TARADTHONG.COM
เมษายน 20, 2024, 02:46:09 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โชคชะตาย้อนศร-ยุโรปอับเฉาอิเหนาศิษย์เก่าไอเอ็มเอฟอู้ฟู่  (อ่าน 12429 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sanook
Administrator
Newbie
*****

คะแนนความนิยม: 7
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 31


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: ธันวาคม 28, 2011, 06:56:29 AM »

โชคชะตาย้อนศร-ยุโรปอับเฉาอิเหนาศิษย์เก่าไอเอ็มเอฟอู้ฟู่


      เอเจนซี - ขณะที่คำขู่ลดอันดับประกาศก้องเต็มสองหูยุโรป สถานการณ์ของตลาดเกิดใหม่บางชาติกลับกลายเป็นหนังคนละม้วน
       
       ตัวอย่างที่บ่งชี้ความแตกต่างชัดเจนที่สุดคืออินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 15 ที่ผ่านมา ฟิตช์ประกาศเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือหนี้ภาครัฐแดนอิเหนาสู่สถานะน่าลงทุนเป็นครั้งแรกในรอบ 14 ปี
       
       ย้อนกลับไปในปี 1997 ตอนที่วิกฤตการเงินเอเชียระเบิด กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ต้องเข้ามาแทรกแซงด้วยเงินกู้ระยะ 3 ปีมูลค่า 10,100 ล้านดอลลาร์ โดยระบุว่า ภาคการธนาคารของอินโดนีเซียไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือความปั่นป่วนทางการเงินที่แผลงฤทธิ์ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะนั้น
       
       มาถึงปี 2011 จุดที่น่าเป็นห่วงกลับกลายเป็นแบงก์ยุโรป เนื่องจากวิกฤตยูโรโซนยังไม่เห็นทางออกที่ยอมรับได้ทางการเมือง
       
       บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำทั้งสามแห่งของโลกพร้อมใจเตือนชาติยุโรปว่า อาจถูกลดเรตติ้งถ้าไม่สามารถแก้ไขวิกฤตได้ วันที่ 16 ที่ผ่านมา ฟิตช์แถลงว่า ทางออกจะต้องครอบคลุมทั้งด้านเทคนิคและการเมือง
       
       กลับมาที่อินโดนีเซีย การสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ของสำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า เศรษฐกิจแดนอิเหนาปีหน้าจะขยายตัวถึง 6.4% ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของปีปัจจุบันเพียง 0.1% แต่ตรงข้ามอย่างสิ้นเชิงกับยุโรปที่ถูกคาดหมายว่า ปีหน้าเศรษฐกิจจะถดถอย ขณะที่อัตราการเติบโตของอเมริกาอาจได้แค่ 1 ใน 3 ของอินโดนีเซียเท่านั้น
       
       บทเรียนที่เอเชียได้รับจากวิกฤตการเงินปลายทศวรรษ 1990 คือ ต้องแน่ใจว่ามีหลักประกันที่ดีพอ
       
       ปัจจุบัน เอเชียถือครองทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมากที่สุดในโลก เฉพาะจีนและญี่ปุ่นรวมกันมีถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ ประเทศอื่นๆ อย่างอินเดีย อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ก็มีทุนสำรองมหาศาลเช่นกัน
       
       ทุนสำรองเหล่านี้สามารถเป็นฉนวนปกป้องความปั่นป่วนในตลาดเงินได้ ปีนี้อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ อินเดีย และอีกหลายประเทศ ต่างใช้ทุนสำรองปกป้องไม่ให้ค่าเงินของตนผันผวนเกินไป
       
       ตัวไอเอ็มเอฟเองดูเหมือนได้รับบทเรียนเล็กๆ น้อยๆ จากประสบการณ์ในเอเชียเช่นกัน โดยเฉพาะบทเรียนที่ว่า การให้ประเทศที่ประสบปัญหาตัดลดงบประมาณจำนวนมาก อาจกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและพลเมืองของประเทศนั้นๆ อย่างรุนแรง
       
       คำแถลงของกองทุนฯ ในเดือนพฤศจิกายน 1997 ระบุว่าข้อตกลงช่วยเหลืออินโดนีเซียอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า จาการ์ตาจะต้องใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงินและการคลังเพื่อให้งบประมาณอยู่ในสภาวะเกินดุล
       
       ไอเอ็มเอฟในขณะนั้นคาดว่าการเติบโตของอินโดนีเซียที่เคยอยู่ที่ราว 8% ก่อนวิกฤต จะชะลอลงอยู่ที่ 5% ในปีแรกหลังเข้าโปรแกรม และ 3% ในปีที่ 2 แต่กลับกลายเป็นว่าเศรษฐกิจแดนอิเหนาหดตัว 13.1% ในปี 1998 และขยายตัวแค่ 0.8% ในปีต่อมา
       
       โดมินิก สเตราส์-คาห์น อดีตกรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ ยอมรับเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ว่า มาตรการปฏิรูปของกองทุนฯ สร้างความเจ็บปวดและทำร้ายคนอินโดนีเซีย
       
       นักเศรษฐศาสตร์หลายคนกังวลว่า มาตรการรัดเข็มขัดของยุโรปในขณะนี้ที่คล้ายกับที่อินโดนีเซียเคยเจอมา จะจบลงที่เศรษฐกิจเสียหายหนักกว่าเดิมและปัญหาหนี้รุนแรงขึ้น
       
       โอลิวิเยร์ บลองชาร์ด อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟ วิจารณ์ว่านักลงทุนมีอาการจิตเสื่อมกับมาตรการรัดเข็มขัดและการเติบโตทางเศรษฐกิจ กล่าวคือมีปฏิกิริยาแง่บวกต่อข่าวการรวมตัวทางการคลังของชาติยูโรโซน แต่ไม่นานกลับคัดค้านเมื่อการรวมตัวนั้นทำให้การเติบโตลดลง ทั้งๆ ที่จะต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
       
       ประเทศยุโรปคือตัวเก็งที่จะถูกดาวน์เกรดในอีกไม่ช้าไม่นาน การประกาศของเอสแอนด์พีนั้นอาจมีขึ้นได้ทุกเมื่อ ขณะที่มูดี้ส์เผยเมื่อวันที่ 12 ที่ผ่านมาว่า จะทบทวนเรตติ้งของยุโรปในช่วงไตรมาสแรกปีหน้า
       
       แม้ตลอดปีนี้การลดอันดับและการขู่ลดอันดับเป็นข่าวที่สื่อมวลชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ แต่สำหรับฟิตช์บอกว่า เท่าที่ดำเนินการมาจนถึงขณะนี้บริษัทมีทั้งอัปเกรดและดาวน์เกรดประเทศเป้าหมาย
       
       นับจากวันที่ 5 สิงหาคม เมื่อเอสแอนด์พีหั่นเรตติ้ง AAA ของอเมริกา ประเทศอย่างอินโดนีเซีย บราซิล เอสโตเนีย สาธารณรัฐเช็ก ปารากวัย เปรู คาซัคสถาน และอิสราเอล กลับได้รับการเลื่อนอันดับขึ้นโดยบริษัทจัดอันดับชั้นนำของโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 แห่ง
       
       ประเทศต่อไปที่จะได้อัปเกรดอาจเป็นฟิลิปปินส์
       ผู้นำแดนตากาล็อกแสดงความผิดหวังที่อินโดนีเซียได้เลื่อนขั้นจากฟิตช์ก่อน แม้เมื่อวันที่ 16 ที่ผ่านมา เอสแอนด์พีจะทบทวนเรตติ้งมะนิลาเป็นบวกแล้วก็ตาม
       
       สำหรับสถานการณ์ปีหน้านั้น ประเทศก้าวหน้าในองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) จะต้องกู้ยืมเงินราว 10.5 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งหมายความว่าต้นทุนการกู้ยืมที่เพิ่มขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง
       
       ในรายงานของโออีซีดีว่าด้วยหนี้ภาครัฐระบุว่า พวกผู้บริหารจัดการหนี้ของชาติโออีซีดีกำลังเผชิญความท้าทายอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ในการระดมทุนเพื่อตอบรับความต้องการกู้ยืมที่สูงเกินคาด
บันทึกการเข้า
utennaja
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 18, 2014, 02:34:05 PM »

น่าสนใจมากๆครับ
บันทึกการเข้า
aleyfnac
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2014, 11:54:37 AM »

น่าติดตามเหมือนกันนะครับ
บันทึกการเข้า
Forgetmenotzzz
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2014, 02:15:43 PM »

ว้าว ๆ ยอดเยี่ยมจังเลยครับ
บันทึกการเข้า
Labostae
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2015, 12:22:27 PM »

เรื่องราวเป็นยังไงครับ ตอนนี้ไม่ได้อ่านต่อเลย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!