TARADTHONG.COM
เมษายน 19, 2024, 07:52:28 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตะลึง! อาเซียนแข่งกันซื้ออาวุธ อินเดียนำโด่ง  (อ่าน 5239 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: มีนาคม 15, 2011, 09:57:58 PM »

ตะลึง! อาเซียนแข่งกันซื้ออาวุธ อินเดียนำโด่ง


SIPRI วิตกอาเซียนแข่งซื้ออาวุธ (ไทยโพสต์)

          สถาบันค้นคว้าวิจัยสันติภาพชื่อดังจากสวีเดน ออกรายงานประจำปีสรุปความเคลื่อนไหวด้านการซื้อขายอาวุธทั่วโลกรอบ 5 ปี ชี้ประเทศกำลังพัฒนากระหน่ำซื้ออาจกระตุ้นการแข่งขันด้านอาวุธในพื้นที่ให้ตึงเครียด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่น้อยหน้า สามชาติช่องแคบมะละกาช้อปกระจาย ผู้เชี่ยวชาญหวั่นบั่นทอนเสถียรภาพ แถมบ่อนทำลายสันติภาพที่ยืนยาวมาหลายทศวรรษ

          สถาบันค้นคว้าวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศสตอกโฮล์ม (SIPRI) หน่วยงานคลังสมองอิสระจากสวีเดน ที่ศึกษาค้นคว้าวิจัยเรื่องความมั่นคงระหว่างประเทศ, การสั่งสมอาวุธและการลดอาวุธทั่วโลก กล่าวในรายงานประจำปีซึ่งเผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ 15 มีนาคม ว่าการซื้อขายอาวุธทั่วโลกช่วงปีพ.ศ. 2548-2552 เพิ่มขึ้นจากช่วงปีพ.ศ. 2543-2547 ถึง 22 เปอร์เซ็นต์ โดยอาวุธที่ประเทศต่าง ๆ ซื้อกันมากคือเครื่องบินรบ คิดเป็น 27 เปอร์เซ็นต์ของอาวุธทั้งหมด

          โดยสหรัฐฯ ยังคงเป็นประเทศผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดในโลกถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยรัสเซีย 27 เปอร์เซ็นต์ ส่วนจีนและอินเดียเป็นผู้นำเข้าอาวุธตามแบบรายใหญ่สุด แต่หากแยกเป็นภูมิภาค ทวีปเอเชียและเขตโอเชียเนียนำเข้าอาวุธมากสุด คิดเป็น 41 เปอร์เซ็นต์ ยุโรปตามมาที่ 24 เปอร์เซ็นต์ และภูมิภาคตะวันออกกลาง 17 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ในกลุ่ม 10 ประเทศที่นำเข้าอาวุธมากที่สุด มีชาติน้องใหม่ด้วย 2 ชาติคือ สิงคโปร์และแอลจีเรียอยู่ที่อันดับ 7 และ 9 ตามลำดับ

          รายงานชี้ว่า ข้อมูลล่าสุดนี้ก่อความวิตกกังวล เกี่ยวกับการแข่งขันกันด้านอาวุธในภูมิภาคที่ความตึงเครียดคุกรุ่นอยู่ ทั้งในตะวันออกกลาง, แอฟริกาเหนือ, อเมริกาใต้, เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

          พอล ฮอลทอม ผู้อำนวยการโครงการเคลื่อนย้ายอาวุธของสถาบันค้นคว้าวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศสตอกโฮล์ม ได้กล่าวว่า ประเทศที่รุ่มรวยทรัพยากร คือพวกที่สร้างเทรนด์ด้วยการนำเงินรายได้ไปซื้อหาฝูงบินรบราคาแพง ซึ่งส่งผลให้ประเทศเพื่อนบ้านตอบโต้ด้วยการสั่งซื้อบ้าง "ใครสักคนอาจตั้งคำถามว่า มันเป็นการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมหรือไม่ สำหรับภูมิภาคที่มีระดับความยากจนสูง" เขาเสริม

          ในส่วนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรายงานเผยว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีการสั่งสมอาวุธเพิ่มขึ้นแบบพรวดพราด เมื่อเทียบกับระยะ 5 ปีก่อนหน้านั้น โดยมาเลเซียนำเข้าอาวุธเพิ่มขึ้น 722 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยสิงคโปร์ 146 เปอร์เซ็นต์ และอินโดนีเซีย 84 เปอร์เซ็นต์

          ซีมอน วีเซอแมน ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียของสถาบันค้นคว้าวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศสตอกโฮล์ม กล่าวในรายงานว่า กระแสของการแสวงหาอาวุธในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน อาจกระทบต่อเสถียรภาพของภูมิภาคนี้ และก่อกวนช่วงเวลาหลายสิบปีแห่งความสงบสันติ

          ด้าน สิงคโปร์, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งมีดินแดนติดช่องแคบมะละกา ได้เพิ่มการลาดตระเวนทางทะเลเพื่อคุ้มครองเส้นทางเดินเรือสำคัญในเดือนนี้ ภายหลังกองทัพเรือสิงคโปร์ได้เบาะแสว่ากลุ่มก่อการร้ายมีแผนโจมตีเรือบรรทุกน้ำมัน

          ทั้งนี้ สถาบันค้นคว้าวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศสตอกโฮล์มแถลงว่า การที่สามประเทศนี้ซื้อเครื่องบินรบที่บินได้ระยะทางไกล รวมถึงเรือรบ เป็นการกระตุ้นให้ประเทศเพื่อนบ้านคิดหาซื้อบ้าง โดยเวียดนามเป็นชาติล่าสุดที่เสริมเขี้ยวเล็บของตน ด้วยการสั่งซื้อเครื่องบินรบบินระยะไกลและเรือดำน้ำเมื่อปีที่แล้ว

          กรณีของสิงคโปร์ ปริมาณการนำเข้าอาวุธช่วงปีพ.ศ. 2548-2552 ทำให้ประเทศเกาะเล็ก ๆ ชาตินี้ เป็นสมาชิกอาเซียนชาติที่ติดท็อปเท็นผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่สุด นับแต่สิ้นสุดสงครามเวียดนาม ทั้งนี้ ฐานข้อมูลการเคลื่อนย้ายอาวุธของสถาบันค้นคว้าวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศสตอกโฮล์ม เป็นการรวบรวมเฉพาะอาวุธตามแบบขนาดใหญ่ เช่น เครื่องบิน, ยานหุ้มเกราะ, ปืนใหญ่, เซ็นเซอร์, มิสไซล์, เรือ และระบบป้องกันมิสไซล์ โดยไม่นับอาวุธขนาดเล็ก เช่น ปืนเล็ก, เครื่องกระสุน, รถบรรทุก และอาวุธเบาเกือบทั้งหมด
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!