TARADTHONG.COM
เมษายน 27, 2024, 04:08:23 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไทยพบ หญ้าเกาะกูด หญ้าชนิดใหม่ของโลกไทยพบ หญ้าเกาะกูด หญ้าชนิดใหม่ของโลก  (อ่าน 4102 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: มกราคม 20, 2011, 03:15:58 PM »

ไทยพบ หญ้าเกาะกูด หญ้าชนิดใหม่ของโลก


 เมื่อวันที่ 19 มกราคม ที่ผ่านมา ดร. อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ นักวิชาการ 5 กองวิชาการ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และ ดร. สราวุธ สังข์แก้ว อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ เปิดเผยการค้นพบหญ้าชนิดใหม่ของโลก พร้อมตั้งชื่อว่า "หญ้าเกาะกูด" เพื่อเป็นเกียรติแก่สถานที่ที่พบ ณ น้ำตกคลองเจ้า เกาะกูด จังหวัดตราด
 
          ดร. อัจฉรา เปิดเผยว่า มีการลงพื้นที่เก็บตัวอย่างหญ้าครั้งแรกในปี 2513 ที่น้ำตกคลองเจ้า อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด  โดย นายจรัล ฉ. เจริญผล นักวิชาการประจำกรมป่าไม้  ได้พบหญ้าชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายหญ้าชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arundinella metzii Hochst. ex Miq. แต่เมื่อตน และ ดร. สราวุธ ได้ศึกษาและตรวจสอบตัวอย่างหญ้าดังกล่าวอย่างละเอียดกลับพบว่า เป็นหญ้าชนิดพันธุ์ใหม่ของโลก เนื่องจากหญ้าเกาะกูดมีลักษณะเด่นคือ มีเกสรเพศผู้ 2 อัน และที่ปลายกาบล่างมีหางค่อนข้างยาว ซึ่งไม่เคยพบที่ใดมาก่อน ซึ่งหญ้าเกาะกูด จัดเป็นหญ้าล้มลุกขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ถึง 40 เซนติเมตร มีลำต้นเรียวเล็กและอวบน้ำ จะพบขึ้นเป็นกลุ่มอยู่เฉพาะบริเวณน้ำตก ซอกหินหรือกลุ่มหินใกล้น้ำตก เชื่อว่าหญ้าชนิดนี้จะเป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย เพราะจนถึงปัจจุบันพบหญ้าดังกล่าวขึ้น และเจริญเติบโตเฉพาะที่เกาะกูดเท่านั้น
 
          อย่างไรก็ตาม ดร.อัจฉรา กล่าวสรุปท้ายว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ หญ้าเกาะกูด ชนิดนี้อาจจะสูญพันธุ์ได้ง่าย เนื่องจากขึ้นและเจริญเติบโตอยู่เพียงบริเวณเดียวในสถานที่จำเพาะและเปราะบาง  อีกทั้งบริเวณที่พบหญ้าเกาะกูดนี้ก็ไม่ได้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ แต่เป็นพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาพักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้หญ้าเกาะกูดอาจถูกทำลายได้  สำหรับประโยชน์ของหญ้าเกาะกูดต่อมนุษย์นั้น ยังไม่มีการศึกษาชัดเจน เนื่องจากหญ้าดังกล่าวมีขนาดเล็กทำให้มีข้อจำกัดในการศึกษาด้านเภสัชวิทยา แต่ยืนยันว่าการค้นพบหญ้าชนิดใหม่ของโลกนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศของประเทศไทย โดยเฉพาะในแง่ของความหลากหลายทางชีวภาพ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!