TARADTHONG.COM
พฤศจิกายน 09, 2024, 09:19:49 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 10 เรื่องของประกัน ที่คุณอาจยังไม่รู้  (อ่าน 10828 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2010, 09:20:40 AM »

10 เรื่องของประกัน ที่คุณอาจยังไม่รู้
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
70-80% คือ เปอร์เซ็นต์ของคนไทย ที่ยังไม่ได้ทำประกัน

อย่าแปลกใจ ถ้าเรื่องบางเรื่องของประกัน ที่คุณรู้และเข้าใจแล้ว  ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ยังไม่รู้เรื่อง หรือที่ว่าเข้าใจแล้ว อาจจะยังไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งมากพอ

เป็นต้นว่า หลายคนยังสงสัยว่า  ควรจ่ายเบี้ยประกันปีละเท่าไหร่ดี หรือวงเงินคุ้มครองเท่าไหร่ถึงจะเหมาะกับตัวคุณ  หรือบางคนส่งประกันไปแล้ว แต่ไม่มีเงินส่งต่อ จะทำยังไงดีไม่ให้เสียผลประโยชน์

Fundamentals ฉบับนี้จะพาไปดูกันว่า เรื่องพื้นๆ ของประกันที่คุณอาจจะยังไม่รู้มีอะไรกันบ้าง

แม้ว่ากระแสการทำประกันจะค่อยดีขึ้นเรื่อยๆ ทัศนคติของผู้คนที่มีต่อการทำประกันจะเป็นไปในทางบวกมากขึ้น แต่หลายคนก็อาจมีคำถามว่าการทำประกันชีวิตคืออะไร ทำไปเพื่ออะไร และทำไมเราจึงจำเป็นต้องมีการประกันชีวิตให้กับตนเองและครอบครัว รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เราควรจะได้รับจากการทำประกันนั้นคืออะไรบ้าง

ในปัจจุบันนี้การทำประกันจะมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการประกันเพื่อคุ้มครองชีวิต สุขภาพ  หรือการออมทรัพย์ โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองทั้งระยะสั้นและระยะยาว แต่ก่อนจะตัดสินใจทำประกัน มาดูกันว่ามีเรื่องอะไรของประกันบ้างที่คุณอาจจะยังไม่รู้

O ควรทำประกันตั้งแต่อายุเท่าไร
 "ดร.เมธี  จันทวิมล" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต มองว่า การทำประกันชีวิตนับเป็นการออมทรัพย์ประเภทหนึ่ง ดังนั้น หากเริ่มทำประกันชีวิตเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี จะเห็นว่า บางครอบครัวก็เริ่มทำประกันชีวิตให้แก่ลูกของตนตั้งแต่เริ่มลืมตาดูโลก ซึ่งบางคนอาจยังไม่มองถึงจุดนี้ คิดเพียงว่าประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองชีวิตเท่านั้น

"หากมองในด้านการออมทรัพย์ การทำประกันชีวิตก็สามารถตอบโจทย์ได้เช่นกัน ดังนั้นยิ่งมีการทำประกันชีวิตเร็วเท่าไหร่ยิ่งเก็บเงินได้เร็วขึ้น และหากเริ่มทำประกันชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย หรือเริ่มทำงาน จะทำให้ค่าเบี้ยประกันถูกกว่าคนที่มีอายุมากกว่า อีกทั้ง ยังเป็นการสร้างวินัยการออมที่ดีตั้งแต่เริ่มทำงาน"

ทางด้าน "นริศ อจละนันท์" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต  กล่าวเสริมว่า การเริ่มทำประกันชีวิตขึ้นอยู่กับความพร้อมทางด้านการเงินในการชำระเบี้ยประกัน ซึ่งมีแบบประกันที่หลากหลายรองรับความต้องการของลูกค้าทุกเพศทุกวัย โดยจะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับลูกค้า บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต  ได้จัดทำ “เมืองไทย ไลฟ์ แมพ” เพื่อเป็นเครื่องมือให้ลูกค้ากำหนดแผนชีวิต ด้วยการวางแผนการเงินผ่านการประกันชีวิตที่สามารถรองรับความต้องการทางด้านความมั่นคงทางการเงิน โดยการแบ่งเป็น 5 ช่วงอายุต่างๆ ที่มีรูปแบบการใช้ชีวิต และความต้องการในชีวิตที่ผันแปรและเพิ่มพูนขึ้นไปเรื่อยๆ ได้แก่

ส่วน "ดร.อภิสิทธิ์  อนันตนาถรัตน" ผู้อำนวยการธุรกิจลูกค้ารายย่อย  บริษัท กรุงเทพประกันภัย ให้ทัศนะว่า  การทำประกันภัยไม่ได้มีกรอบในการเริ่มต้นทำประกันภัย เพียงแต่มีเกณฑ์ในการกำหนดช่วงอายุของการรับประกันภัยของกรมธรรม์ในแต่ละประเภทซึ่งจะแตกต่างกันไป โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ช่วงอายุ 18 ปี ถึง 60 ปี ซึ่งส่วนมากแล้วกรอบช่วงอายุก็มักจะใช้กับกรมธรรม์ที่เกี่ยวกับชีวิต ร่างกายของผู้เอาประกันภัย เช่น ประกันชีวิต อุบัติเหตุ สุขภาพ เป็นต้น ส่วนการประกันทรัพย์สินกำหนดกรอบที่ให้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่เอาประกันภัยเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม หลักการรับประกันภัยคือหลักการรับความเสี่ยงภัย ซึ่งความเสี่ยงภัยก็อยู่คู่กับทุกคนตั้งแต่แรกเกิด

"การทำประกันภัยก็ควรทำตั้งแต่แรกเกิด โดยเริ่มต้น พ่อแม่ ทำประกันสุขภาพให้ลูก พอถึงวัยทำงานลูกทำประกันภัยประเภทต่างๆ ให้ตนเองและตอบแทนให้กับพ่อแม่ โดยสรุปแล้วอายุที่ทำประกันภัยคือควรเริ่มตั้งแต่แรกเกิด  ส่วนวัยเริ่มต้นทำประกันภัย คือ วัยที่พร้อม ซึ่งความพร้อมก็มีสองความหมายคือพร้อมให้ตัวเองกับพร้อมให้คนที่เรารัก "

 O จ่ายเบี้ยปีละเท่าไรดี
 ส่วนจะจ่ายเบี้ยปีละเท่าไร ดร.อภิสิทธิ์ มองว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาชีพ รายได้ ภาระความรับผิดชอบ แต่ปัจจัยต่างๆ เกี่ยวเนื่องกัน เช่น ถ้าอาชีพมีความเสี่ยงสูง รายได้ไม่สูงมาก ภาระเยอะ  ควรทำประกันวงเงินคุ้มครองที่สูง เนื่องจากหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นจะได้ไม่เป็นภาระทั้งตนเองและคนที่รัก ส่วนเบี้ยประกันภัยรายปี แนะนำให้เป็นสัดส่วนที่ 20% ของเงินเดือน  โดยกำหนดเป็นเดือนใดเดือนหนึ่งในรอบปีเพื่อที่จะบริหารจัดการกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้อย่างเป็นระบบ ส่วนวงเงินคุ้มครองอาจจะกำหนดเป็นเท่าของเงินเดือนหรือเป็นช่วงเวลาที่ไม่อาจทำงานได้
 "เช่น เงินเดือน 10,000 บาท กำหนด 100 เท่า เท่ากับวงเงิน 1,000,000 บาท หรือ เงินเดือน 20,000 บาท ความเสี่ยงที่มิอาจทำงานได้ 5 ปี เท่ากับวงเงิน 1,200,000 บาท เป็นต้น"

นริศ แนะว่าการชำระเบี้ยประกันที่เหมาะสมกับผู้เอาประกันควรชำระเบี้ยฯ 10% ของรายได้ต่อปี และวงเงินความคุ้มครองพิจารณาจากภาระค่าใช้จ่าย และหนี้สินต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบ  โดยทุกคนสามารถคำนวณภาระ หรือความต้องการความคุ้มครองด้วยวิธีพื้นฐาน โดยคำนวณภาระค่าใช้จ่ายของคุณและครอบครัว (1) นำค่าใช้จ่ายที่คุณหรือครอบครัวต้องใช้จ่ายต่อเดือน สมมติว่าเดือนละ 15,000 บาท คูณด้วย 12 เดือน (15,000 x 12) จะได้ ค่าใช้จ่ายต่อปีเท่ากับ 180,000 บาท   และ (2) ดูจำนวนปี ที่คุณต้องการเตรียมไว้ให้ครอบครัว กรณีไม่แน่ใจให้ใช้ระยะเวลา 5 ปี  (180,000 x 5 ปี = 900,000 บาท)

และถัดมาคำนวณหนี้สิน  สมมติว่าค่าผ่อนบ้าน และค่าผ่อนรถยนต์ สมมติภาระหนี้สินสองรายการนี้เท่ากับ 2,000,000 บาท  รวมจำนวนเงินข้อ 1 และข้อ 2 เท่ากับ 2,900,000 บาท  จากนั้นนำค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่คำนวณไว้มาลบกับเงินที่ฝากธนาคารและเงินออมอื่นๆ  สมมติเงินออมเท่ากับ 500,000 บาท (2,900,000 - 500,000 = 2,400,000 บาท)  ดังนั้น จำนวน 2,400,000 บาท คือ จำนวนเงินความคุ้มครองสำหรับสร้างหลักประกันความมั่นคงของคุณและครอบครัว
 เรื่องนี้ ดร.เมธี มองว่าเราควรมองก่อนว่าการซื้อประกันเป็นการลงทุน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เราคาดไม่ถึง ส่วนการทำประกันด้วยวงเงินคุ้มครองเท่าไหร่ หรือประเภทใดที่เหมาะสมกับแต่ละคนนั้น จะขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่ชัดเจนของผู้จ่ายเบี้ยประกัน ว่าต้องการซื้อประกันเพื่อชดเชยรายได้ที่ต้องสูญเสียจากความเสี่ยงในด้านใด ไม่ว่าจะเป็นชีวิต สุขภาพ หรืออุบัติเหตุ และยังต้องคำนึงถึงระยะเวลาที่เราต้องการคุ้มครอง

การจ่ายเบี้ยประกันแต่ละปี อาจจะดูจากฐานรายได้เป็นสำคัญ ซึ่งอาจจะแบ่งสัดส่วน 3 - 10% ของรายได้ต่อปีมาเป็นค่าเบี้ยประกัน แล้วจึงมาดูว่าวงเงินคุ้มครองที่ได้รับจากบริษัท ปัจจุบันมีในด้านใดบ้าง วงเงินเท่าไร จากนั้น ค่อยเลือกแบบประกันและความคุ้มครองเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่ต้องการ หากบริษัทที่ทำงาน มีความคุ้มครองให้เพียงพอแล้ว อาจจะมองในเรื่องของผลตอบแทนจากประกันแบบสะสมทรัพย์แทน
 
 O รายได้ไม่มากควรทำประกันแบบไหนก่อน
 หากเพิ่งเริ่มทำงานมีรายได้ยังไม่มาก นริศแนะว่าเริ่มการเก็บเงินด้วยการประกันชีวิตแบบการออมที่มีความคุ้มครองระยะยาว ซึ่งเป็นแบบประกันที่มีเบี้ยประกันต่ำ เหมาะสำหรับผู้มีรายได้ยังไม่มาก โดยเมืองไทยประกันชีวิตมีแบบประกันที่เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่มเริ่มทำงานมีรายได้หลายแบบ

ส่วน ดร.เมธี แนะว่าหากรายได้ของคุณยังไม่มาก ควรจะมองเป็นประกันแบบสะสมทรัพย์ก่อน เพื่อใช้เก็บเงินสะสมไว้ใช้ในอนาคตก่อน เพราะในช่วงเริ่มต้นทำงานค่าเบี้ยประกันจะไม่สูงมาก และเป็นการสร้างวินัยการออมในอนาคต ซึ่งผู้เอาประกันจะได้รับเงินก้อนในอีก 10 หรือ 20 ปีข้างหน้า เพื่อนำมาใช้ตอบสนองความต้องการต่างๆ ตามช่วงอายุ พร้อมทั้งได้รับความคุ้มครองระหว่างที่ทำประกัน

ถ้ามีรายได้ยังไม่เยอะ ดร.อภิสิทธิ์ แนะว่าควรทำประกันให้ตัวเองก่อน โดยเริ่มต้นจากการประกันอุบัติเหตุและค่ารักษาพยาบาล หากมีงบประมาณเหลือให้พิจารณาทำประกันสุขภาพ และต้องวิเคราะห์ประกันสุขภาพในส่วนของสวัสดิการพนักงานที่มีให้ก่อน แล้วค่อยทำในส่วนที่เพิ่มขึ้น

รวมถึงทำประกันตามวิถีชีวิตของมนุษย์เงินเดือน หากผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ก็ให้ทำประกันรถยนต์และอัคคีภัยเพิ่มเติม และเมื่อมีหลักประกันมั่นคงเพียงพอแล้วก็อย่าลืมทำประกันสุขภาพให้ครอบครัวและคุณพ่อคุณแม่ด้วย
 
 O สะสมไว้ใช้ในบั้นปลายทำประกันแบบไหนดี
 สำหรับคนที่ต้องการสะสมเงินไว้ใช้ในบั้นปลาย  ดร.เมธี บอกว่าปัจจุบัน บริษัทประกันต่างๆ ก็มีผลิตภัณฑ์ประกันแบบสะสมทรัพย์ออกมาให้เลือกในตลาดมากมาย และถ้าเรามีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่าต้องการทั้งในด้านความคุ้มครองชีวิตและเงินสะสมไว้ใช้ในยามเกษียณ ก็ควรเลือกแบบประกันที่มีระยะเวลายาวมากขึ้น ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป หรือประกันที่มีรูปแบบการจ่ายผลตอบแทนหลังเกษียณ เช่น อาจจะเป็นการคืนก้อนเงินครั้งเดียว คล้ายๆ กับเงินบำเหน็จหรือทยอยคืนอย่างสม่ำเสมอหลังเกษียณ คล้ายๆ กับเงินบำนาญ

"หากมีเป้าหมายการใช้เงินหลังเกษียณ ประกันชีวิตแบบนี้จะมีค่าเบี้ยประกันไม่สูงมากนัก หากเริ่มซื้อตั้งแต่อายุยังน้อย ประกันระยะยาวเบี้ยจะต่ำกว่าระยะสั้น นอกจากนี้ ถ้าเราต้องการเงินไว้ใช้ในยามเกษียณที่มากขึ้น เราอาจซื้อประกันระยะกลางหรือระยะสั้น ควบคู่ไปด้วยเพื่อเพิ่มมูลค่าเงินออมและผลตอบแทนระหว่างทางให้สูงขึ้น"

นริศ แนะว่าการวางแผนประกันชีวิตเพื่อเก็บออมไว้สำหรับชีวิตในอนาคตหลังเกษียณอายุอย่างรอบคอบมีความสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะว่าอายุหลังเกษียณอาจจะยาวนานกว่าระยะเวลาที่เก็บออมก่อนเกษียณ 

เขาแนะนำการคำนวณเงินออมไว้ใช้จ่ายสำหรับหลังเกษียณอายุว่า เริ่มจากให้คำนวณค่าใช้จ่ายประจำที่จำเป็น  โดยแบ่งเป็น (1) ค่าใช้จ่ายสำหรับหลังเกษียณอายุต่อปี สมมติ เดือนละ 15,000 บาท ต่อปี เท่ากับ 180,000 บาท  (2) ระยะเวลากี่ปี (นับจากวันเกษียณอายุ ถึงวันที่คาดว่าจะเสียชีวิต) สมมติว่าเกษียณอายุ 60 ปี และมีชีวิตจนถึงอายุ 80 ปี มีระยะเวลาหลังเกษียณเท่ากับ 20 ปี  (180,000 x 20) = 3,600,000 บาท

จากนั้นนำค่าใช้จ่ายที่คำนวณไว้มาลบกับเงินฝากธนาคารและเงินออมอื่นๆ สมมติว่ามีเงินเก็บออมไว้ 1,000,000 บาท  (3,600,000 - 1,000,000 = 2,600,000 บาท) ถ้าปัจจุบัน อายุ 40 ปี เท่ากับจะเหลือเวลาอีก 20 ปี ในการเก็บออมเงินจำนวน 1,400,000 บาท ที่ต้องการสำหรับใช้ในบั้นปลายชีวิต

แต่ถ้าอยากมีเงินสะสมไว้ใช้บั้นปลาย ดร.อภิสิทธิ์บอกว่า ทำประกันชีวิตแบบที่มีเงินคืนตอนสิ้นอายุกรมธรรม์หรือแบบเกษียณอายุก็ได้ แต่กรมธรรม์ดังกล่าวเบี้ยประกันค่อนข้างสูง

อีกหนึ่งทางเลือกที่ประหยัดกว่า คือทำประกันอุบัติเหตุ สุขภาพ และค่ารักษาพยาบาลรายปีและเก็บเงินส่วนที่กันเอาไว้ไปเป็นเงินออมแทน เนื่องจากเบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุ สุขภาพ และค่ารักษาพยาบาลรายปีจะถูกกว่าเบี้ยของประกันชีวิตที่มีเงินออมอยู่พอสมควร
 
 O ประกันที่เหมือนการลงทุนมีหรือไม่
สำหรับการซื้อประกันที่กำลังมาแรงเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ ดร.เมธี บอกว่าคงหนีไม่พ้นในเรื่องการทำประกันเพื่อการออมทรัพย์ หรืออาจมองว่าเป็นทางเลือกของการลงทุนแบบหนึ่ง ที่ผลตอบแทนที่ได้รับไม่ต้องเสียภาษี รูปแบบประกันแบบออมทรัพย์จะมีตั้งแต่ระยะสั้น 3-5 ปี ระยะกลาง 5-10 ปี และระยะยาว 10 ปีขึ้นไป แต่ละแบบได้ผลตอบแทนไม่เท่ากัน ขึ้นกับระยะเวลาที่คุ้มครอง  และจำนวนครั้งที่ส่งค่าเบี้ยประกัน เช่น ระยะเวลาสั้น อัตราดอกเบี้ยจะน้อยกว่าระยะกลาง แต่จะได้ในเรื่องของสภาพคล่องทางการเงิน และได้ผลตอบแทนคืนที่เร็วมากขึ้น ส่วนในระยะกลาง 5-10 ปี อาจจะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น และแบบระยะยาว ที่มีอายุ 10 ปี ขึ้นไป อาจจะได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นกว่าระยะกลางไม่มากนัก แต่จะได้รับสิทธิในการนำมาลดหย่อนภาษี

"จะเห็นว่าได้ 3 ต่อ ความคุ้มครอง ดอกเบี้ยประกันและเงินคืนจากภาษี  ส่วนการประกันอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่ายูนิตลิงค์ เป็นรูปแบบที่แยกสัดส่วนระหว่างการจ่ายเบี้ยเพื่อความคุ้มครอง และเงินเพื่อการลงทุนโดยสามารถเลือกกองทุนรวมที่เหมาะสมตามที่กำหนด และจะได้รับผลตอบแทนขึ้นอยู่กับผลประกอบการกองทุนรวม"

สำหรับคนที่อยากทำประกันและลงทุนไปในตัว ดร.อภิสิทธิ์บอกว่า นั่นรวมอยู่ในส่วนของการประกันชีวิต  เนื่องจากเป็นการประกันระยะยาวซึ่งเป็นทั้งการประกันชีวิตและการออมเงินในตัว บางแผนประกันยังให้เงินคืนหรือเงินปันผลระหว่างอายุสัญญา อาจจะเป็นทุกๆ ปี หรือ ทุกๆ 2 ปี ส่วนจะเลือกแบบใดที่ให้ผลตอบแทนสูง ต้องวิเคราะห์และบริหารจัดการการออมเงินให้ดี  เนื่องจากเบี้ยประกันค่อนข้างสูง มีหลากหลายรูปแบบและเป็นสัญญาระยะยาว การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในช่วงต้นสัญญาจะทำให้ผู้เอาประกันเสียสิทธิประโยชน์ได้

 O ถ้าไม่มีเงินส่งต่อควรทำยังไง
 ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้คนที่ทำประกันจำนวนไม่น้อย คือทำประกันไปแล้วเกิดปัญหาการเงินไม่มีเงินส่งต่อ ดร.เมธีแนะนำว่าอย่างแรก  ให้ไปขอรับเงินสด กรณีนี้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยจะสิ้นสุดทันที  จำนวนเงินสดที่ได้รับคืนจะเป็นไปตามจำนวนที่ระบุในตารางเวนคืนเงินสดที่แนบอยู่ท้ายกรมธรรม์ประกันภัย

อีกทางเลือกหนึ่งคือขอเปลี่ยนเป็นมูลค่าใช้เงินสำเร็จ กรณีนี้ระยะเวลาความคุ้มครองจะเท่าเดิมตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย แต่จำนวนเงินเอาประกันภัยจะลดลง จำนวนเงินเอาประกันภัยใหม่จะเป็นไปตามจำนวนที่ระบุในตารางมูลค่าใช้เงินสำเร็จที่แนบอยู่ท้ายกรมธรรม์ประกันภัย  และทางเลือกสุดท้าย ขอเปลี่ยนเป็นมูลค่าขยายเวลา  กรณีนี้จำนวนเงินเอาประกันภัยจะเท่าเดิมตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย แต่ระยะเวลาความคุ้มครองใหม่จะเป็นไปตามที่ระบุไว้ในตารางมูลค่าขยายเวลาที่แนบอยู่ท้ายกรมธรรม์ประกันภัย

นริศแนะนำสำหรับคนที่กำลังประสบปัญหานี้ว่า ขอใช้สิทธิตามกรมธรรม์ซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาภาระทางการเงินได้ ตามวิธีการต่างๆ ดังนี้ 1.เปลี่ยนระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย  2.กู้เงินตามกรมธรรม์ เพื่อนำมาชำระค่าเบี้ยประกันภัย  3.ลดทุนประกันภัย หรือยกเลิกสัญญาเพิ่มเติมบางรายการเพื่อลดจำนวนเบี้ยประกันให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจของผู้ถือกรมธรรม์  4.เปลี่ยนแบบประกันให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย  หรือ 5.ขอใช้สิทธิเปลี่ยนเป็นกรมธรรม์สำเร็จ หรือขยายระยะเวลาเอาประกันภัย


 O ตัวแทนขายแบบไหนที่ไม่ควรซื้อประกัน
 ปัจจุบันการซื้อขายประกันไม่ใช่เรื่องเสี่ยงหรือน่ากลัวเหมือนในยุคแรกๆ แล้ว  เนื่องจากมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำประกันมากขึ้น รู้ว่าประโยชน์และผลตอบแทนที่จะได้รับคืออะไร และการทำประกันก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการลงทุนสำหรับการออมทรัพย์เงินที่มีความเสี่ยงน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเลย รวมทั้งปัจจุบันยังมีหน่วยงาน คปภ. ที่ให้ความคุ้มครองและร้องเรียนสำหรับผู้ทำประกันอีกด้วย

" เราสามารถศึกษาข้อมูลของบริษัทประกันก่อนที่จะซื้อประกันได้จากงบการเงินที่เปิดเผยในเว็บไซต์ของแต่ละบริษัทประกัน นอกจากนั้น เราไม่ควรซื้อประกันจากตัวแทนที่ไม่มีหมายเลขไลเซ่นส์ หรือนำเสนอเพื่อคอมมิชชั่นของตนมากกว่าความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้ผู้ซื้อประกันชีวิตในแบบต่างๆ ควรถามตัวก่อนเสมอว่าต้องการซื้อประกันเพื่อเป้าหมายอะไรก่อน แล้วค่อยเลือกรูปแบบประกันที่ตอบสนองความต้องการของเราเองไม่ใช่ผู้ขายประกัน"

นริศ เสริมว่า ตัวแทนประกันชีวิตต้องมีใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต โดยเมื่อเข้าพบลูกค้าตัวแทนฯ จะต้องแสดงใบอนุญาต หรือลูกค้าขอดูใบอนุญาตของตัวแทนทุกครั้ง ดังนั้น ไม่ควรทำประกันกับตัวแทนที่ไม่มีใบอนุญาต หรือใบอนุญาตหมดอายุ ส่วนจะดูว่าบริษัทไหนมั่นคงหรือไม่ เขาบอกว่า  ตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต 2551 กำหนดให้บริษัทจัดสรรเบี้ยประกันภัยไว้เป็นเงินสำรองประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังมีความผูกพันอยู่ และเงินสำรองอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ซึ่งทำให้ธุรกิจประกันภัยมีความมั่นคงสูง สามารถมั่นใจบริษัทประกันภัยได้

ดร.อภิสิทธิ์ แนะว่า หากเจอตัวแทนประเภทนี้ อย่าซื้อประกันเด็ดขาด นั่นก็คือตัวแทนที่ไม่สามารถตอบคำถามและแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับสุขภาพทางการเงินของผู้เอาประกัน  ซึ่งตัวแทนลักษณะดังกล่าวยังขาดความเข้าใจในหลักการประกันชีวิตและอาจนำไปสู่การทำประกันที่ไม่ตรงตามความต้องการหรือจ่ายเบี้ยเสียเปล่า

"พวกตัวแทนหรือนายหน้าที่ไม่มีบัตรอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และผ่านการอบรมเรื่องประกัน  ส่วนจะเลือกบริษัทประกันแบบไหนให้แน่ใจว่าไม่เจ๊งแน่   หลักๆ คือ ดูที่ชื่อเสียงและฐานะทางการเงินครับ ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้จะเป็นเสียงสะท้อนทั้งความน่าเชื่อถือและคุณภาพการบริการ"

 O ประกันประเภทไหนเคลมภาษีได้   
  ดร.เมธี บอกว่า ทุกวันนี้เราสามารถนำประกันไปเคลมภาษีได้  โดยจะต้องเป็นประกันที่มีอายุกรมธรรม์ตั้งแต่ 10 ปีเป็นต้นไป จึงจะสามารถนำเบี้ยที่ชำระไปหักลดหย่อนภาษีได้ทุกปีที่มีการจ่ายค่าเบี้ยประกันปีละไม่เกิน 100,000 บาท
 นริศเสริมว่ากรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้  ให้หักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท และสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้เริ่มทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป การหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต  ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 172  ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2551  ซึ่งสรุปหลักเกณฑ์ได้ดังนี้

1. กรมธรรม์ประกันชีวิต ที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติม  ในส่วนของค่าเบี้ยประกันส่วนควบ ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้

2. กรมธรรม์ที่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์  ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้คือ กรณีได้รับเงินตอบแทนคืนทุกปี  จะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี หรือกรณีได้รับเงินตอบแทนคืนตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดในกรมธรรม์  จะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสม  ของแต่ละช่วงระยะเวลาที่มีการจ่ายเงินตอบแทนคืน  หรือ(ค) กรณีได้รับเงินตอบแทนคืน ที่ไม่ใช่ (ก) หรือ (ข)  ผลรวมของเงินตอบแทนคืนสะสม  ตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่มีการจ่ายเงินตอบแทนคืน  ต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมทั้งหมดในช่วงเวลาดังกล่าว
 ทั้งนี้ เงินตอบแทนคืนทั้ง 3 ข้อ  ไม่รวมเงินปันผลตามกรมธรรม์ หรือเงินตอบแทนคืนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดการชำระเบี้ยประกันแล้ว หรือเงินตอบแทนคืนที่จ่ายเมื่อสิ้นสุดอายุกรมธรรม์

นอกจากนี้ ข้อ 3 ผู้มีเงินได้สามารถใช้หนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันที่ได้รับจากบริษัทประกันชีวิตเป็นหลักฐานในการหักลดหย่อนภาษีได้  โดยบริษัทต้องระบุจำนวนเบี้ยประกันชีวิต  และเบี้ยประกันส่วนควบ  แยกออกจากกัน  และกรมธรรม์ที่มีการรับเงินตอบแทนคืนระหว่างอายุกรมธรรม์บริษัทต้องระบุเงื่อนไขตามข้อ 2 ด้วย

ทั้งหมดนี้คือ 10 เรื่องของประกันที่บางทีคุณอาจจะบอกว่าพื้นๆ แต่ต้องถามว่า แล้วพื้นคุณน่ะแน่นรึยัง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!