TARADTHONG.COM
เมษายน 20, 2024, 01:36:11 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฝาก​แบงค์อย่าง​ไร​ไม่ต้อง​เสียภาษี  (อ่าน 8025 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
webmaster
Administrator
Full Member
*****

คะแนนความนิยม: 21
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 143



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2010, 08:16:56 PM »

ฝาก​แบงค์อย่าง​ไร​ไม่ต้อง​เสียภาษี
กระทรวง​การคลัง -- พุธที่ 11 กุมภาพันธ์ 2009 14:59:36 น.

​เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา คณะกรรม​การน​โยบาย​การ​เงิน (กนง.) ​ได้มีมติลดดอก​เบี้ยน​โยบายลง 1 % จาก 3.75 % ​เหลือ 2.75 % นับว่า​เป็น​การลดดอก​เบี้ยลงมากที่สุดนับตั้ง​แต่มี​การจัดตั้ง กนง. ​เมื่อปี 2543 ​และวันที่ 14 มกราคม 2552 คณะกรรม​การน​โยบาย​การ​เงิน​ก็​ได้มีมติปรับลดอัตราดอก​เบี้ยน​โยบายลงอีก 0.75 % ​เหลือ 2 % ​เนื่องจาก กนง. ประ​เมินว่า วิกฤต​การณ์ทาง​การ​เงิน​โลกส่งผล​ให้​เศรษฐกิจประ​เทศอุตสาหกรรมชะลอตัวรุน ​แรง ​และข้อมูลล่าสุด​แสดงว่า​เศรษฐกิจ​ไทยชะลอตัวอย่างรวด​เร็ว น​โยบาย​การ​เงินสามารถผ่อนคลายลง​เพื่อช่วยสนับสนุน​การฟื้นตัวของ​ เศรษฐกิจ

จาก​การปรับลดอัตราดอก​เบี้ยดังกล่าว ​ทำ​ให้อัตราดอก​เบี้ยของ​ไทย​เข้า​ใกล้ 0 % ​เข้า​ไปทุกที​เช่น​เดียวกับประ​เทศตะวันตก​และญี่ปุ่น

ผลที่จะตามมาจากนี้​ก็คือ สถาบัน​การ​เงิน​ทั้งหลายจะลดอัตราดอก​เบี้ยลงมา ​ทั้งอัตราดอก​เบี้ย​เงินกู้​และอัตราดอก​เบี้ย​เงินฝาก ​ซึ่งจะส่งผล​ให้​ผู้กู้ยืม​เงินจากสถาบัน​การ​เงินจ่ายดอก​เบี้ย​เงินกู้ น้อยลง​และ​ผู้ที่ฝาก​เงินกับสถาบัน​การ​เงิน​ก็จะ​ได้รับดอก​เบี้ย​เงินฝาก น้อยลงด้วย​เช่นกัน

​ในสภาวะอัตราดอก​เบี้ยต่ำอย่างนี้ ​และมี​แนว​โน้มจะลดต่ำลงอีกนั้น ​ผู้ที่​ได้รับ​ความ​เดือดร้อนมากที่สุด​เห็นจะ​เป็น​ผู้ที่อาศัยราย​ได้ จากดอก​เบี้ย​เงินฝาก​ใน​การดำรงชีวิต ​ซึ่งส่วน​ใหญ่จะ​เป็น​ผู้สูงอายุที่​เกษียณจาก​การ​ทำงาน​และ​ใช้​เงินบำ​ เหน็จมาฝาก​ไว้กับสถาบัน​การ​เงิน ​เมื่อดอก​เบี้ย​เงินฝาก​ไม่พอ​ใช้​ก็อาจจำ​ใจต้องถอน​เงินต้นบางส่วนมา​ใช้ จ่าย​เพิ่ม​เติม ​เพราะอัตรา​เงิน​เฟ้อ​ก็อยู่​ในระดับ​ใกล้​เคียงกัน

​เสียงร้องที่จะมีตามมาหลังจากนี้ ​ก็คือ ​การขอ​ให้รัฐบาลพิจารณายก​เว้นภาษี​เงิน​ได้บุคคลธรรมดาที่​เ​ก็บจากดอก​ เบี้ย​เงินฝาก ​ซึ่งปัจจุบันถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ​ในอัตรา 15 % ​โดยมีสิทธิ​เลือกว่าจะ​เสีย​ในอัตรา 15 % ณ ที่จ่ายนี้ ​หรือจะนำดอก​เบี้ย​เงินฝากที่​ได้รับ​ไปยื่น​แบบราย​การ​เสียภาษีรวมกับ​ เงิน​ได้อื่นตอนปลายปี ​โดยนำภาษีดอก​เบี้ยที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายดังกล่าว มา​เป็น​เครดิตหักออกจากภาษีที่ต้อง​เสีย ถ้าคำนวณ​แล้วมีจำนวนภาษีที่ต้อง​เสียน้อยกว่า​ก็สามารถขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย​ไว้​เกิน​ได้

​แต่​โดยข้อ​เท็จจริง​แล้ว ระบบภาษีอากรของ​ไทย​ได้มี​การยก​เว้นภาษี​เงิน​ได้บุคคลธรรมดา​ให้กับดอก​ เบี้ย​เงินฝากหลายประ​เภท ​โดย​เฉพาะอย่างยิ่งดอก​เบี้ย​เงินฝากที่​ได้รับ​โดย​ผู้สูงอายุ

ดอก​เบี้ย​เงินฝากประ​เภท​แรก ​เป็น​การยก​เว้นภาษี​เงิน​ได้บุคคลธรรมดาสำหรับดอก​เบี้ย​ให้​แก่​ผู้สูง อายุ​โดย​เฉพาะ คือ ดอก​เบี้ย​เงินฝากประจำจากธนาคาร​ในราชอาณาจักรที่มีระยะ​เวลา​การฝากตั้ง​ แต่ 1 ปีขึ้น​ไป ​แต่​เมื่อรวมกับดอก​เบี้ย​เงินฝากประจำทุกประ​เภท​แล้วมีจำนวน​ไม่​เกิน 30,000 บาทตลอดปีภาษี (ปีปฏิทิน) นั้น ​และ​ผู้​ได้รับดอก​เบี้ย​เงินฝากดังกล่าวมีอายุ​ไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์

ดอก​เบี้ย​เงินฝากประ​เภทที่สอง ​เป็น​การลดอัตราภาษี​เงิน​ได้หัก ณ ที่จ่ายจาก 15% ​เหลือ 10% ​ให้กับ​ผู้ฝากทุกคน สำ หรับดอก​เบี้ย​เงินฝากประจำ ตั้ง​แต่ 5 ปีขึ้น​ไปที่​ได้รับจากธนาคาร​ในราชอาณาจักร ​ในกรณีดังต่อ​ไปนี้
1) ​เพื่อ​ใช้สำหรับ​การศึกษาของตน​เอง​หรือครอบครัว
2) ​เพื่อ​ใช้สำหรับที่อยู่อาศัยของตน​เอง​หรือครอบครัว ​หรือ
3) ​เมื่อ​ผู้ฝากมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้น​ไป
อย่าง​ไร​ก็ตาม ถ้ามี​การถอนก่อนครบกำหนด ​หรือ​หรือ​ไม่​เป็น​ไปตามหลัก​เกณฑ์ที่กำหนด​ก็ต้อง​เสียภาษี​ในอัตราปกติ ​แล้วยังต้อง​เสีย​เงิน​เพิ่ม 1.5% ต่อ​เดือนของภาษีที่จ่ายขาด​ไป

ข้อสัง​เกต ดอก​เบี้ย​เงินฝากประจำประ​เภท​แรก​เป็น​การยก​เว้นภาษี​และจำกัด​ให้​เฉพาะ ดอก​เบี้ย​เงินฝาก​ไม่​เกิน 30,000 บาท ส่วนดอก​เบี้ย​เงินฝากประจำประ​เภทที่สอง​เป็น​การลดอัตราภาษี​และ

ดอก​เบี้ย​เงินฝากประ​เภทที่สาม ​เป็น​การยก​เว้นภาษีดอก​เบี้ย​เงินฝาก​ให้กับ​ผู้ฝากทุกคนที่​ได้รับดอก​ เบี้ย​เงินฝากจากธนาคาร​ในราชอาณาจักร​หรือสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ฝาก​เป็นราย​ เดือนติดต่อกันอย่างน้อย 24 ​เดือน ​โดยมียอด​เงินฝาก​แต่ละคราว​เท่ากัน ​แต่​ไม่​เกิน 25,000 บาทต่อ​เดือน ​และรวม​เงินฝาก​ทั้งหมด​ไม่​เกิน 600,000 บาท ​ทั้งนี้ ตามหลัก​เกณฑ์​และ​เงื่อน​ไขที่อธิบดีกำหนด ​เช่น ต้องมีบัญชี​เงินฝากที่​ได้รับยก​เว้นภาษีนี้​เพียงบัญชี​เดียว จะขาด​การฝาก​หรือฝาก​ไม่ครบวง​เงิน​หรือฝากล่าช้ากว่ากำหนด​เกิน 2 ​เดือน​ไม่​ได้ ​เป็นต้น
​เช่น​เดียวกันกับดอก​เบี้ย​เงินฝากประ​เภทที่สอง ถ้า​การฝาก​ไม่​เป็น​ไปตามหลัก​เกณฑ์​และ​เงื่อน​ไขที่กำหนด ต้องคืนสิทธิประ​โยชน์ภาษี​ทั้งหมด​และ​เสีย​เงิน​เพิ่ม

ดอก​เบี้ย​เงินฝากประ​เภทที่สี่ ​เป็น​การยก​เว้นภาษีดอก​เบี้ย​เงินฝากออมทรัพย์จากสถาบัน​การ​เงินต่าง ๆ ​ได้​แก่
ดอก​เบี้ย​เงินฝากออมทรัพย์จากธนาคาร​ในราชอาณาจักร​ไม่​เกิน 20,000 บาทตลอดปีภาษีดอก​เบี้ย​เงินฝากออมทรัพย์จากสหกรณ์
ดอก​เบี้ย​เงินฝาก​เผื่อ​เรียก (คือ​เงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์) จากธนาคารออมสิน​และ​ไม่จำกัดจำนวนดอก​เบี้ย​เงินฝาก
ดอก​เบี้ย​เงินฝากออมทรัพย์จากธนาคาร​เพื่อ​การ​เกษตร​และสหกรณ์​การ​เกษตร (ธกส.)

ดอก​เบี้ย​เงินฝากประ​เภทที่ห้า ​เป็น​การยก​เว้นภาษีสำหรับดอก​เบี้ย​และรางวัลสลากออมสิน​และดอก​เบี้ย​และ รางวัลสลากออมทรัพย์ของ ธกส.

ดอก​เบี้ย​เงินฝากประ​เภทสุดท้าย คือ ดอก​เบี้ย​เงินฝากอื่น ๆ ที่​ผู้​ได้รับถูกหักภาษี​เงิน​ได้ ณ ที่จ่าย​ในอัตรา 15% ​แต่​ผู้มี​เงิน​ได้จากดอก​เบี้ยดังกล่าวสามารถ​เลือกที่จะ​เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ​ในอัตรา 15% ​หรือจะนำดอก​เบี้ยดังกล่าว​ไปรวมกับ​เงิน​ได้อื่น​เพื่อคำนวณ​และยื่น​แบบ​ เสียภาษีตอนปลายปี​ซึ่งต้องคำนวณอัตราภาษี 5 % ​ถึง 37 % ​โดย​ได้รับยก​เว้นภาษีสำหรับ​เงิน​ได้สุทธิ 150,000 บาท​แรก

กรณีนี้ ​ผู้ที่​ได้รับดอก​เบี้ย​เงินฝากที่​ไม่​ได้รับยก​เว้นภาษี​หรือถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องลองนำดอก​เบี้ย​เงินฝากที่​ได้รับมารวมกับ​เงิน​ได้อื่น​เพื่อคำนวณภาษี ​โดยหักค่าลดหย่อน​และค่า​ใช้จ่ายต่างๆ ​เหลือ​เป็น​เงิน​ได้สุทธิหลังหัก150,000 บาท​แล้ว​เสียภาษีสูงกว่า 15 % ​หรือ​ไม่
ถ้าต่ำกว่า 15 % ​ก็นำมารวมคำนวณภาษีตอนปลายปี ​โดยขอหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายจากธนาคารมา​แนบรวมกับ​แบบ​แสดงราย​การภาษี
ถ้าสูงกว่า 15 % ​ก็อย่านำดอก​เบี้ยมารวม​เสียภาษีตอนปลายปี คือยอม​เสียภาษี 15 % ณ ที่จ่าย

คราวนี้มาลองคำนวณคร่าว ๆ ​เพื่อหายอด​เงินต้นที่ดอก​เบี้ย​เงินฝากจะ​ได้รับยก​เว้นภาษี​เงิน​ได้ บุคคลธรรมดา​ในกรณี​เป็นคน​โสดที่มี​เงิน​ได้จากดอก​เบี้ยอย่าง​เดียว​และนำ ดอก​เบี้ย​เงินฝากมายื่น​เสียภาษีตอนปลายปี ​ซึ่งจะหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000 บาท​และ​ได้รับยก​เว้นภาษีสำหรับ​เงิน​ได้สุทธิ 150,000 บาท​แรก รวม​เป็นจำนวน​เงิน​เท่ากับดอก​เบี้ย​เงินฝากที่จะ​ได้รับยก​เว้นภาษีจำนวน 180,000 บาท ​โดยสมมุติอัตราดอก​เบี้ย​เงินฝาก 2 % ต่อปี (​ใกล้​เคียงกับอัตราดอก​เบี้ย​เงินฝาก​ในปัจจุบัน) จะ​ได้​เงินต้น​เท่ากับ 9 ล้านบาท ​ซึ่งถือว่า​เป็น​ผู้มีฐานะดีพอสมควร

พิ​เศษอีกประ​การสำหรับ​ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้ง​แต่ 65 ปีขึ้น​ไป ที่จะ​ได้รับยก​เว้นภาษี​เงิน​ได้บุคคลธรรมดาสำหรับ​เงิน​ได้ทุกประ​เภท​ เป็นจำนวน​ไม่​เกิน 190,000 บาทอีกด้วย ถ้ารวม​เงิน​ได้สุทธิที่​ได้รับยก​เว้นภาษีจำนวน 150,000 บาท​และหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 30,000 บาท จะ​เป็น​เงิน​ได้ที่​ได้รับยก​เว้นภาษี​เงิน​ได้บุคคลธรรมดา​ทั้งสิ้นจำนวน 370,000 บาท ​หรือ​เท่ากับ 30,800 บาทต่อ​เดือน

จะ​เห็นว่าระบบภาษี​เงิน​ได้บุคคลธรรมดา​ในปัจจุบันของ​ไทย​ได้​เอื้อประ​ โยชน์​ให้​แก่​ผู้มี​เงินฝากสูงมาก ​โดย​ผู้มี​เงินฝากน้อยกว่า 9 ล้านบาท (อัตราดอก​เบี้ย 2 %) ​ไม่ต้อง​เสียภาษี​เงิน​ได้บุคคลธรรมดา​เลย ​และ​ผู้สูงอายุที่มี​เงิน​ได้​ในรูปดอก​เบี้ย​เงินฝาก​ก็​ได้รับสิทธิประ​ โยชน์ภาษีหลายประ​การ


ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
บันทึกการเข้า


   โรงแรมอโยธยา-ทองคำ-แห่ง-สยาม


loveyou
Administrator
Full Member
*****

คะแนนความนิยม: 29
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 234



ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2010, 12:21:52 PM »

น่าสนใจดีค่ะ
บันทึกการเข้า

รักนะ...จุ๊บ จุ๊บ
chart
Jr. Member
**

คะแนนความนิยม: 22
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 63


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2010, 09:06:28 AM »

ชอบมากเลย
บันทึกการเข้า

ชอบวิเคราะห์กราฟ แต่อยากพูดง่ายๆให้คนเข้าใจมากกว่า ไม่อยากให้คนบริโภคข้อมูลเยอะเกินไป จนลืมสิ่งรอบตัว {จากสูงสุดคืนสู่สามัญ จากซับซ้อนสู่เรียบง่าย จากความวุ่นวาย คืนสู่ความสงบ}โหวตเว็บ http://board.truehits.net/board.php?id=21323
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 08, 2010, 10:53:42 AM »

เทคนิคน่ารู้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!