกาสทำกำไรด้วยการผสมโรงเทขายมากกว่าเงินที่ต้องคืนให้กับธนาคารในยุโรป ด้านหนึ่งเพื่อทำกำไรสูบความมั่งคั่งในแต่ละประเทศ อีกด้านหนึ่งทุบเพื่อกดราคาสินทรัพย์ทั่วโลกให้ต่ำ ทั้งหุ้น น้ำมัน ทองคำ และค่าเงิน และเข้าช้อนซื้อเตรียมทำกำไรแบบนี้อีกหลายระลอก
       
          ที่ว่าปรากฏการณ์แบบ “แบลคมันเดย์” ยังจะต้องเกิดขึ้นอีกหลายระลอกนั้น ก็เพราะเหตุว่าการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในยุโรป “จะต้องเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง” เพราะในขณะนี้แม้ยังไม่มีใครชักดาบจริงๆ แต่ก็เล็งเห็นได้แล้วว่าจะต้องเกิดการ "ลดหนี้” และ “ยืดหนี้” เกิดขึ้นอย่างแน่นอนในยุโรปหลายแห่ง
       
          4.6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คือตัวเลขเบื้องต้นที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ เรียกร้องให้ธนาคารพาณิชย์ในยุโรปต้องเร่งเพิ่มทุนด้วยเม็ดเงินดังกล่าว ซึ่งถือว่าไม่ใช่ตัวเลขน้อยๆ ในภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอทั้งในยุโรป และสหรัฐอเมริกา
       
          ปัญหาหลักสำคัญในเวลานี้ก็คือยุโรปและอเมริกากลายเป็นประเทศสูญเสียความสามารถการแข่งขันด้านการผลิตให้กับภูมิภาคเอเชีย จึงล้วนแล้วแต่เสียดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดทุกปีให้กับภูมิภาคเอเชีย จนเงินตราในทุนสำรองระหว่างประเทศได้หดหาย จึงแก้ปัญหาด้วยการที่รัฐบาลแต่ละประเทศออกพันธบัตรกู้เงินต่างประเทศจนกระทั่งหนี้สินล้นพ้นตัว
         
          บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง แสดนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (แปลว่า:บริษัทมาตรฐานและยากจน) และ มูดีส์ (แปลว่า:บริษัทขี้หงุดหงิด) ต่างเป็นตัวการสำคัญที่ปรนเปรอตราสารในยุโรปและอเมริกาจัดอันดับว่าน่าเชื่อถือมาก ทำให้กู้ได้อย่างไร้ขีดจำกัด และเมื่อโลกตื่นขึ้นมาพร้อมๆกันจึงทำให้ยุโรปและสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญหน้ากับชีวิตจริงว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้แล้ว บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือเหล่านนี้จึงหนีไม่พ้นต้องมาปรับอันดับความน่าเชื่อถือให้ลดลงในภายหลัง
       
          แต่วิกฤติของโลกครั้งนี้ยิ่งใหญ่กว่า วิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2540 หลายเท่าตัวนัก และตัวเลขหนึ่งที่เห็นสัญญาณนี้ก็คือ ตัวเลขสัดส่วนระหว่าง “หนี้ต่างประเทศ” กับ “ทุนสำรองระหว่างประเทศ”
       
          ประเทศไทยที่ระบุว่าเป็นต้นเหตุของวิกฤตต้มยำกุ้งลามไปทั้งภูมิภาคเอเชียในปี 2540 นั้น ก่อนหน้านั้น 1 ปี (พ.ศ.2539) ไทยมีหนี้ต่างประเทศทั้งของรัฐและเอกชนรวม 108,742 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 38,724 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศถึง 2.8 เท่า จึงถูกโจมตีค่าเงินถอนหนี้ระยะสั้นอย่างเร่งด่วน จนแทบหมดทุนสำรองระหว่างประเทศ ยอมลอยค่าเงินบาท แก้ไขกฎหมายเอื้อประโยชน์ต่างชาติมาสูบและปล้นสินทรัพย์ในประเทศไทย
       
          ขนาดประเทศไทยมีหนี้ต่างประเทศ 1 แสนกว่าล้านเหรียญ และมีหนี้มากกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 2.8 เท่าตัว ยังเกิดวิกฤติลามไปทั่วภูมิภาคได้ แต่คราวนี้ปัญหาใหญ่กว่าและเลวร้ายกว่าปี 2540 หลายสิบเท่าตัว
       
          เมื่อเทียบตัวเลขสัดส่วนหนี้ต่างประเทศกับทุนสำรองระหว่างประเทศของแต่ละประเทศในยุโรปรอบนี้ ก็จะพบตัวเลขที่น่าสนใจดังนี้ กรีซมีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 77 เท่าตัว, อังกฤษมีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 79 เท่าตัว, สเปน มีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 55 เท่าตัว, ไอร์แลนด์ มีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 54 เท่าตัว, ฝรั่งเศส มีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 26 เท่าตัว, โปรตุเกส มีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 22 เท่าตัว, เยอรมนี มีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 20 เท่าตัว, อิตาลี มีหนี้ต่างประเทศสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ 13 เท่าตัว
       
          หนี้ต่างประเทศของ 8 ประเทศข้างต้นนั้นรวมกันแล้วสูงถึง 23 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ!
       
       8 ประเทศนี้มีอาการเหมือนกันคือ มีหนี้ต่างประเทศมากกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศนับหลายสิบเท่าตัว และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างหนักทุกปี (ยกเว้นเยอรมนี) เปรียบเสมือนคนมีหนี้สินต่างประเทศล้นพ้นตัวแต่ไม่มีความสามารถในการค้าขายต่างประเทศที่จะไปชำระหนี้สินอันมหาศาลได้ทุกปี
       
          ซ้ำร้ายกว่านั้นรัฐบาลในประเทศเหล่านี้ก็มีภาระค่าสวัสดิการที่ต้องดูแลประชาชนจำนวนมหาศาลขาดดุลงบประมาณและต้องกู้หนี้ยืมสินจนก่อให้เกิดหนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูง และยังมีอัตราการว่างงานในประเทศอยู่ในระดับสูง ได้แก่ กรีซ มีหนี้สาธารณะคิดเป็น 143% เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) แต่มีการว่างงานสูงถึง 16.30% , อิตาลี มีหนี้สาธารณะคิดเป็น 119% ของ GDP มีอัตราการว่างงาน 8%, ไอร์แลนด์มีหนี้สาธารณะ 96.7% ของ GDP มีอัตราการว่างงาน 14.3% , โปรตุเกสมีหนี้สาธารณะ 93% ของGDP มีอัตราการว่างงาน 12.10%, เยอรมนีมีหนี้สาธารณะ 83% ของ GDP มีอัตราการว่างงาน 7%, ฝรั่งเศสมีหนี้สาธารณะ 82% ของ GDP มีอัตราการว่างงาน 9.60%, อังกฤษมีหนี้สาธารณะ 76% ของ GDP มีอัตราการว่างงาน 7.90%, สเปนมีหนี้สาธารณะ 60%ของ GDP มีอัตราการว่างงาน 20.89%
       
          ปัจจัยชี้ขาดว่าจะพังวันไหนก็คือ “หนี้ระยะสั้น” ของแต่ละประเทศว่าจะถูกทวงคืนเร็วแค่ไหน และสามารถกู้หนี้ใหม่มาคืนหนี้เก่าได้ทันหรือไม่เท่านั้น และหากยังแก้ไขปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ได้ การปล่อยกู้ก้อนใหม่ก็เสมือนการสร้าง “แชร์ลูกโซ่”ให้ขยายใหญ่โตมากขึ้นรอวันระเบิดข้างหน้า
       
          ยุโรปมีเงินทุนสำรองสำหรับรองรับระบบเงินยูโรโดยมีประเทศต่างๆได้ลงขันเป็นสมาชิกมีอยู่ทั้งสิ้น 8.86 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่เป็นเงินที่อยู่เป็นสินทรัพย์ของธนาคารกลางของยุโรปเพียง 7.914 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อรวมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่มีเงินที่จะรับวิกฤตของโลกได้เพียงแค่ 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งไม่น่าจะมีเงินเพียงพอที่จะไปรับมือกับวิกฤติหนี้ของยุโรปในเวลานี้
       
          ทั่วโลกจึงประเมินและทำใจแล้วว่าจะต้องเกิดการ “ลดหนี้” และ “ยืดหนี้” ทั้งในกรีซและอีกหลายแห่งในยุโรป เพียงแต่ว่าจะหาทางอย่างไรให้ธนาคารในยุโรปไม่ล้ม เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปรากฏการณ์ที่ธุรกิจจะทยอยล้มไปด้วย (โดยหวังเอาเงินของประเทศและประชาชนในยุโรปไปอุ้ม)
       
          การรีดภาษีจากประชาชน, ขายรัฐวิสาหกิจและทรัพย์สินของรัฐ, ลดตัดค่าใช้จ่ายและสวัสดิการของประชาชนและตัดงบประมาณภาครัฐ คือสูตรที่เจ้าหนี้จะต้องบังคับต่อไปเพื่อหาเงินมาคืนหนี้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ยากมากโดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่ใช้ชีวิตสบายและมีสวัสดิการในชีวิตมาอย่างยาวนาน ต่างจากคนในภูมิภาคเอเชียที่ปากกัดตีนถีบและมีความอดทนมากกว่า
       
          และสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นก็คือ ธนาคารในยุโรปและอเมริกาจะต้องเรียกเงินคืนจากเฮดจ์ฟันด์อีกหลายระลอก และทำให้เหล่ากองทุนเฮดจ์ฟันด์นั้นต้องเทขายสินทรัพย์ต่างประเทศแล้วช้อนซื้อเป็นวัฏจักรอีกไม่กี่รอบก่อนวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้จะระเบิดขึ้น เพียงแต่ช่วงเวลานี้สายชนวนระเบิดได้ถูกจุดและสั้นลงทุกที ทำให้เหล่ากองทุนเฮดจ์ฟันด์ต้องเร่งทำงานเข้าออกหลายระลอกวันต่อวัน นานทีต่อนาที เพื่อเร่งทำกำไร สร้างความผันผวนในราคา หุ้น น้ำมัน ทองคำ และค่าเงินไปทั่วโลก โดยมองแมลงเม่าทั่วโลกเป็นเหยื่อในการสูบความมั่งคั่งให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
       
          และที่แน่ๆ ก็คือค่าเงินยูโรจะต้องอ่อนค่าหนัก ธนาคารกลางในแต่ละประเทศก็คงไว้ใจถือพันธบัตรและทรัพย์สินดอลลาร์สหรัฐและยูโรไม่ได้ เพียงแต่ใครจะไวเปลี่ยนทรัพย์สินที่มีอยู่ในมือได้เร็วและมากกว่ากัน
       
          เอเชียในวันนี้มีความมั่งคั่งยิ่งกว่าสหรัฐอเมริกาและยุโรป เราอาจได้เห็นโอกาสกลับด้านที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียบางประเทศเข้าไปซื้อสินทรัพย์ ในยุโรปราคาถูกๆ (อย่างมียุทธศาสตร์) หลังเศรษฐกิจฟองสบู่แตกแล้ว
       
          สำหรับประเทศไทยปัจจุบันมีหนี้สินต่างประเทศประมาณ 82,500 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีทุนสำรองระหว่างประเทศ 1.85 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (มีหนี้ต่างประเทศคิดเป็น 44% ของทุนสำรองระหว่างประเทศ) เกินดุลบัญชีเดินสะพัดปีที่แล้วถึง 12,290 ล้านเหรียญสหรัฐ มีหนี้สาธารณะประมาณ 43% และมีอัตราการว่างงานเพียงแค่ 0.44% โดยภาพรวมยังถือว่าประเทศไทยยังอยู่ในสถานภาพที่ดีกว่าอีกหลายประเทศในโลก
       
          แต่การล่มสลายของทุนนิยมสุดขั้วของอเมริกาและยุโรปย่อมกระทบต่อภาคธุรกิจในประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (โดยเฉพาะภาคการส่งออกและภาคธนาคาร) รัฐบาลควรต้องพิจารณาบริหารจัดการกับ “ทุนเฮดจ์ฟันด์”ที่ฉวยโอกาสปั่นแล้วทุบ-ทุบแล้วปั่น ทำกำไรระยะสั้นเพื่อสูบความมั่งคั่งจากคนในชาติอย่างเร่งด่วน อีกทั้งรัฐบาลก็ถือว่ามาถูกทางแล้วในการให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจภายในประเทศมากกว่าภายนอกประเทศ แต่การกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นพึงต้องคำนึงในการกระตุ้นให้คนมีเงินและเศรษฐีต้องใช้จ่ายและลงทุนเพื่อสร้างให้มาก และกระตุ้นให้คนจนให้รู้จักการออม ประหยัดใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลและระมัดระวังไม่ก่อหนี้เกินตัว เพื่อรองรับกับสถานการณ์กับภาวะวิกฤติของโลกที่กำลังจะมาในอีกไม่นานนี้
       
          และสำคัญที่สุดก็คือกระตุ้นเตือนจิตสำนึกในปรัชญาพระราชทาน “เศรษฐกิจพอเพียง” ให้คนไทยได้รู้จัก เข้าใจ และนำไปปฏิบัติ อันจะเป็นภูมิคุ้มกันที่จะทำให้ประเทศไทยได้รอดพ้นจากวิกฤติครั้งนี้ได้
บันทึกการเข้า
meng166
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 21
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2011, 10:51:05 AM »

ขอขอบใจหลายๆเด้อ embarrassed1
บันทึกการเข้า

โคกโพธิ์
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!