TARADTHONG.COM
เมษายน 27, 2024, 04:16:02 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประสบการณ์เลวร้ายเมื่อวัยเยาว์ ส่งผลระยะยาวต่อสุขภาพกาย-ใจ  (อ่าน 3841 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: สิงหาคม 21, 2010, 07:00:34 AM »

ประสบการณ์เลวร้ายเมื่อวัยเยาว์ ส่งผลระยะยาวต่อสุขภาพกาย-ใจ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


บีบีซีนิวส์ - นักจิตวิทยาระบุความเครียดในวัยเด็กมีผลระยะยาวถึงความป่วยไข้เรื้อรังและการเสียชีวิตก่อนวัยเมื่อโตขึ้น
       
       การศึกษาหลายฉบับซึ่งเสนอต่อที่ประชุมสมาคม อเมริกัน ไซโคโลจิคัล แอสโซซิเอชัน บ่งชี้ว่าความเครียดในวัยเด็กจากความยากจนหรือการถูกล่วงละเมิด อาจนำไปสู่โรคหัวใจ อาการอักเสบ และกระตุ้นภาวะสูงวัย
       
       ในการศึกษาชิ้นหนึ่ง นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก สหรัฐฯ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีชีวิตยากจนและสัญญาณเบื้องต้นของโรคหัวใจในวัยรุ่นสุขภาพดี 200 คน
       
       นักวิจัยพบว่า วัยรุ่นที่มาจากครอบครัวยากจนที่สุดมีหลอดเลือดหัวใจแคบลง และความดันโลหิตสูง
       
       งานวิจัยชิ้นที่ 2 จากนักวิจัยทีมเดียวกันแสดงให้เห็นว่า เด็กจากครอบครัวยากจนมีแนวโน้มตีความสถานการณ์สังคมสมมติว่าเป็นภัยคุกคาม
       
       เด็กเหล่านี้ยังมีความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจสูง มีคะแนนความเป็นปรปักษ์และโกรธขึ้งสูงระหว่างทำภารกิจเพื่อทดสอบความเครียดในห้องวิจัย
       
       ศาสตราจารย์คาเรน แมททิวส์ ผู้นำการวิจัยกล่าวว่า การค้นพบนี้สนับสนุนงานวิจัยในอดีตที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดในวัยเด็กกับโรคหลอดเลือดหัวใจเมื่อโตขึ้น นอกจากนั้น สภาพแวดล้อมที่ตึงเครียดและคาดเดาไม่ได้ ยังทำให้เด็กอ่อนไหวรุนแรงกับการคุกคามที่คิดว่ากำลังเกิดขึ้น
       
       “การโต้ตอบกับคนอื่นจึงกลายเป็นที่มาของความเครียด ซึ่งอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เช่นเดียวกับระดับการอักเสบ และบั่นทอนพลังสำรองของร่างกาย ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ”
       
       การศึกษาอีกชิ้นที่นำเสนอในที่ประชุมแสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์ในวัยเด็ก เช่น การเสียชีวิตของพ่อแม่ หรือการถูกล่วงละเมิด อาจทำให้คนๆ นั้นอ่อนแอต่อผลลัพธ์จากความเครียดเมื่อโตขึ้น และทำให้อายุขัยสั้นลง
       
       นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ ศึกษากลุ่มผู้ใหญ่ ที่บางคนเป็นคนดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
       
       กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ถูกวัดระดับการอักเสบในเลือดซึ่งอาจเป็นสัญญาณความเครียด รวมถึงความยาวของเทโลเมียร์ที่ส่วนปลายของดีเอ็นเอในโครโมโซมที่เชื่อมโยงกับโรคจากภาวะสูงวัย
       
       กลุ่มตัวอย่าง 132 คนยังต้องตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับอาการซึมเศร้าและการถูกล่วงละเมิดหรือทอดทิ้งในวัยเด็ก
       
       ผลศึกษาชิ้นที่ 3 ระบุถึงการถูกล่วงละเมิดทางจิตใจ ทางอารมณ์ และทางเพศระหว่างเป็นเด็ก ซึ่งพบว่าคนที่เคยถูกล่วงละเมิดมีเทโลเมียร์สั้นลง และระดับการอักเสบเพิ่มขึ้น กระทั่งหลังจากพิจารณาปัจจัยด้านอายุ สถานะการดูแล เพศ ดัชนีมวลกาย การออกกำลังกาย และการนอนหลับ
       
       “กลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์เลวร้ายในอดีตมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นลง 7-15 ปี” ศาสตราจารย์เจนิซ ไคโคลท์-เกลเซอร์ ผู้นำการวิจัย ระบุ
       
       ดร.แอนเดรีย เดนิส จากอินสติติวท์ ออฟ ไซเคียทรีในลอนดอน กล่าวว่าจำเป็นต้องตีความการศึกษาเหล่านี้อย่างระมัดระวัง เนื่องจากมีโอกาสที่คนเราจะจำประสบการณ์วัยเด็กผิดพลาด
       
       “อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าผมไม่เชื่อผลลัพธ์เหล่านี้ หลักฐานค่อนข้างสอดคล้องและบ่งชี้ว่า ความเครียดในวัยเด็กมีผลต่อสุขภาพจิต และยังดูเหมือนมีผลระยะยาวต่อสุขภาพร่างกายด้วย”
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!