TARADTHONG.COM
เมษายน 26, 2024, 04:07:09 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นักวิชาการหวั่น คนรายได้น้อยขาดโอกาสใช้ 3G  (อ่าน 3824 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: กันยายน 13, 2010, 06:22:14 PM »

นักวิชาการหวั่น คนรายได้น้อยขาดโอกาสใช้ 3G

นักวิชาการ หวั่น 3G ไม่กระจายถึงต่างจังหวัด ห่วงผู้ประกอบการคิดราคาค่าบริการแพง ปิดโอกาสให้คนมีรายได้น้อยเข้าถึงข้อมูล

          ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผย ระหว่างการเสวนา "เครือข่ายพลเมืองเน็ต" ภายใต้หัวข้อ "สิทธิพลเมืองกับ 3G" ว่า ปัญหาของการใช้อินเทอร์เน็ตวันนี้คือ การกระจุกตัวของผู้ใช้ ซึ่งคาดว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นคนใน กทม. ดังนั้น หากจะให้ 3G เป็นเครื่องมือกระจายความรู้ ข้อมูลไปสู่ประชาชนในชนบท กทช. ต้องตอบโจทย์การกระจายตัวของเทคโนโลยีให้ได้

          นอกจากนี้ ค่าบริการอินเทอร์เน็ต ที่ยังแพงเกินไป ยังเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้คนยากจน เข้าถึง 3G โดยเฉพาะระบบพรีเพด (Prepaid จ่ายก่อนใช้) เดือนละ 170 บาท ขณะที่ผู้มีรายได้น้อย มีรายได้เฉลี่ย 1,200 บาทต่อเดือน ค่าบริการเกินร้อยละ 10 จึงถือว่าแพงเกินไป และเป็นความเหลื่อมล้ำทางโอกาส

          ขณะที่นายต่อพงษ์ เสลานนท์ ประธานคณะทำงาน ด้านกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ ในคณะอนุกรรมการ กทช. กล่าวว่า การใช้ระบบ 3G จะช่วยเพิ่มโอกาส ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น โดยค่าใช้จ่ายจะต้องไม่สูงเกินไป เพื่อเปิดทางให้ผู้มีรายได้น้อย ได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้ประโยชน์จาก 3G ต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยี ทั้งในด้านบวกและด้านลบ

          ทางด้านนายนที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เปิดเผยถึงการประมูล 3G ว่า การเตรียมการในการประมูลคลื่นความถี่ 3G มีความซับซ้อน เพราะต้องการรับประกันความโปร่งใส เป็นธรรม สำหรับผู้เข้าร่วมการประมูลทุกราย ตลอดกระบวนการ พร้อมกับประกันต่อประชาคมโลกว่า การลงทุนในโครงข่ายโทรคมนาคมในประเทศไทย จะได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมจาก กทช.





          ทั้งนี้ สำหรับความคืบหน้าการเข้ายื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม เคลื่อนที่ IMT บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz หรือ ระบบ  3G นั้น ล่าสุดทาง กทช. ได้ประกาศว่า บริษัททั้ง 3 แห่งที่ยื่นคำขอมา ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นแล้ว โดยในวันที่ 15-16 ก.ย.นี้ ทาง กทช. จะเชิญทั้ง 3 บริษัท ชี้แจงและทดสอบการประมูลต่อไป ซึ่งบริษัททั้ง 3 แห่ง คือ

           บริษัทดีแทค อินเตอร์เนต เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของดีแทค

           บริษัท เรียล มูฟ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของทรูมูฟ

           บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค ซึ่งเป็นบริษัทลูกของเอไอเอส



ขั้นตอนการประมูล 3G

          สำหรับการประมูล 3G  ในครั้งนี้ จะใช้ระบบการประมูลแบบ SMR (Simultaneous Multiple Round Auction) ซึ่งเป็นวิธีการประมูลที่ดำเนินการอยู่เป็นปกติในหลายประเทศทั่วโลก แต่สำหรับประเทศไทย การประมูลคลื่นความถี่แบบ SMR ในครั้งนี้เป็นครั้งแรก โดยใช้การประมูลผ่านระบบ Intranet ในสถานที่ เวลาที่ กทช จัดไว้ให้ พร้อมควบคุมสภาพแวดล้อมทั้งหมด ซึ่งการประมูล 3G ครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประมูล 3 ราย ดังนั้น กทช จึงได้ดำเนินการให้ประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่จำนวนสองชุด และเริ่มรอบแรกในวันที่ 20-28 ก.ย.นี้

          โดยก่อนจะมีการเริ่มประมูลในวันที่ 20 ก.ย. ในวันที่ 19 ก.ย.ผู้เข้าประมูลทั้ง 3 รายจะต้องส่งตัวแทนของบริษัทมา 5 คน เพื่อรายงานตัวต่อคณะกรรมการ กทช และเข้าพักในโรงแรมเอวาซอน หัวหิน ซึ่งเป็นสถานที่จัดประมูล ก่อนที่จะทำการประมูลรอบแรก

          ทั้งนี้ ความน่าสนใจของการประมูล 3G ครั้งนี้คือ ผู้เข้าประมูลทั้ง 3 บริษัทจะถูกจัดให้อยู่ในบ้านคนละหลังตลอดทั้ง 8 วันของการประมูล หากประมูลไม่เสร็จจะต่อเวลาไปอีก 1-2 วัน โดยบ้านแต่ละหลังจะถือเป็น "Red Zone" มี รปภ.เฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง จะถูกตัดสัญญาณมือถือ สัญญาณทีวี สัญญาณวิทยุ แต่ภายในบ้านพักจะมีคอมพิวเตอร์ติดตั้งอยู่ 4 ตัว โดย 1 ตัวเป็นเครื่องสำหรับการเคาะราคาประมูลผ่านทาง Intranet อีก 1 เครื่องเป็นเครื่องสำรอง ส่วนอีก 2 เครื่องสำหรับใช้งานทั่วไป แต่ไม่สามารถออนไลน์ติดต่อกับภายนอกได้

          นอกจากนี้ ภายในบ้านพักจะมี DVD ภาพยนตร์กว่า 100 เรื่องไว้ให้ผู้เข้าประมูลผ่อนคลาย มีอาหารให้เลือกทานกว่า 50 สำรับ โดยเปลี่ยนบริกรที่เข้ามาเสิร์ฟอาหารทุกวัน และบริกรก็ไม่ทราบว่าตัวเองจะได้ไปเสิร์ฟอาหารที่ห้องใด เพื่อป้องกันการฮั้วเกิดขึ้น และจะมีแม่บ้านเข้ามาทำความสะอาดห้องให้ทุกวัน แต่ระหว่างที่แม่บ้านเข้ามาทำความสะอาดนั้น ผู้เข้าประมูลจะถูกพาไปเก็บตัวที่ "Safe Zone" ก่อนจะได้กลับเข้ามายังบ้านพักอีกครั้ง หลังทำความสะอาดห้องเสร็จ ขณะที่สื่อมวลชนจะได้อยู่ในพื้นที่ "Green Zone" ซึ่งไม่ได้มีการตัดสัญญาณใด ๆ เพื่อความสะดวกในการทำงาน

          เมื่อถึงวันที่ 20 ก.ย. จะเป็นวันแรกของการประมูล 3G รอบแรก โดยราคาเริ่มต้นของการประมูลอยู่ที่ 12,800 ล้านบาท รอบนี้เป็นการหาผู้ชนะการประมูล 2 รายจากทั้งหมด 3 ราย (N-1) ส่วน 1 รายที่แพ้จะต้องไปเริ่้มต้นประมูลใหม่ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งราคาเริ่มต้นในรอบที่สอง คือราคาที่ประมูลได้ในรอบแรก

          ทั้งนี้ ก่อนการประมูลผู้เข้าประมูลทั้ง 3 บริษัทจะต้องจับฉลากเลือกรหัสลับ ไว้เป็นตัวแทนชื่อบริษัทที่ปรากฎในการประมูล ซึ่งจะทำให้แต่ละบริษัทไม่ทราบว่า บริษัทใดได้รหัสลับได้ ใช้ชื่อไหน

          จากนั้น ผู้เข้าร่วมการประมูลจะได้รับ Username (หรือ Login ID) และรหัสผ่านครั้งแรก เพื่อเข้าใช้งานโปรแกรมการประมูลผ่านระบบ Intranet ของคอมพิวเตอร์ในบ้านพักแต่ละหลัง โดยการประมูลกำหนดไว้วันละ 12 รอบ รอบละ 1 ชั่วโมง เวลาเริ่มประมูลตั้งแต่ 09.00-21.00 น. สามารถเคาะราคาเพิ่มขึ้นได้ครั้งละ 640 ล้านบาท นั่นเท่ากับว่าใน 1 วัน ราคาจะเพิ่มสูงสุดที่ 7,680 ล้านบาท จากราคาเริ่มต้นที่ 12,800 ล้านบาท โดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติมคือ

            ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถเลือกประมูลใบอนุญาต 1 ใบต่อหนึ่งรอบเท่านั้น (การประมูลจะเป็นการประมูล 2 ใบพร้อมกัน)

            ผู้เข้าประมูลต้องเคาะเสนอราคาในครั้งแรก

            ผู้เข้าประมูลต้องเสนอราคาภายใน 30 นาทีแรกของแต่ละรอบ ซึ่งจะใช้เวลาประมวลผล 20 นาที และอีก 10 นาทีเป็นการประกาศราคาที่เพิ่มขึ้นผ่านทาง Auction Software โดย กทช จะพิจารณาจากราคาที่เสนอเข้ามาสูงสุด แต่หากเสนอราคาเท่ากัน จะให้ผู้เสนอราคาเร็วที่สุดเป็นผู้ชนะชั่วคราวไป โดยการรายงานผลผู้ชนะชั่วคราวในรอบนั้น จะรายงานเป็นรหัสของผู้ชนะการประมูล ซึ่งรายใดเสนอราคาสูงสุดในใบอนุญาตใด หน้าจอจะปรากฎว่าเครื่องหมายเป็นผู้ชนะราคาชั่วคราว ส่วนอื่นจะไม่มีเครื่องหมายใด ๆ ปรากฎบนหน้าจอ

            ผู้เข้าประมูลสามารถงดเคาะราคาได้ 3 ครั้งเท่านั้น หากไม่เคาะราคาเป็นครั้งที่ 4 ให้ถือว่าสละสิทธิ์การประมูล และการประมูลถือว่าสิ้นสุดลง ได้บริษัท 2 รายที่เป็นผู้ชนะในรอบแรกทันที

          โดยการประมูลจะดำเนินเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ทุวันจนกว่าจะมีผู้ยอมแพ้ คือไม่กดเสนอราคา ซึ่งการประมูลอาจจะจบลงในวันแรก หรือประมูลจนครบ 7 วัน หรือมากกว่านั้นก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ที่แต่ละบริษัทวางแผนมา

          อย่างไรก็ตาม มีการวิเคราะห์กันว่า การประมูลรูปแบบนี้สามารถหยั่งเชิงคู่แข่ง ด้วยการกด หรือไม่กดราคาในแต่ละรอบได้ ซึ่งในวงในมีการคาดการณ์กันว่า ราคาประมูล 3G น่าจะอยู่ที่ 30,000 ล้านบาท นั่นเท่ากับว่า การประมูลควรจะดำเนินไปถึงวันที่ 2-3 ก่อนจะจบลง แต่หากการประมูลเกิดจบลงเพียงแค่วันแรก แน่นอนว่า ข้อสงสัยเรื่องการ "ฮั้วประมูล" ก็น่าจะต้องเป็นประเด็นให้ติดตามต่อไปในอนาคต แต่หากมีกรณีการ "ฮั้วประมูล" เกิดขึ้น จะถือว่า มีความผิดทางอาญาตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) ซึ่งมีโทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิต

คนไทยได้อะไรจาก 3G

          ปัจจุบันนั้นประเทศไทยมีการให้บริการระบบ 2G ซึ่งถือว่า มีคุณภาพดีเพียงพอต่อการให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว แต่สำหรับ 3G นั้น จะเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย (Wireless Broadband) หรือ WiMAX ซึ่งจะช่วยการติดต่อสื่อสาร และรับข้อมูลขนาดใหญ่เป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

          นั่นเพราะ 3G มีช่องทางสัญญาณความถี่ และความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานด้านมัลติมีเดีย เช่น การรับชมข้อมูล ภาพ เสียง ดูแผนที่ หรือเล่นเกมที่มีกราฟฟิกได้สมจริงมากขึ้น นอกจากนี้การส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายจะเป็นไปได้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการส่งแฟกซ์ , การโทรศัพท์ระหว่างประเทศ, การประชุมทางไกล, การดาวน์โหลดข้อมูลขนาดใหญ่ ,การศึกษา ฯลฯ รวมทั้งเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) จึงช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายมากขึ้นนั่นเอง

          ทั้งนี้ การให้บริการ 3G อาจจะมีคุณภาพและความเร็วต่ำกว่าเทคโนโลยี Fiber to the Home (FTTH) ผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง หรือแม้กระทั่งบรอดแบรนด์ ADSL ผ่านสายโทรศัพท์ แต่เพราะต้นทุนของ 3G ต่ำกว่ามาก และสามารถให้บริการได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา เป็นการให้บริการผ่านโครงข่ายไร้สายเช่นเดียวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงทำให้ 3G ได้เปรียบในเรื่องความสะดวกมากที่สุด และเป็นช่องทางที่จะทำให้คนไทยเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายที่สุด

          ซึ่งหากว่า คนไทยได้เข้าถึงข้อมูลมากขึ้น ง่ายขึ้น ติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว สังคมไทยก็จะกลายเป็นสังคมข้อมูลข่าวสาร แน่นอนว่าย่อมส่งผลให้เกิดการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ตามมาได้ในอนาคต แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องมีการพัฒนา "คน" ให้มี "วิจารณญาณ" ในการรับรู้ และรับฟังข่าวสารต่าง ๆ ที่จะเข้ามาในชีวิจประจำวัน ควบคู่ไปกับการพัฒนาของเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!