กราฟอะไรบ้างที่ควรนำมาดู
ไม่ขออะไรมาก..ขอเพียงโหวตให้กำลังใจคนทำเว็บ
ปูพื้นฐานเรื่องทองคำ ----> กราฟอะไรบ้างที่ต้องดู
ทองคำความบริสุทธิ์ 96.5% (มาตรฐานในประเทศไทย)
- ทองรูปพรรณ น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.16 กรัม
- ทองคำแท่ง น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.244 กรัม
ทองคำความบริสุทธิ์ 99.99%
- ทองคำ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 32.1508 (ทรอย) ออนซ์
- ทองคำ 1 (ทรอย) ออนซ์ เท่ากับ 31.1040 กรัม
หมายเหตุ: ทรอยออนซ์ เป็นหน่วยชั่งของโลหะมีค่า แต่มักเรียกสั้นๆ ว่า ออนซ์
- 1 ทรอยออนซ์ เท่ากับ 1.097 ออนซ์ (ปกติ)
- 12 ทรอยออนซ์ เท่ากับ 1 ทรอยปอน
- 1 ทรอยปอน เท่ากับ 373 กรัม
การลงทุนทองคำ
การตั้งราคาทองในประเทศไทยอ้างอิงจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ Goldspot และ USD-THB
Goldspot (ในที่นี้ คือ KITCO เพราะอ้างอิงจากเว็บไซต์ทองคำต่างประเทศบริษัทKITCO)
คือ ราคาทองต่างประเทศ มีการซื้อขายทองโดยใช้เงินสกุลดอลล่าร์
USD-THB (ในที่นี้คือTHB)**การดูกราฟควรดูกราฟที่มีค่าเงินTHBเปลี่ยนไปกับกราฟด้วย เพราะค่าเงินบาทนั้นมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงตลอดทั้งวัน
Thai Baht Currency คือ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์
การตั้งราคาทองในประเทศไทย (ในที่นี้คือSpot Thai Gold เรียกสั้นๆว่า Spot)มีสูตรคำนวณดังนี้
สูตรคำนวณราคาทองคำ* = (spot gold + 1**) x อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท x 0.4729
*แต่ปัจจุบัน จะเป็น (spot gold + 2) x อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท x 0.4729
**การจะใช้เลข+1หรือ+2 ขึ้นกับสมาคมจะเห็นสมควรว่าควรบวกเท่าไหร่ เพื่อไม่ให้ราคาทองแกว่งมากเกินไป
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เพื่อความเข้าใจอย่างละเอียดและถูกต้องของการตั้งราคาทองไทยซึ่งเป็น 96.5% ขออธิบายต่อไปนี้
ราคาทองของไทยการตั้งราคาจะขึ้นกับ 4 ตัวแปรหลักคือ
1) ราคาทองต่างประเทศ
2) อัตราเงินบาทต่อ US Dollar
3) อัตราค่า Premium หรือ ค่าใช้จ่ายขนส่งต่างๆ
4) ภาวะตลาดค้าทองคำในประเทศ
ทั้ง 4 ข้อนี้ต้องนำมาคำนวณพร้อมๆ กันเพื่อหาราคาที่เหมาะสมกล่าวคือ
1) ราคาทองคำต่างประเทศ
1.1) ราคาทองคำต่างประเทศที่ท่านได้มาจาก website ต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นราคา INDICATIVE PRICE (ราคาโดยประมาณ) ไม่ใช่ราคาที่ ใช้ซื้อขายกันจริง ซึ่งราคาดังกล่าวมักจะมีความคลาดเคลื่อน จากราคา REAL TIME ของ BROKER ประมาณ 1-5 เหรียญต่อ ounces ขึ้นอยู่กับภาวะตลาดทองคำในขณะนั้น เช่นราคามีความผันผวนขึ้นลง ราคาพวกนี้จะมีความต่างจากความเป็นจริงอย่างมากได้โดยเฉพาะ ตลาดทองคำตอนนี้ที่มีความผันผวนอย่างมาก
จะเห็นได้ว่าใน Website ต่างๆ มักจะเขียนอยู่เสมอว่า ไม่รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลราคานั้นๆ
1.2) การคำนวณราคาจะต้องรู้ว่าจะใช้ราคา bid หรือ offer มาคำนวณ ซึ่งจะเกี่ยวกับภาวะการค้าดังข้อที่ 4 ที่จะกล่าวต่อไป
1.3) ราคาทองคำจะมีส่วนห่างของราคา จะมีการห่างประมาณ 1-2 เหรียญเป็นปรกติ แต่ในภาวะผันผวนขณะนี้ ราคาซื้อและขายจริงจะมีการถ่างกว้างออกไป ประมาณ 3-6 เหรียญ ตามตลาดที่ผันผวน
ตัวแปรแรกตัวนี้เป็นตัว คำนวณราคาทองของตลาดโลก ถ้าท่านนำเอาราคาที่ เป็นแค่ ราคาประมาณมาเทียบ อาจมีโอกาสผิดไป 4-7 เหรียญได้
2) อัตราเงินบาทต่อ US Dollar
ค่าเงินบาทที่ท่านเห็นใน web ต่างๆ ก็จะเป็นค่าโดยประมาณ เช่นเดียวกันกับราคาทอง ซึ่งอาจจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ 0.04 - 0.15 บาทต่อ US Dollar(ท่านโปรดอย่างลืมว่าค่าเงิน dollar ต่อไทยบาท ธนาคารเองยังให้ราคาลูกค้าต่างๆไม่เท่ากัน ตามปริมาณการซื้อขาย เช่น ราคาที่ท่านเคยเห็นตามประกาศที่ ศูนย์แลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารต่างๆ ก็จะเห็นได้ว่ามีราคาต่างจากบน website ถึง 20-50 สตางค์ต่อ 1 US dollar ด้วยซ้ำไป) รวมทั้งต้องรู้ว่าจะนำเอาราคา bid หรือ offer มาใช้คำนวณโดยเลือกให้ถูกข้าง ขึ้นกับภาวะตลาดตามข้อที่ 4 ที่จะกล่าวต่อไป
สรุปในข้อเงินบาท ก็จะเห็นได้ว่า ความแตกต่างของราคาที่นำมาใช้ก็จะมีความผันผวนได้เป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน
ความสำคัญของข้อ 1 และ ข้อ 2 อยู่ที่ว่า ราคาที่ท่านเห็นบน website ต่างๆ เป็นราคาโดยประมาณของตลาดเท่านั้นไม่ได้มีการส่งมอบของจริง อันจะนำไปสู่วิธีคิดในข้อที่ 3 ต่อไป
3) อัตราค่า Premium หรือ ค่าใช้จ่ายขนส่งต่างๆ
อัตราค่า Premium หรือ ค่าใช้จ่ายขนส่งต่างๆ กล่าวเป็นภาษาไทยง่ายๆว่าคือค่าใช้จ่ายขนส่ง ทองคำจริงระหว่างประเทศ ข้อคิดของข้อนี้ความ ซับซ้อนอยู่ว่า:
3.1) ทองคำในประเทศไทยไม่ได้มี เหมืองของตนเอง ดังนั้น stockทองที่มีในร้านทองแต่ละแห่งก็มี จำกัดตามปริมาณที่คาดว่าเป็น ปริมาณซื้อขายปรกติเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะเช่นนี้ ที่ราคาทองคำมีราคาสูง อีกทั้งราคามีความผันผวนอย่างมาก ร้านค้าทองเองก็จะไม่พยายามเก็บ stockให้มากนักเพราะเป็นการจมทุน และมีโอกาสที่จะขาดทุนได้ ถ้าราคาทองคำตกลงมาอย่างเช่นในช่วง วันที่ 10 ตุลาถึงวันที่ 22 ตุลาที่ราคาทองคำในประเทศที่ราคาลงมา 1,600 บาท ต่อบาททองคำ ในเวลาเพียง 12 วันเท่านั้น
ดังนั้นเมื่อมีแรงซื้อหรือขายเข้ามาที่มากขึ้น พ่อค้าทองเองก็ต้องมีการ นำเข้าหรือส่งออก ตามภาวะ ทองคำในประเทศ (Demand&Supply)
3.2) ค่า Premium จะมีค่าได้ทั้งบวกและลบกล่าวคือ ถ้าเป็นข้างที่เราต้องนำเข้า ค่า Premium จะเป็นบวก ในทางกลับกันถ้าเราจะต้องส่งออก ไปขายต่างประเทศ ค่า Premium จะเป็นลบเรียกว่า Discount ซึ่งอัตราค่า Premiumปกติในปีที่แล้ว อยู่ที่
1-2 เหรียญต่อ ounce แต่ในช่างนี้ที่ผ่านมาค่า Premiumปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก เป็นตั้งแต่ 2.50 – 15 เหรียญต่อ ounces ยกตัวอย่างเช่น เหมือนตอนต้นเดือนตุลาที่ราคาทองอยู่ที่ระดับ 900 เหรียญ ประชาชนขายทองออกมามากจนเรา ต้องส่งต่างประเทศ เราจะถูกหัก Discount 15 เหรียญต่อ ounce ยืนยันได้จากธนาคาร Scotia Moccatta ซึ่งเป็นผู้ซื้อทองรายใหญ่ของโลก อีกทั้งการชำระเงินกลับมาในประเทศไทย ก็จะชำระต่อเมื่อ ผลการวิเคราะห์ percentทองสมบูรณ์ จากหน่วยวัด QC คือใช้เวลา 5 วันทำการ โดยไม่นับเสาร์อาทิตย์ นั้นหมายความว่าเมื่อบริษัทส่งออกทองคำ จะได้เงินกลับประเทศไทย โดยเฉลี่ย 7 วัน การที่บริษัทสามารถจ่ายเงินให้ลูกค้าที่ขายทองได้ในทันที จึงถือว่าเป็น บริษัทที่มี สภาพคล่องสูงมากแล้วในขณะนี้ ดังจะเห็นได้ว่า มีเพียงลูกค้าบางรายเท่านั้นที่จะได้รับ ชำระเป็น cheque บางส่วน
ในทางกลับกันเมื่อเราต้องนำทองเข้าสู่ประเทศไทย ขณะนี้ค่า Premium อยู่ที่ 2-10 เหรียญ ที่ต้องบวกขึ้นไปจากราคา Real Time Spot Priceอีกทั้งยังจะต้องส่งเงินไปเพื่อจองซื้อล่วงหน้ายังต่างประเทศ และในภาวะเช่นนี้ เมื่อส่งเงินไป ก็จะต้องเข้าคิวรอเพราะทองคำขาดตลาดทั่วโลก ต้องจองซื้อตั้งแต่ 7-15 วัน
สรุปได้ว่า ในข้อนี้คือ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของการนำเข้าส่งออกระหว่างประเทศ ทั้งหมดนี้ยังเป็นสิ่งที่อยู่ในการคิดราคาต้นทุนเพียงเท่านั้น ยังไม่ได้ คิดคำนึงถึง ส่วนกำไรที่จะมีในการดำเนินการใดๆเลย อีกทั้งยังมีความเสี่ยงในการดำเนินการ และอัตราดอกเบี้ยที่เกินขึ้นจากค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
4) ภาวะตลาดค้าทองคำในประเทศ
มี 2 ประเด่นที่ต้องคำนึ่งคือ หนึ่ง Demandและ Supply ภายในประเทศ
1) เพื่อจะทำให้ทราบว่า จะต้องใช้ราคาคำนวณในฝั่ง Bid หรือ Offer
2) ภาวะการค้าที่เป็นระบบขั้นบันได เพื่อให้ร้านค้าทองทุกแห่งได้กำไรตามสมควรในการดำเนินการ ตั้งแต่ ผู้นำเข้าส่งออก,ร้านค้าส่ง, ร้านค้าทองในกรุงเทพ, ร้านค้าทองในต่างจังหวัด โปรดอย่าลืมว่า เรากำลัง ทำการค้าทองคำแท่งที่มีการส่งมอบ จริงๆ นั้นหมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการขนส่งในส่วนต่างๆ ต้องมี เช่น ค่าใช้จ่ายของร้านค้าทองปลีกในต่างจังหวัดที่ต้องนำทองจากกรุงเทพ ขึ้นไป ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ราคาน้ำมันในกรุงเทพและต่างจังหวัดก็ไม่เท่ากัน
พอเข้าใจหลักคิดข้างต้นแล้วก็นำเข้ามาคำนวณสูตรตามนี้คือ
ราคาทองนอก 99.99% = (ราคาทองต่างประเทศ ที่ส่งมอบจริงๆ + Premium) x ค่าเงินบาท ที่ส่งมอบจริงๆ x 0.49
สำหรับข้อ ผิดพลาดในการ คำนวณ ที่เห็นใน web อื่น คือ คูณ 0.47 ซึ่งผิด ตัวเลข 0.49 เป็นตัวเลขที่ถูกต้องมาจากการแปลงหน่วย ounceมาเป็นหน่วยบาททองคำ โดยใช้ สูตรตามนี้คือ
ทอง 1 KG = 65.6 บาททองคำ
ทอง 1 KG = 32.148 ounces
นำ 2 ตัว นี้มาหารกันก็จะได้ 0.49 เป็นหลักในการคำนวณหน่วย ounce มาเป็น บาททองคำ
สำหรับ ทอง 96.5 การหาราคาจะต้องเข้าใจด้วยว่า มี ต้นทุนในการผลิต 96.5 เข้าไปด้วย โดยมีต้นทุนประมาณ 10-20 บาท ต่อบาททองคำ คือค่า Silver และค่าจ้างแรงงานในการผลิต นั้นหมายความว่า ราคาทองนอกต้องบวกค่าใช้จ่ายข้างต้นอีกทีหนึ่ง หลังจากคูณ 0.965
ในท้ายที่สุดเมื่อท่านคำนวณได้ราคากลางออกมาแล้ว ราคาดังกล่าวก็จะถูกนำมา ตั้งราคาของ สมาคม ซึ่งราคาดังกล่าวเป็นราคา ดิบที่ยังไม่ได้รวม ค่าดำเนินการต่างๆ ในการบริหารงาน ยกตัวอย่างเช่น ราคาดิบที่คำนวณได้เป็น ทองคำ บาทละ 12,230 บาท การตั้งราคาก็จะต้องเผื่อเหลือ เผื่อขาด ให้กับผู้ประกอบ ธุรกิจการค้าของแต่ละระดับด้วย
ดูต่อ เรื่อง กราฟนำมัน-EURO มันเกี่ยวกับราคาทองอย่างไรEPISODE2 หรือย้อนกลับไป Gold Futures