TARADTHONG.COM
เมษายน 24, 2024, 07:35:57 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การศึกษาในเวียดนามรุดหน้า  (อ่าน 3730 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2010, 08:00:40 AM »

การศึกษาในเวียดนามรุดหน้า

เสือเศรษฐกิจของเอเชียต่อไปคือใคร บอกใบ้ให้ว่าไม่ใช่จีนหรืออินเดีย บรรดานักวิเคราะห์ฟันธงว่าเป็นเวียดนาม คำตอบนี้ไม่แปลก เพียงแต่เราอาจคาดไม่ถึง

เหตุผลข้อหลักที่เวียดนามจะผงาดขึ้นเป็นเสือเศรษฐกิจตัวใหม่เกิดจากความมุ่งมั่นทุ่มเทพัฒนาการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยให้ทัดเทียมไต้หวันและเกาหลีใต้ แต่ยังไม่พ้นอุปสรรคข้อใหญ่คือขาดแคลนทรัพยากรและสื่อการเรียนการสอนอันทันสมัย

ช่วงปี 2008 มหาวิทยาลัยใหม่ชื่อว่า Vietnamese German University (VGU) จัดตั้งขึ้นที่เมืองโฮจิมินห์ เริ่มรับสมัครนักศึกษาใหม่ประมาณ 220 คน ในภาคเรียนฤดูใบไม้ร่วงปีนี้ ส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรปริญญาโท สอนโดยอาจารย์ชาวเยอรมัน

จุดเริ่มต้นเล็ก ๆ อาจกลายเป็นก้าวใหญ่สู่การปฏิรูปเศรษฐกิจที่ยังล้าหลัง ทางรัฐบาลหวังยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้สูงขึ้นจนติดกลุ่มมหาวิทยาลัยโลก 200 อันดับแรกภายในปี 2020

เป้าหมายของการลงทุนทางการศึกษาเพื่อปลูกฝังแนวคิดการอาศัยฐานความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์เป็นเทคโนโลยี พัฒนาการเรียนรู้ทั้งวิทยาศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ และการจัดการ ตามแบบอย่างไต้หวันและเกาหลีใต้

น่าเสียดายงบประมาณมีจำกัด โครงการนำร่องเปิดมหาวิทยาลัยใหม่จึงเน้นลงทุนจ้างอาจารย์ต่างชาติ ออกแบบหลักสูตรของตนเอง ชูจุดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์และการวิจัย หาความร่วมมือจากอุตสาหกรรมเอกชน ซึ่งคล้ายหลักการของมหาวิทยาลัยในประเทศเยอรมนี

รายได้ส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยมาจากภาครัฐในเยอรมนี นักศึกษาจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินประมาณ 60% ของค่าเล่าเรียน

แต่เงินเดือนในเวียดนามน้อยนิด ไม่ล่อใจนักศึกษาปริญญาเอกจากต่างชาติเข้ามาสอนในสถาบันเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และความสนใจในด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เหมือนกับวิธีที่จีนใช้อยู่ในปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยในเวียดนามส่วนใหญ่เปิดสอนปริญญาโท (2 ปี) และปริญญาเอก (4 ปี) นอกจากนั้นยังมีวิทยาลัยชุมชน สถาบันศิลปะและเทคโนโลยี และโรงเรียนอาชีวศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรระยะเวลาไม่กี่เดือนจนถึง 2 ปี

ข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการที่เวียดนาม ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเอกชน 23 แห่ง คิดเป็นสัดส่วน 11% ในระดับอุดมศึกษา รับสมัครนักศึกษาเกือบ 120,000 คน รัฐบาลกำลังส่งเสริมให้มีมหาวิทยาลัยเอกชนเพิ่มขึ้นถึง 30% ในปีหน้า

มหาวิทยาลัยชั้นนำของเวียดนามมีดังนี้

1.Can Tho University (อันดับ 1,602) เกิดจากความร่วมมือในการจัดตั้งสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยองค์กรระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยและสถาบันการวิจัยหลายแห่ง และทำคะแนนสูงสุดในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยดีที่สุดในประเทศเวียดนามโดย Webometrics Ranking ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

2.Ho Chi Minh City University of Technology (HCMUT) (อันดับ 1,713) เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในเวียดนาม มีความเป็นเลิศด้านการเรียนการสอนและการวิจัย เน้นการฝึกอบรมทักษะวิชาชีพคุณภาพมาตรฐานไม่เป็นรองใครในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3.Hanoi University of Technology (HUT) (อันดับ 2,272) เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของเวียดนามด้านเทคโนโลยี บุกเบิกงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ บรรดานักศึกษาคว้ารางวัลมาแล้วมากมาย

4.Vietnam National University (VNU) (อันดับ 2,039) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติของเวียดนาม และนับเป็นมหาวิทยาลัยยุคใหม่แห่งแรก มีศูนย์การศึกษาและวิจัยขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ อยู่อันดับ 3 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำในเวียดนาม และอันดับ 1,476 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกในปี 2010

5.RMIT International University Vietnam เป็นมหาวิทยาลัยสหวิทยาการด้านเทคโนโลยีระดับโลก สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเมลเบิร์น ในออสเตรเลีย นับเป็นมหาวิทยาลัยต่างชาติแห่งแรกที่เวียดนาม รับปริญญาได้เทียบเท่า RMIT University ในออสเตรเลีย เป็นก้าวสำคัญสู่การศึกษาระดับนานาชาติที่มีขึ้นในเวียดนาม การเรียนการสอนสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษทั้งหมด อาจารย์ผู้สอนมีทั้งชาวเวียดนามและชาวต่างชาติจากออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และอื่น ๆ

สำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของ Webometrics Ranking ครั้งล่าสุดในเดือนกรกฎาคม 2010 มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเข้า 500 อันดับแรก 4 แห่ง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อยู่อันดับ 310 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่อันดับ 388 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อยู่อันดับ 392 และมหาวิทยาลัยมหิดลอยู่อันดับ 481
มหาวิทยาลัยชั้นนำในเวียดนามยังไม่เข้ากลุ่ม 500 อันดับแรก แต่เชื่อว่าก้าวมาถึงในอีกไม่ช้า เพราะว่ามีเกณฑ์คุณภาพวิชาการนานาชาติ เหตุที่ไม่เป็นที่รู้จักระดับโลก เพราะยังไม่อยู่ในอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับนั่นเอง

ที่มา "การศึกษาวันนี้"
ผู้เขียน : จิระนันต์
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!